Tuesday, 12 November 2024

นายวรภพ วิริยะโรจน์ ถกอภิปรายต่อ สคบ. ถึงปัญหาสัญญาเช้าซื้อรถที่ไม่เป็นธรรม และ ไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ 196 ล้านบาท ปี65

นายวรภพ วิริยะโรจน์ เผยแพร่ข่าวการเมืองล่าสุดถึงถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาสัญญาเช้าซื้อรถที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงงบประมาณ 196 ล้านบาทซึ่งเป็นงบประมาณในปี 65 โดยได้เสนอข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก

สล็อต xo Slotxo

นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายปัญหาต่อ สคบ.ว่าด้วยเรื่องที่ รัฐบาลปล่อยปะละเลยให้นายทุนทำร้ายลูกหนี้ ให้ตายทั้งเป็น จากการยึดรถที่ไม่เป็นธรรม

นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายปัญหาต่อ สคบ.ว่าด้วยเรื่องที่ รัฐบาลปล่อยปะละเลยให้นายทุนทำร้ายลูกหนี้ ให้ตายทั้งเป็น จากการยึดรถที่ไม่เป็นธรรม

รายงานจากเพจเฟซบุ๊กชื่อ นายวรภพ วิริยะโรจน์ (ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล) ถกเถียงต่อ สคบ. เหตุที่รัฐบาลปล่อยปะละเลยให้นายทุนทำร้ายลูกหนี้ ให้ตายทั้งเป็น จากการยึดรถที่ไม่เป็นธรรม โดยได้กล่าวอภิปรายไว้ว่า

ผมขออภิปรายถึง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อ ปัญหาสัญญาเช้าซื้อรถที่ไม่เป็นธรรม และ ไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ 196 ล้านบาท ในงบปี 65 ที่ปล่อยปะละเลยของ สคบ. ให้เกิดการขูดรีดลูกหนี้เช่าซื้อรถ ในฐานะที่ผมเองเป็นกรรมาธิการการเงิน รับฟังปัญหาความเดือดร้อนเรื่องหนี้ ผมบอกได้เลยว่า เกินครึ่งเป็นปัญหาหนี้เช่าซื้อรถ และยิ่งเข้ามาดูรายละเอียดสัญญาเช่าซื้อถึงได้เข้าใจว่าทำไม ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ทุกวันนี้เหมือนถูกขูดรีดซ้ำเติมในวิกฤตโควิดนี้

ผมอยากยกตัวอย่าง ที่เด่นที่สุดคือ ลูกหนี้เช่าซื้อรถ เป็นหนี้ประเภทเดียวที่ถูกยึดทรัพย์ได้ง่ายที่สุด คือ สิทธิของลูกหนี้นั้นน้อยมาก ทั้งที่หลายรายผ่อนมาจะครบอยุ่แล้ว เหลือไม่กี่งวด กัดฟันสุ้ตั้งแต่โควิดรอบแรก จนถึงโควิดรอบสาม ใครๆก็รุ้ว่า มันไม่ไหว แต่พอพลาดชำระไปสอง สามงวด นี่ถูกยึดรถได้เลยง่ายๆ ข่าวแท็กซี่ฆ่าตัวตาย ก็มาจากสาเหตุนี้ เพราะถ้ารถถูกยึด เค้าจะเอารายได้มาจากไหน นี่คือการที่ รัฐบาลปล่อยปะละเลยให้นายทุนทำร้ายลูกหนี้ให้ตายทั้งเป็น จากการยึดรถที่ไม่เป็นธรรมนี้

แม้แต่การให้พักชำระหนี้ แต่ยังคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ บนดอกเบี้ยของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงงวดชำระ ทั้งๆที่มี พ.ร.ก. แก้ไขประมวลแพ่ง 244/1 ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และ มีกำหนดชัดเจนว่า การคิดดอกเบี้ยผิดนัด คิดได้เฉพาะเงินต้นในงวดที่ผิดนัดเท่านั้น หมายถึงว่า ถ้าลูกหนี้ผ่อนรถ แล้วขอพักชำระหนี้ 2 งวด การคิดดอกเบี้ยผิดนัดนั้น คิดได้เฉพาะส่วนของเงินต้น 2 งวดเท่านั้น ไม่ใช่ค่างวดทั้งหมด และห้ามคิดบนค่างวดเงินต้นที่ยังมาไม่ถึง แต่สคบ.ก็ปล่อยปะละเลย ไม่เข้มงวดกับการบังคับใช้กฎหมายนี้ ทำให้ลูกหนี้เช่าซื้อถูกคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนอยู่มากในช่วงโควิดนี้ บางทีผมก็อยากให้ สคบ. เข้มงวด กับ การควบคุมกลุ่มทุนเช่าซื้อพวกนี้บ้าง เพราะมีประกาศดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดแบบโจ่งแจ้งมาก โดยเฉพาะ ดอกเบี้ยเช่าซ์้อรถมือสอง ที่ปัจจุบันประกาศใช้มากกว่า 15% ที่ประมวลแพ่งกำหนดไว้ด้วยซ้ำ อันนี้คือตัวอย่างที่ผมเอามาแสดงให้ดูเลย ผมเชคหลายบริษัท ก็ใช้อัตราไม่ต่างกันคือ ต้องดูที่ช่องเมื่อคำนวนดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก หรือ Effective rate เนี่ยจะเห็นเลยว่า บริษัทเช่าซื้อ คิดดอกเบี้ยเกิน 15% จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

แต่เมื่อมาดู งบประมาณของ สคบ. ครับ 195 ล้านบาท สำหรับ การบังคับใช้กฎหมาย ผมว่ามันไม่มีวันพอ ถ้าไม่ไปควบคุมสัญญาเช่าซื้อที่ต้นทางให้มันเป็นธรรมกับลูกหนี้มากไปกว่านี้ แต่ผมเห็นว่ามีการตั้งคำของบประมาณในการรับฟังปัญหาและเตรียมจะยกร่าง ประกาศ สคบ. เพื่อแก้ไข สัญญาเช่าซื้อให้เป็นธรรมมากขึ้น ผมก้ดีใจคับที่ สคบ. จะเริ่มทำเรื่องนี้ แต่ต้องบอก ว่า ช้าไปมากคับ ถ้าปล่อยให้ต้องรองบประมาณผ่าน เดือน 10 นี่ มันหมายถึงลูกหนี้รถ เป็นล้านราย คงถูกยึดรถไปเป็นหมื่นๆคันไปแล้ว มันควรจะต้องถูกรีบยกขึ้นมาแก้ไขตอนนี้เลย โดยด่วนที่สุดคับ และถ้า สคบ.จะแก้ไข ประกาศ ควบคุมสัญญาเช่าซื้อ ผมว่า

อันดับแรก คือ ต้องกำหนดสิทธิลูกหนี้มากขึ้น กรณีที่จ่ายค่างวดมาแล้วเกินครึ่ง ว่าถ้าจะมายึดรถต้องมีคำสั่งศาล จะให้เหมือนหนี้บ้าน เลยก็ยังได้ และให้เหมือนกับต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, ออสเตรเลีย, อังกฤษ ที่คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ที่ผ่อนรถไปแล้วระยะเวลานึง ไม่ใช่ปล่อยให้เจ้าหนี้มายึดรถไปง่ายๆแบบนี้

อันดับที่สอง คือ การเปลี่ยนจากการใช้ ดอกเบี้ยคงที่ เป็น ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกครับ เพราะการประกาศและคิดดอกเบี้ย แบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรือ flat rate เนี่ย ผมอยากให้ สคบ. ลองดูนะครับ ว่าที่จริงแล้วมันคือการเอาเปรียบลูกหนี้อย่างมาก ผมอยากให้ดูตย. รูปนี้คับ ถ้าลูกหนี้ ถูกยึดรถและถูกขายทอดตลาด บริษัทลีซซิ่งเช่าซื้อ ก็จะเอา ส่วนของดอกเบี้ยของค่างวดในอนาคต ย้ำนะคับในอนาคต มารวมเป็นหนี้ของลูกหนี้ด้วย จากตย. เงินต้น 880,000 ผ่อนไปแล้ว 95,000 ยึดรถไปแล้วขายได้ 855,000 มองดูก็รุ้ว่ายังไง บริษัทลีซซิ่งก็ไม่ขาดทุนแล้ว แต่บริษัทลีซซิ่งก็จะเอา ดอกเบี้ยอนาคตมารวมเป็นหนี้ที่ค้างอีกตั้ง 415,000 บาท มาเป็นภาระหนี้ของลูกหนี้เช่าซื้อ

นี่คือต้นตอปัญหาใหญ่ที่สุด ที่ สคบ. ปล่อยปะละเลยมาโดยตลอด และลูกหนี้รถ ถูกเอาเปรียบมาโดยตลอด โดยเฉพาะข้อกำหนดจาก สคบ.เอง เพราะจากตย.ที่ผมยกมา ต่อให้ลูกหนี้ต้องการปิดสัญญาเช่าซื้อ หาเงินก้อนมาจ่ายค่างวดทั้งหมด 1,365,000 ประกาศของ สบค. กำหนดให้บริษัทเช่าซื้อ คืนส่วนของดอกเบี้ยในอนาคตเนี่ย แค่ 50% ทั้งๆ ที่ควรจะคืน 100% ด้วยซ้ำ เพราะมันคือส่วนของดอกเบี้ยในอนาคตที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว และนี่เป็นผลของประกาศของ สคบ. ที่ทำให้ลูกหนี้เสียเปรียบกลุ่มทุนลีซซิ่งเช่าซื้ออย่างมาก

ที่จริง เรื่องแบบนี้ มันมี คำพิพากษาฎีกา ให้ดูเป็นตัวอย่างอยู่แล้วนะคับ ในฏีกาที่ 5239/2561 ลูกหนี้คืนรถก่อนผิดชำระหนี้ ศาลท่านให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ต่อให้เจ้าหนี้ขายรถได้ต่ำกว่าราคาตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่สิทธิของลูกหนี้เหล่านี้ ลูกหนี้ทั่วไปไม่ทราบครับ เลยถูกเอาเปรียบมาโดยตลอด

ผมว่า อยากให้ สคบ . และ ทาง แบงค์ชาติ จัดทำ สิทธิของลูกหนี้ และบังคับให้ สถาบันการเงิน รวมถึงลีซซิ่ง ต้องมอบให้กับลูกหนี้มีความรู้ ติดตัวไว้เลย ว่าสิทธิของลูกหนี้มีอะไรบ้าง จะได้ไม่ต้องถูกเจ้าหนี้เอาเปรียบแบนี้อีก

กล่าวโดยสรุป สบค. และรัฐบาล ต้องเร่งการแก้ไข ควบคุมสัญญาเช่าซื้อให้เป็นธรรมกับลูกหนี้เร็วขึ้น และต้องบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิลูกหนี้เช่าซื้อให้ได้ ไม่ใช่ปล่อยปะละเลย ให้กลุ่มทุนลิซซิ่ง ขูดรีด ทำรายลูกหนี้ทั้งเป็น จากการคิดดอกเบี้ยและยึดรถที่ไม่เป็นธรรมอย่างที่เป็นอยู่นี้

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: เฟซบุ๊กวรภพ วิริยะโรจน์/ThaiPublica