กระทรวงสาธารณสุขเผย ” ยาโมลนูพิราเวียร์ ” รักษาโควิด19 อาการเล็กน้อยถึงปานกลางได้ผลดี ช่วยลดการนอนโรงพยาบาลและป้องกันการเสียชีวิต เมื่อได้รับยาภายใน 5 วัน เชิญผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อมูลและแนวทางการใช้ คาดนำเข้ามาใช้ได้สิ้นปีนี้ พร้อมเตรียมศึกษาใช้เพื่อป้องกันหลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ
ยาโมลนูพิราเวียร์ รักษาโควิด19 คาดเข้าไทย เดือนธันวาคม นี้
วันนี้ (6 ตุลาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวความคืบหน้ายาต้านไวรัสโควิด 19 “ยาโมลนูพิเวียร์” ว่า ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัส มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้เกือบทุกสายพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม เดลตา แกมมา หรือมิว ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยแบบ MOVE-IN Trial ในผู้ป่วยอาการหนักพบว่าไม่ได้ผล แต่การศึกษาแบบ MOVE-OUT Trial ในผู้ป่วยอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่ไม่ได้รับวัคซีน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงอย่างน้อย 1 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะอ้วน อายุมากกว่า 60 ปี เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง โดยให้ยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ พบว่าได้ผลดี
“จากการศึกษาผู้ป่วยในระยะที่ 3 จำนวน 775 ราย แบ่งเป็นกลุ่มได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ 385 ราย ขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 2 เวลาเช้าและเย็น เป็นเวลา 5 วัน และกลุ่มได้ยาหลอก 377 ราย พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ลดความเสี่ยงนอนโรงพยาบาลลงร้อยละ 50 และไม่มีผู้เสียชีวิต แต่การศึกษายังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และในเด็ก” นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว
นายแพทย์สมศักดิ์กล่าวต่อว่า การนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยนั้น ต้องรอบริษัทผู้ผลิตขึ้นทะเบียนใช้ในกรณีฉุกเฉินกับ อย.สหรัฐฯ ก่อน แล้วจึงมาขึ้นทะเบียนกับ อย.ประเทศไทย คาดว่าจะนำเข้ามาได้จริงในช่วงธันวาคม 2564 – มกราคม 2565 โดยบริษัทคิดราคาตามลักษณะรายได้ของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางก็จะซื้อได้ในราคาถูกกว่าประเทศรายได้สูง
สำหรับการนำมาใช้ขณะนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมพิจารณาข้อมูลยาโมลนูพิราเวียร์ว่าจะนำมาใช้แทนยาฟาวิพิราเวียร์ หรือใช้ควบคู่หรือใช้ร่วมกันเป็นสูตรคอกเทล นอกจากนี้ ยังมีโครงการ MOVE-AHEAD หรือการศึกษายาโมลนูพิราเวียร์ในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโควิดแล้ว เป็นลักษณะของยา PEP ที่รับประทานเพื่อป้องกันโดยจะศึกษาในประเทศไทยในโรงพยาบาล 5 แห่ง ซึ่งมีโรงพยาบาลราชวิถีร่วมด้วย อยู่ระหว่างขออนุมัติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คาดว่าจะทำการศึกษาได้ในเดือนธันวาคมนี้
ทั้งนี้ อธิบดีกรมการแพทย์ เน้นย้ำว่า ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถใช้ได้กับกลุ่มอาการน้อย – ปานกลาง และควรเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรงเท่านั้น โดยยังไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์และเด็ก ซึ่งยังต้องรอดูผลการศึกษาวิจัยต่อไปก่อน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์ | Gclub | จีคลับ | Sbobet | Sbobet9