หนุ่มชาวจีนฆ่าตัวตาย รอบโลกกำลังหารือเกี่ยวกับประเด็นการตายสุดสะท้อนสังคม เมื่อหนุ่มชาวจันวัย 26 คนนี้ถูกลั่นแกล้งและล้อเลียนเรื่องหน้าตาที่ค่อนข้างอ่อนโยนไม่ถูกกับค่านิยมในประเทศจนต้องเลือกจบชีวิตอย่างน่าเศร้าใจ
หนุ่มชาวจีนฆ่าตัวตาย สะท้อนความเป็นสังคมนิยมในประเทศ
Zhou Peng หนุ่มชาวจีนวัย 26 ปี ได้เขียนเรื่องราวการฆ่าตัวตายของเขาผ่านสื่อออนไลน์ ก่อนที่จะถูกพบศพไม่กี่วันต่อมา ในบันทึกมีเนื้อที่ตัดพ้อและสะท้อนสังคมใจความว่า เด็กชายที่เรียบร้อยและไม่ซุกซนมักถูกมองว่าเหมือนเด็กผู้หญิง แม้ว่าเขาจะพยายามแต่งตัวเหมือนเด็กชายทั่วไป หรือไม่แสดงท่าทางที่เหมือนเด็กผู้หญิงออกมา แต่บางลักษณะของเขาก็ยังทำให้ผู้คนมองเห็นและคิดกันไปเองว่าเขาค่อนข้างเหมือนเด็กผู้หญิง พร้อมปัจจัยสนับสนุนที่ว่าเขาเป็นเด็กย้ายมาใหม่ นั่นทำให้เพื่อน ๆ พากันล้อเลียน กลั่นแกล้ง และทิ้งเขาไว้ให้เผชิญกับความโดดเดี่ยวเพียงลำพัง
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ให้ข้อมูลในการจบชีวิตของเขามากนัก และยังเมินเฉยต่อการฆาตกรรมในครั้งนี้ สวนทางกับผู้คนหลายแสนบัญชีในโซเชียลฮิตอย่าง Weibo ที่กำลังแบ่งปันเรื่องราวพร้อมจดหมายลาโลกที่เต็มไปข้อความสุดสะท้อนสังคมของโจว เผิง
เป็นจุดที่ก่อให้เริ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างจริงจังถึงปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นเมื่อต้องประสบกับสังคมที่กลั่นแกล้งและไม่ยอมรับในตัวบุคคล เพียงว่าเขาคนนั้นไม่มีค่านิยมของสังคมอยู่ในตัว
ฝ่ายผู้ถูกกระทำมักถูกหัวเราะเยาะ ถูกรังแก สังคมที่โหดร้ายพร้อมจะขับไล่ เหยียบย่ำผู้ที่แตกต่าง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ร้ายแรงหรือไม่เคยก่อความเดือดร้อนให้ใคร และพวกเขาไม่ผิด แต่สิ่งที่พวกเขาต้องแบกรับคือปมบาดแผล ลุกลามจนเกิดปัญหาสุขภาพจิตสะสม เด็กมากมายที่ถูกบูลลี่มักเลือกทางเดินที่ปลดปล่อยพวกเขาออกจากสังคมที่น่ารังเกียจนี้ นั่นคือการจบชีวิต
ฝ่ายผู้กระทำส่วนใหญ่มักจะรู้ตัว คิดได้ และรู้สึกละอายใจเมื่อเริ่มเติบโต หรือเมื่อตนเองกลายเป็นฝ่ายถูกกลั่นแกล้งในบางโอกาส พวกเขารู้สึกผิดในวันที่สายเกินไป จนวันที่ถูกเปลี่ยนตำแหน่งให้กลายเป็นฝ่ายวิ่งหนี พวกเขาถึงแสดงความรู้สึกเสียใจ และเป็นฝ่ายคุกเข่าอ้อนวอน
จากผลการศึกษาเก็บข้อมูลพบว่าในจีนมีการกลั่นแกล้งกันไม่มาก ในปี 2019 พวกเขาได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มวัยรุ่นกว่า 3,000 คน และพบว่า เกือบ 40% เป็นคนที่เคยถูกกลั่นแกล้งในชีวิตจริง และอีกกว่า 31% เป็นคนที่ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ และยังเสริมอีกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชายนั้นเผยว่า การเป็นเด็กโรงเรียนประจำ เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ หรือเด็กที่มีปัญหาที่บ้านมักจะตกเป็นเป้าหมายของการถูกบูลลี่เสมอ
ที่จีนมีวัฒนธรรมการไม่ยอมรับผู้ชายที่ “อ่อนแอ” ด้านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจึงได้ออกคำร้องให้สถานศึกษาสนับสนุนและผลักดันด้านวิชาพละศึกษา เพื่อมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักเรียนชายที่มีแววจะตกเป็นเป้าของการกลั่นแกล้งหรือมีแนวโน้มว่าจะเบี่ยงเบนทางเพศ เรียกกันอีกอย่างว่าเป็นโครงการ “ปลุกความเป็นชาย”
ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางการจีนจึงได้ออกข้อปฏิบัติที่เด็ดขาดว่าห้ามผู้ชาย “แต่งตัวเหมือนผู้หญิง” ออกสื่อสาธารณะใดใด สิ่งนี้กลับส่งเสริมให้ความแตกต่างด้านค่านิยมทางเพศนั้นถูกประนาม และไม่ถูกยอมรับมากขึ้น กลุ่มวัยรุ่นอาจะมีการเหยียดเพศและใช้ช่องทางนี้ในการโจมตีเป้าหมายได้อย่างไม่รู้สึกผิด
สังคมนิยมในจีน ปิดกั้นช่องทางการรับอิทธิพลความหลากหลายจากต่างประเทศที่พวกเขาไม่ยอมรับ แม้ว่าคนรุ่นใหม่จะเปิดใจและเริ่มมองโลกหลายมุมมากขึ้น ยกตัวอย่างอิทธิพลจากวงการ เค-ป็อบ ที่เข้ามามีบทบาทในประเทศจีนมากขึ้น และศิลปินหนุ่มผู้โด่ง Lu Han ที่เป็นหนึ่งในตัวอย่างการท้าทายอำนาจอุดมคติของชายทั่วไป ใบหน้าสดใสที่เป็นเอกลักษณ์ค่อนข้างฉีกกฎเดิม ๆ ทำให้เหล่าวัยรุ่นชายเริ่มสามารถสวมใส่เครื่องประดับได้หลากหลาย หรือกระทั้งสามารถแต่งหน้าได้ เมื่อพวกเขาเริ่มปรากฎตัวต่อสื่อสาธารณะมากขึ้นนั่นทำให้ กลายเป็นเป้าโจมตีได้ง่ายเช่นกัน
ในประเทศจีนเรื่องเพศก็ถือเป็นการต่อต้านเทคโนโลยีในประเทศที่ทางการกำลังควบคุมอยู่ ซึ่งรัฐบาลมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อการจับตาดูการเคลื่อนไหวของพลเมือง
นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเมื่อนโยบายต่าง ๆ ของประเทศจีนได้อำนวยต่อความรุนแรง การล่วงละเมิด และการกลั่นแกล้งเริ่มมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิตที่บอบช้ำของพลเมืองผู้เคราะห์ร้าย
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์