Tuesday, 3 December 2024

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เตือน!! ภาคเหนือ/ตะวันออก/ใต้ เสี่ยงเฝ้าระวัง น้ำหลาก/ล้นตลิ่ง

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ข่าวด่วนประชาสัมพันธ์จาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศในฉบับที่ 7/2564 ในข้อหัวเรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำ ของบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ ในช่วงเวลาของวันที่ 30 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2564

สล็อต xo Slotxo

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนด่วน!! พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก อ่างเก็บน้ำ 30 ก.ค. – 5 ส.ค. 64 ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนด่วน!! พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก อ่างเก็บน้ำ 30 ก.ค. – 5 ส.ค. 64 ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เตือนให้ประชาชนในเขตพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ให้มีการติดตามข่าวสารจากสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ ข้อมูลจากการประกาศของ กอนช.พบว่าอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 30 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก เฝ้าระวังน้ำไหลหลาก ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน และพื้นที่การเกษตรริมลำน้ำในช่วงวันที่ 30 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564 ดังนี้

1.เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง

2.เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ

2.1 ภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ำทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี อ่างเก็บน้ำบ้านมะนาว อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง และอ่างเก็บน้ำคลองสะพานหิน จังหวัดตราด

2.2 ภาคตะวันตก อ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย จังหวัดเพชรบุรี

2.3 ภาคใต้ อ่างเก็บน้ำคลองหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง อ่างเก็บน้ำคลองแห้ง จังหวัดกระบี่

3.เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ

3.1 ภาคเหนือ บริเวณห้วยแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ลำน้ำว้า อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน แม่น้ำยม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม่น้ำเมย อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และลำน้ำแควน้อย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

3.2 ภาคตะวันออก บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี คลองวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี คลองจันทบุรี อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี คลองฉมัน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี และแม่น้ำตราด อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

3.3 ภาคใต้ บริเวณคลองหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร คลองหาดส้มแป้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และคลองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1.ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2.พิจารณาบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 95 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำรวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิง หน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

3.ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำและติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซ่ม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือรวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

5.ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์น้ำหลาก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 รับรองโดยนายสำเริง แสงภู่วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามขอมูลเพิ่มเติมกับ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

โทรศัพท์ 026645800

โทรสาร 022519140

E-mail: [email protected]