วันนี้ (16 ตุลาคม 2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรุงเทพมหานคร ออกประกาศเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 44) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2564 นี้ เพื่อเป็นการปรับปรุงและผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคต่าง ๆ สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศ ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยภายในประกาศได้ระบุข้อความว่า
เช็กด่วน !! กรุงเทพฯ ออกประกาศคลายล็อก
ด้วยได้มีการประกาศใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 35) ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เพื่อเป็นการปรับปรุงและผ่อนคลาย ความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคต่าง ๆ ที่ได้กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศ ที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ ในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก
ด้วยที่ผ่านมา การปฏิบัติงานพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตพื้นที่ การระบาดของโรคได้ ดังเช่นในหลายจังหวัดพบผู้ติดเชื้อเฉพาะในบางเขตพื้นที่เท่านั้น และผู้ป่วยที่มีอาการของโรค รุนแรงได้ลดจำนวนลง ในขณะที่ผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของการดำเนินการ ตามแผนการฉีดวัคซีน เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนต่างมีส่วนร่วมในการประสาน จัดหาและนำเข้าวัคซีนชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายสาธารณสุขได้จัดสรรและเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งห้วงเวลาที่ผ่านมาได้เริ่มฉีดวัคซีน ให้แก่กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อให้สามารถกลับมาสู่สภาพการเรียนการสอนตามปกติได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ รัฐบาลได้เตรียมจัดหายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาใช้เพื่อรักษาโรคนี้ได้ในไม่ช้า
อย่างไรก็ดี การติดตามและกำกับดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อควบคุม ให้การดำเนินกิจการและกิจกรรมของทั้งบุคคลและสถานที่ต่าง ๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการปฏิบัติตามมาตรการ ควบคุมและป้องกันโรคที่ได้ประกาศไว้แล้ว เช่น มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มาตรการปลอดภัย สำหรับองค์กร หรือมาตรการควบคุมโรคแนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพื่อขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ ของประเทศ เป็นการสร้างบรรยากาศ การเข้าใจสถานการณ์ และการรู้จักใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันให้ได้เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ ให้ใกล้กับภาวะปกติและกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อมุ่งเป้าหมายสู่การ ป้องกันและควบคุมโรคแก่ประชาชนอย่างสมดุลและยั่งยืน
สอดคล้องกับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว ที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์และแนวทางไว้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 โดยให้บรรดาสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ได้รับอนุญาตให้เปิด ดำเนินการแล้วตามข้อกำหนดที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า เปิดดำเนินการได้ต่อไป โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำกับดูแลและติดตามการดำเนินการ และ ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการ ป้องกันโรคต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งมาตรการที่ผู้หน้าที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ
ดังนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2554 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2564 (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 28 กันยายน 2564 และ (ฉบับที่ 35) ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โรคติดต่อกรุงเทพมหานคร
มติที่ประชุม ครั้งที่ 30/2564 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ให้ปิดสถานที่ตามข้อ 1 ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 กันยายน 2564 และให้ดำเนินการตามข้อ 2 ของประกาศดังกล่าว เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับประกาศนี้ และให้สถานที่ดังต่อไปนี้ สามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ โดยต้องปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะโดยเคร่งครัด
- ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้แล้วและมีเงื่อนไข เรื่องกำหนดเวลาทำการไว้ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 กันยายน 2564 เช่น ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ ห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา สวนสาธารณะ สามารถเปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติแต่ไม่เกินเวลา 22.00 นาฬิกา เพื่อให้สอดคล้องกับ การปรับเวลาการห้ามออกนอกเคหสถาน
- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด หรือตลาดนัด สามารถเปิดเพื่อการจำหน่ายสินค้าได้ทุกประเภท ตามเวลาปกติจนถึงเวลา 22.00 นาฬิกา โดยการเปิดให้บริการเครื่องเล่นในสถานที่ดังกล่าว ให้สำนักงานเขตพื้นที่ ประเมินและพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสม
สำหรับร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการในช่วงเวลากลางคืน ให้ปิดการให้บริการในช่วงระหว่าง เวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น - ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สามารถเปิดให้บริการในลักษณะของการดูแลผู้สูงอายุ แบบเช้าไปเย็นกลับได้ โดยให้สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสม โดยกำหนด เงื่อนไขให้ผู้รับบริการและบุคลากรเจ้าหน้าที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดและ ให้ผู้ประกอบการสุ่มตรวจบุคลากรเจ้าหน้าที่ทุกสัปดาห์โดยการใช้ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย การติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง เพื่อยืนยันว่าไม่มีเชื้อโรค โควิด – 19 หรือโดยวิธีการที่ทางราชการกำหนด
- โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ หรือสถานที่ที่มีลักษณะ คล้ายกัน สามารถเปิดให้บริการเพื่อการจัดประชุม สัมมนา หรือการจัดงานพิธีตามประเพณีนิยมได้จนถึงเวลา 22.00 นาฬิกา โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และให้ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัย สำหรับองค์กรที่กำหนด เช่น การจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน การให้ผู้เข้าร่วมงานสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ตลอดเวลา การจัดให้มีช่วงเวลาพักเพื่อการระบายอากาศของห้องประชุม การจัดเตรียมอาหารแบบแยกเป็นชุด การเว้นระยะห่างไม่ให้แออัด รวมทั้งดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กำหนดอย่างเคร่งครัด
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถเปิดให้บริการเพื่อการจัดประชุม สัมมนา หรือการจัดงานพิธีตามประเพณีนิยมได้ จนถึงเวลา 22.00 นาฬิกา โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และให้ปฏิบัติตามมาตรการ ปลอดภัยสำหรับองค์กรที่กำหนดเช่นเดียวกับกรณีตามข้อ 1.4 โดยยังคงให้งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และปิด ให้บริการในส่วนที่เป็นร้านเกม ตู้เกม เครื่องเล่น สวนสนุก และสวนน้ำ
- สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็ก โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่ ประเมินและพิจารณาอนุญาต ตามความเหมาะสม
2. ห้ามการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน โดยให้เป็นไป ตามข้อห้ามและข้อยกเว้นตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 33) ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2564 (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2564 และข้อกำหนดออกตามความ ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2564
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิด ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2544 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2514
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์