Sunday, 8 September 2024

ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย ชะตากรรมชีวิตหญิงอัฟกัน ในวันที่ตาลีบันครองเมือง

ข่าวต่างประเทศ ชะตากรรมชีวิตหญิงอัฟกัน ผู้คนจำนวนมากที่วิ่งกรูกันเข้าไปในสนามบิน ภาพบุคคลที่ร่วงลงมาจากฟ้าหลังจากที่ได้พยายามเกาะล้อเครื่องบินเพื่อที่จะการหนีออกนอกประเทศ ภาพของเด็กทารกที่ได้มีการถูกส่งข้ามกำแพงไปให้ทหาร ภาพของประชาชนที่หมดหวังอยู่บริเวณท้องถนนมีเพียงความหวาดกลัว จึงสร้างความสะเทือนใจให้กับคนทั้งโลก โดยทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น อัฟกานิสถาน หลังจากที่กลุ่ม ตาลีบัน ได้ทำการเข้ามาบุกยึดและทำการโค่นอำนาจจากรัฐบาลพลเมืองได้สำเร็จ

สล็อต xo Slotxo

ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย ชะตากรรมชีวิตหญิงอัฟกัน

จากสถานการณ์ที่เกิดภายในประเทศอัฟกานิสถาน ได้มีการสร้างความกังวล ในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้กับประชาคมโลก โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิเด็กและสตรีที่อยู่ใต้กรอบ กฎหมายชารีอะห์ ของกลุ่มตาลีบัน แม้ว่ากลุ่มตาลีบันได้มีการออกมาแถลง โดยใช้สัญญาว่าจะทำการปรับตัวให้เข้ากับกระแสของโลกในเรื่องสิทธิสตรี แต่ทว่าพฤติกรรมในการกดขี่ผู้หญิงในอดีตของกลุ่มตาลีบัน ทำให้นานาชาติยังกังกลอยู่

คำสัญญาใหม่ของตาลีบัน

ข่าวต่างประเทศ ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย
ประเด็นในเรื่องของสตรี ซึ่งมีความสำคัญมาก รัฐอิสลามให้สิทธิสตรี โดยอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายชารีอะห์ พี่สาว น้องสาว ผู้ชายมีสิทธิเหมือนกัน เราสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากสิทธิที่ตัวเองได้รับ โดยที่เราสามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้ ซึ่งอยู่ในพื้นฐานของข้อกฎหมาย ข้อบังคับ ทั้งในด้านการศึกษา สุขภาพ รวมถึงในด้านอื่นๆ โดยผู้หญิงจะทำงานเคียงบ่า เคียงไหล่กับพวกเรา ซึ่งหากประชาคมระหว่างประเทศยังมีข้อกังวล เรารับรองว่าจะไม่เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง แต่ทว่าจะต้องอยู่ในกรอบของเรา ผู้หญิงเป็นชาวมุสลิม ผู้หญิงทุกคนที่ยังคงมีความสุข ในการใช้ชีวิตอยู่ภายในกรอบข้อกฎหมายชารีอะห์ของพวกเรา

ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของถ้อยแถลงที่ ซาบิฮุลเลาะห์ มูจาฮิด โฆษกประจำกลุ่มตาลีบัน กล่าวว่าจากการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกของกลุ่มตาลีบัน ในวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้บุกยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ โดยมีใจความที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของกลุ่มตาลีบัน ที่พยายามจะปรับตัวให้เข้ากับประชาคมโลก โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิสตรีโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิทธิหญิง ชาย เท่าเทียมกัน แต่ทว่ายังต้องอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายชารีอะห์หรือกฎหมายอิสลาม เป็นกรอบข้อกำหนดแนวทางในการดำรงชีวิตที่ชาวมุสลิมจะต้องถือปฏิบัติตาม เพื่อให้เป็นไปตามประสงค์ของพระเจ้า

ถึงแม้ว่าคำสัญญาของกลุ่มตาลีบันจะมีความทันสมัย รวมถึงยังมีการให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีมากยิ่งขึ้น แต่ทว่าทั่วโลกก็ยังมีท่าทีกังวลต่อความเป็นไปได้เรื่องนโยบายดังกล่าว เนื่องจากการกระทำของกลุ่มตาลีบันที่มีต่อผู้หญิงในช่วงเรืองอำนาจ (ปี 1996 – 2001) ได้มีการจำกัดสิทธิของผู้หญิงมากมาย อาทิเช่น ผู้หญิงต้องสวมบูร์กาหรือผ้าคลุมทั้งร่างกายและใบหน้า ห้ามผู้หญิงออกไปนอกบ้านหากไม่มีญาติผู้ชายออกไปด้วย ห้ามไม่ให้ผู้หญิงออกสื่อโทรทัศน์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้หญิง อาทิ เฆี่ยน ตัดนิ้ว รวมถึงประหารชีวิต

ยิ่งกว่านั้น แม้ว่ากลุ่มตาลีบันมีท่าทีว่าจะประนีประนอม ทั้งยังให้สัญญาว่าผู้หญิงอัฟกัน จะสามารถทำงานได้ รวมถึงเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้ แต่ทว่าการกระทำหลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามถ้อยแถลงที่เกิดขึ้น โดยล่าสุดมีข่าวว่ากลุ่มของตาลีบันที่ได้มีการสั่งห้ามไม่ให้นักข่าวหญิง 2 คน ออกสื่อโทรทัศน์ อีกทั้งนักข่าวหญิงอัฟกันยังได้ถูกกลุ่มตาลีบันยิงเสียชีวิตเนื่องจากไม่สวมบูร์กา

เสียงของผู้หญิงชาวอัฟกัน

ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย ชะตากรรมชีวิตหญิงอัฟกัน ในวันที่ตาลีบันครองเมือง
สำนักข่าว The Guardian ซึ่งได้มีการเผยแพร่ข้อความเรื่อง An Afghan woman in Kabul: ‘Now I Have to burn everything I achieved โดยเป็นเรื่องราวจากผู้หญิงชาวอัฟกันรายหนึ่ง ในขณะที่กลุ่มตาลีบันได้เข้ามายึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ ซึ่งเธอได้เล่าว่าทันทีที่ทราบข่าว เธอรวมถึงผู้หญิงคนอื่นๆ ต้องทำการรีบเร่งเดินทางกลับบ้าน โดยสิ่งที่เธอได้เห็นนั้นคือสีหน้าที่มีความหวาดกลัวของผู้หญิง อีกทั้งยังเห็นใบหน้าอัปลักษณ์ของผู้ชายบางกลุ่มที่เกลียดผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชายที่ไม่ต้องการให้เธอมีการศึกษา ทำงาน หรือมีชีวิตที่เป็นอิสระ

ซึ่งสิ่งที่ผู้หญิงอัฟกันทำได้ในขณะนี้คือ ทำลายทุกสิ่งที่เคยมีมาตลอดชีวิต บัตรประชาชน ใบปริญญา รวมถึงความฝันในชีวิต

เธอในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง มีความรู้สึกว่าเธอกำลังตกเป็นเหยื่อสงครามทางการเมืองที่พวกผู้ชายเป็นคนริเริ่ม เธอมีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะหัวเราะมีความสุขได้อีก ไม่สามารถที่จะรับฟังเพลงที่ชอบได้ ไม่สามารถที่จะออกไปพบเจอเพื่อนๆ ที่ร้านคาเฟ่สุดโปรดของเธอ ไม่สามารถที่จะสวมใส่ชุดเกรสสีเหลืองที่เธอชอบ ทาลิปสติกสีชมพู รวมถึงไม่สามารถที่จะทำงานหรือคว้าใบปริญญาที่เธอพยายามมาหลายปี

ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย ชะตากรรมชีวิตหญิงอัฟกัน
สำนักข่าว Aljazeera ได้มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงอัฟกันที่อยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน บทความเรื่อง I am very afraid’: Women on the front lines of a new Afghanistan โดยเมลิซซา ฟัง โดยได้มีการรายงานว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 ได้มีผู้หญิงอัฟกันถูกฆาตกรรมแล้วจำนวน 219 คน อาทิเช่น เด็กผู้หญิงมากกว่า 70 คน ซึ่งได้โดนระเบิดระหว่างที่เดินทางจาดโรงเรียนกลับมายังบ้านที่อยู่ภายในกรุงคาบูลเมื่อเดือนพฤษภาคม อีกทั้งผู้พิพากษาหญิง 2 คน ถูกลอบยิงภายในกรุงคาบูลเมื่อเดือนมกราคม รวมถึงผู้สื่อข่าวหญิงถูกลอบยิงขณะที่กำลังเดินทางกลับบ้าน แต่ทว่ามีบุคคลที่รับการลงโทษจากเหตุการณ์ฆาตกรรมเหล่านี้ เพียงไม่กี่คน

เมลิซซา ฟัง ยังได้มีการบรรยาอีกว่า ในขณะที่เธอทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้หญิงอัฟกันเกี่ยวกับประเด็นการฆาตกรรมผู้หญิงของกลุ่มตาลีบัน ที่ได้มีการบุกยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ โดยสิ่งที่ได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือได้มีข้อความจากเพื่อนชาวอัฟกันที่ส่งมาให้เธอต่อเนื่อง

ซึ่งมันเป็นความเกรงกลัวที่เจาะจงเมื่อผู้หญิงเล่าเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มของตาลีบันให้เธอฟัง โดยมันเป็นความเกรงกลัวที่จะย้อนกลับไปสู่ยุคมืดของการปราบปรามและคุมขัง ความเกรงกลัวที่จะสูญเสียการควบคุมชะตากรรมของตัวเอง การดำรงชีวิต การทำงาน การศึกษา รวมถึงเกรงกลัวว่าจะไม่สามารถที่จะฝันได้อีกต่อไป

ภาวะฉุกเฉินทางเพศ

โมฮัมหมัด นาซิรี ผู้อำนวยการ UN WOMEN Asia-Pacific ได้มีการออกมาให้สัมภาษภ์กับทางสำนักข่าว AFP โดยได้แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในอัฟกานิสถานขณะนี้ นั้นก็คือ ภาวะฉุกเฉินทางเพศ ที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงมักจะตกเป็นเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยประชาคมโลกและองค์การสหประชาชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการพูดคุยกับทางกลุ่มตาลีบัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้หญิงและเด็กหญิงภายในประเทศจะสมารถได้รับสิทธิอย่างแท้จริง