Saturday, 12 October 2024

ด่วน!! กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 8 เตือนปชช. 20 แห่ง เฝ้าระวังน้ำหลาก เหตุฝนตกหนัก น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ อาจเกิดดินถล่ม

รายงานข่าวล่าสุดจาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เมื่อ 25 สิงหาคม 2564 เตือนปชช. 20 แห่ง เฝ้าระวังน้ำหลาก เพราะปริมาณน้ำจากฝนตกทำให้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบริเวรที่ลุ่มต่ำจะมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากอ่างฯกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำเกิน 90%

สล็อต xo Slotxo

ประกาศฉบับที่ 8 เตือนปชช. 20 แห่ง เฝ้าระวังน้ำหลาก ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีปริมาณเกินกว่า 90%

ประกาศฉบับที่ 8 เตือนปชช. 20 แห่ง เฝ้าระวังน้ำหลาก ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีปริมาณเกินกว่า 90%

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. เตือนปชช. 20 แห่ง เฝ้าระวังน้ำหลาก โดยออกมาเปิดเผยข้อมูลปริมาณน้ำในประเทศไทยที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กว่า ดังนี้

ประกาศ!! กองอำนวยการน้ำแห่งชาติฉบับที่ 8/2564 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำและน้ำล้นตลิ่ง อิทธิพลของร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน โดยในช่วงวันที่ 25-30 สิงหาคม2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้คาดการณ์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากของกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 26 สิงหาคม – 3 กันยายน 2564 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ดังนี้

1.เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลยบึงกาฬ สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ และอุดรธานี ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราต ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ภาคใต้ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต

2.เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยช้าง อ่างเก็บน้ำห้วยแม่งอน และอ่างเก็บน้ำน้ำแหง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำสวย อ่างเก็บน้ำห้วยสหาย อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น อ่างเก็บน้ำห้วยส้มโฮง อ่างเก็บน้ำห้วยหินลับ อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ อ่างเก็บน้ำห้วยทา อ่างเก็บน้ำห้วยขาหน้า อ่างเก็บน้ำลำตะโคง และอ่างเก็บน้ำห้วยตาเขียว ภาคตะวันออก จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยตู้1 อ่างเก็บน้ำทับลาน อ่างเก็บน้ำบ้านมะนาว อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล และอ่างเก็บน้ำของกล้ำล่าง ภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองหยา และอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ

3.เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ

3.1ภาคเหนือ บริเวณแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ แม่น้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และแม่น้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก

3.2ภาคตะวันออก บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

3.3ภาคใต้ บริเวณแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4.เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน บริเวณ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงอุบลราชธานี

 

ในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรตดำเนินการ ดังนี้

1.ติตตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2.ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 90 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รวมทั้งใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

3.ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำและติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือรวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

5.ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงที่หากเกิดสถานการณ์

ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2564

โดยนายสำเริง แสงวงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02664 5800

โทรสาร 02251 9140

ขอขอบคุณข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้จาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ