Friday, 15 November 2024

ทำความรู้จัก “ตั๊กแตนปาทังก้า” ที่มาจากอินเดีย ทำอะไรคนไทยไม่ได้ เพราะดันทอดแล้วอร่อย

ทำความรู้จัก สัตว์น่ารัก ตั๊กแตนปาทังก้า ที่มาจากอินเดียที่เคยมาสร้างความเสียหายให้กับชาวสวนชาวเกษตรกรในไทย แต่ถูกกำจัดไปแบบไม่ยาก เพราะถูกจับมาทอดกินแล้วมีรสชาติที่แสนอร่อย อีกทั้งยังเป็นเมนู อาหาร ชั้นเลิศชั้นดีที่ให้โปรตีนที่มีประโยชน์เป็นอย่างดีแกคนที่กิน

สล็อต xo Slotxo

ตั๊กแตนปาทังก้า ที่เคยระบาดในไทย ก่อนถูกจับมาทอดกิน จนไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

ตั๊กแตนปาทังก้า ที่เคยระบาดในไทย

เจ้าตั๊กแตนปาทั้งก้า นั้นคือสัตว์จำพวกแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรและชาวราวนาเกือบทั่วทุกมุมโลก และมีช่วงหนึ่งที่พวกมันนั้นไประบาดในทวีปแอฟริกา จนทำให้ผลผลิตพืชผักผลไม้นานาชนิดนั้นดับสิ้นไป ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่า 8 ล้านคน นั้นต้องอดอยากปากแห้ง เดือดร้อนถึงองค์กรด้านการเกษตรและอาหารระดับโลกต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการวิธีต่างๆเพื่อที่จะยุติการระบาดของพวกมัน

และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศไทยของเรานั้นก็เคยพบเจอเหตุการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างนั้นเช่นกัน เพราะว่า ตั๊กแตนปาทังก้าจำนวนมหาศาลได้ย้ายถิ่นฐานมาดจาก India และ Pakistan เพื่อย้ายเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ หลายจังหวัดถูกประกาศให้เป็นเขตระบาดของตั๊กแตน

ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นก็เตรียมความพร้อมกับเพื่อที่จะได้รับมือกับพวกมันเอาไว้เป็นอย่างดี โดยในตอนนั้นมีวิธีการกำจัดพวกมันด้วยการใช้ยาพ่นฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์รุนแรงมากที่สุด เนื่องจากว่าข้าวโพด มันสำปะหลัง และผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนที่อยู่ในประเทศหลายจังหวัดกำลังได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง

ทำความรู้จัก “ตั๊กแตนปาทังก้า” ที่มาจากอินเดีย ทำอะไรคนไทยไม่ได้ เพราะดันทอดแล้วอร่อย

อย่างไรก็ตามวิธีการรดังกล่าวนั้นเป็นวิธีทำแบบปูพรมที่ทางการนั้นได้จัดเตรียมเอาไว้ก็ต้องหยุดพักเอาไว้ เพราะในเวลาต่อมาหลังจากตั๊กแตนปาทังก้าระบาดไม่เท่าไหร่ คนไทยอย่างเรานั้นก็สามารถปิ๊งไอเดียกำจัดพวกมันได้ด้วย น้ำมันร้อนๆ เครื่องปรุงรสชาติอร่อยๆ และพริกป่นนั่นเอง

ซึ่งในเวลาไม่นาน ตั๊กแตนปาทังก้า นั้นดก็ถูกจับมาลงกกระทะทอดจำหน่ายในราคาที่ดีแสนดี จนทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การระบาดนั้นได้ทำการค้าขายกันอย่างร่ำซ่ำ โดยประชาชนบางคนนั้นออกไปจับพวกมันมาเพื่อเอาไปจำหน่ายตามพื้นที่ต่างๆ เพราะมันมีรายได้ดี และเป็นอาหารที่อร่อยๆยอดนิยมในเวลาไม่นาน

เมื่อได้รับความนิยมขึ้นในทุกๆวัน ราคาของมันนั้นก็เริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนชาวบ้านสามารถหาเงินได้จากการจับพวกมันมาขายมาทำอาหารได้อย่างมหาศาล แน่นอนว่าเงินที่ได้จากส่วนนี้มันมากกว่าการทำสวนอีก เมื่อทางการนั้นประกาศว่าจะพ่นยาฆ่าแมลง ประชาชนจึงพากันยึงประท้วงไม่ยินยอม เป็นโมเดลการกำจัดศัตรูพืชที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แถมยังได้ผลดีมากเสียด้วย

อินเดียถูกตั๊กแตนปาทังก้าบุก

ขั้นตอนการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ ตั๊กแตนปาทังก้า ยังไม่ได้สิ้นสุดไปตั้งแต่ตอนนั้น เพราะหลังจากที่พวกมันถูกผู้คนนั้นไปจับมาทำอาหารจนเกือบหมดแล้ว ผู้คนนั้นก็ยังไม่ลดละการตามหาพวกมันต่อซึ่งพวกเขานั้นไปตามหาพวกมันด้วยการขุดเอาไข่หรือตัวอ่อนที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินมาขายต่อ และที่เป็นอย่างนั้นเป็นเพราะว่าไข่ของมันนั้นมีราคาที่แพงมากกว่า

ดังนั้นการขุดไข่ของพวกมันขึ้นมาขายจึงเป็นการหาเงินครั้งที่ 2 ที่ถอนรากถอนโคนการกำจัดศัตรูพืชที่หลายประเทศหวาดกลัวภาวะการระบาดเริ่มจะลดลงจนเกือบจะหมดไป แต่ความอร่อยของตั๊กแตนนั้นยังตราตรึงอยู่ในปากของคนไทย ดังนั้นเมื่อหา ตั๊กแตนปาทังก้า ตามธรรมชาติไม่ได้แล้วคนไทยจึงคิดหาวิธีจับมันมาจากที่ใหม่

ทั้งนำเข้าจากประเทศที่อยู่ใกล้เคียงอย่างกัมพูชาและลาว รวมถึงมีการเพาะพันธุ์ตั๊กแตนออกมาเพื่อจำหน่ายเรื่อยๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 ก็มีข่าว ตั๊กแตนปาทังก้า นั้นกลับไปทำร้ายพืชสวนของชาวอินเดียอีกครั้ง ไม่รู้ว่าเป็นโชคดีหรือโชคร้ายที่บุกรุกบ้านเกิดของมนุษย์ในครั้งนั้นไม่มาถึงประเทศไทย

ตั๊กแตนปาทังก้า กลายเป็นของอร่อยในเมืองไทย

เพราะฐานป้องกันของประเทศไทยที่เตรียมเอาไว้ อย่างเช่น ขวดสเปรย์ที่มีซอสปรุงรสเตรียมพร้อม และพริกไทยขาวป่นจำนวนมหาศาลจึงไม่ได้ถูกใช้งาน และคนชอบรสชาติทอดตั๊กแตนก็ยังต้องกินตั๊กแตนนำเข้าและตั๊กแตนจากฟาร์มเพาะเลี้ยงต่อไปและในสมัยนี้การกินแมลงกลายเป็นเมนูยอดนิยมอาหารทางเลือกที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้น

เพราะเป็นเมนูอาหารที่มีโปรตีนจำนวนมากแถมยังใช้พื้นที่และทรัพยากรในการเพาะเลี้ยงน้อย มันจึงถือว่าเป็นอาหารที่ตรงตามความต้องการที่ยาวนานของมนุษย์ มากกว่าเนื้อสัตว์จากฟาร์มเสียอีก เพราะดังนั้นถ้าจะบอกว่าปรากฏการณ์ตั๊กแตนทอดสุดปังในสมัยนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ล้ำมาก่อนกาลล่ะก็คงจะไม่ผิดนักหรอก

ถติดตามข่าวตั๊กแตนปาทังก้าที่นี่

สามารถติดตามข่าวสารใหม่สดทุกวันที่ได้ที่นี่