Saturday, 27 April 2024

เกิดอะไรขึ้น!? สปป.ลาว ขาดแคลนไฟฟ้า คาดว่าหน้าแล้งนี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน

ข่าวรอบโลก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับหน้าแล้งที่จะถึงนี้ สปป.ลาว ขาดแคลนไฟฟ้า คาดว่าจะมีการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น ไทย แต่ราคาจะสูงกว่าที่มีการผลิตใช้เองภายในประเทศเสียอีก

สล็อต xo Slotxo

รัฐบาลเครียดกุมขมับ  สปป.ลาว เล็งเห็นปัญหาใหญ่ช่วงหน้าแล้ง ขาดแคลนไฟฟ้า แม้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน

รัฐบาลเครียดกุมขมับ  สปป.ลาว เล็งเห็นปัญหาใหญ่ช่วงหน้าแล้ง ขาดแคลนไฟฟ้า แม้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ของอาเซียน

สำหรับช่วงหน้าแล้งในปลายปีที่มักจะเกิดสภาวะ ขาดแคลนไฟฟ้า ในช่วงที่ผ่านมา สปป.ลาว ได้ใช้ไฟฟ้าจากการผลิตจากพลังงาน “น้ำ” มากเกินไป แม้ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ส่งออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย จนได้ฉายาว่าเป็น “แบตเตอรี่ของอาเซียน”

เว็บไซต์เวียนเทียน ไทม์ส ได้รายงานว่า ทางรัฐบาลของ สปป.ลาว ได้สัญญาว่าจะผลิตไฟฟ้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากน้ำ และพลังงานลม รวมไปถึงพลังงานจากถ่านหิน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ

ดร.ดาววง โพนเขียว รัฐมนตรีพลังงานและเมืองแร่ของ สปป.ลาว ได้ออกมาเผยต่อที่ประชุมในสภาแห่งชาติ สปป.ลาว เราคือแหล่งผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ในอาเซียน เราสามารถผลิตไฟฟ้าส่งออกให้ ไทย  กัมพูชา เวียดนาม ซึ่งไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำและไฟฟ้าจากพลังงานลม

เมื่อกล่าวถึงในช่วงหน้าแล้งที่จะมาถึงในปลายปีนี้เองชาวลาวต้องมา ขาดแคลนไฟฟ้า ดังนั้น รัฐบาลลาวต้องมีการซื้อพลังงานที่ขายให้ต่างประเทศกลับคืนมาและราคาที่ซื้อมักจะแพงกว่าที่ได้ขายไป ดร.ดาววง ได้กล่าวต่อไปอีกว่าปัญหาดังกล่าวต้องมีการเร่งแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดอีกโดยวิธีการแก้ไขเราต้องมีการผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายมากขึ้น

เมื่อปี 2543 สปป.ลาว ได้มีโรงงานไฟฟ้าจำนวน 82 แห่ง ซึ่งจะสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1 หมื่นเมกะวัตต์ และพลังงานที่ได้ทั้งหมดนั้นมาจากพลังงานน้ำ สามารถคิดเป็นร้อยละ 80.4% ส่วนที่เหลือได้มาจากพลังงานถ่านหินร้อยละ 18.6%

ไฟฟ้าที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ใน สปป.ลาว กว่าร้อยละ 91.49% ทั้งหมดเป็นไฟฟ้าที่ได้ผลิตมาจากไฟฟ้าพลังงาน “น้ำ” และลาวเองต้องได้รับความเสี่ยงจากแหล่งพลังนี้ด้วย เนื่องจากเมื่อมาถึงในช่วงหน้าแล้งประเทศไม่มีน้ำเพียงพอที่จะใช้ผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนในประเทศ

สปป.ลาว มีการวางแผนกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2569 ตั้งเป้าการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ 1,807 เมกะวัตต์ และการผลิตดังกล่าวจะมาจาก พลังงานน้ำร้อยละ 57% ถ่านหินร้อยละ 19% พลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ 24 %

  สปป.ลาว ขาดแคลนไฟฟ้า

ภายในปี 2573 สปป.ลาว วางแผนระยะยาวคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าให้ได้มากถึง 5,559 เมกะวัตต์ โดยพลังงานดังกล่าวจะผลิตจากพลังงานน้ำคิดเป็นร้อยละ 77.5% พลังงานถ่านหิน พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ รวมเป็นร้อยละ 22.4% สปป.ลาว ยังได้ประกาศเพิ่มเติมอีกว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากถึง 1,500 เมกะวัตต์ ทางด้านไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานลมอีก 1 แสนเมกะวัตต์

ทั้งนี้ สปป.ลาว ยังได้ทำข้อตกลงกับประเทศไทยอีกด้วยว่า จะทำการแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากัน โดยผ่าน EDL (สปป.ลาว) และ EGAT (การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย) รายละเอียดได้ระบุว่า “เมื่อเกิดกรณี ขาดแคลนไฟฟ้า ภายในสปป.ลาว ไทยต้องส่งพลังงานไฟฟ้ากลับให้สปป.ลาว”

ขณะนี้ สปป.ลาว ได้เสียโอกาสในการผลิตไฟฟ้าช่วงหน้าฝนเนื่องจากเขื่อนเก็บมีน้ำมาก อย่างไรก็ตามนี้เป็นอีกความท้าทายอีกอย่างเพราะถ้าผลิตไฟฟ้าออกมาช่วงหน้าฝนมามันจะมากเกินความต้องการใช้งาน ทำให้สปป.ลาว สูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ สามารถผลิตได้จำนวนเยอะแต่ไม่มีการใช้งานก็ต้องทิ้งไป ซึ่งตรงกันข้ามกับช่วงหน้าแล้งการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในประเทศต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศไทย

 สปป.ลาว เครียด  ขาดแคลนไฟฟ้า ทำสัญญาส่งคืนไฟฟ้า

การที่สปป.ลาว ต้องนำเข้าไฟฟ้าจากไทยในช่วงหน้าแล้งก็ทำให้คิดหนัก เนื่องจาก สปป.ลาว จะนำเข้าไฟฟ้าในราคาสูงขึ้นกว่าเดิมที่ตนเคยส่งออกเสียอีก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะหน้าแล้งทำให้ขาดน้ำในการผลิตไฟฟ้า

สำหรับหน้าแล้ง สปป.ลาว วางแผนจะผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทดแทนพลังงานน้ำที่ขาดแคลนในช่วงหน้าแล้ง และล่าสุดได้ตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเพิ่ม 2 แห่ง ในเมืองเซกอง คาดว่าแห่งพลังงานดังกล่าวจะสามารถพลังไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งานในประเทศและอาจจะเหลือไปขายให้กัมพูชาและประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย