Friday, 29 March 2024

นางรำอมหัวงูจงอาง เผยฝึกซ้อมมานาน 30 ปี จนเคยชินไม่กลัวโดนฉก และรักเหมือนลูก

ข่าวทั่วไทยล่าสุด เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในงานเทศกาลไหม จังหวัดขอนแก่น สร้างความฮือฮาอย่างมากเมื่อนางรำอมหัวงูจงอาง หลายคนมองว่ามันเป็นความเสี่ยงที่อันตรายจนเกินไปหรือไม่ ล่าสุดนางรำสาวได้ออกมาเปิดใจเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว พร้อมเผยให้รู้ว่าเธอพยายามฝึกฝนสิ่งนี้มาเป็นเวลา 30 ปี

สล็อต xo Slotxo

นางรำอมหัวงูจงอาง เผยซ้อมมา 30 ปี แสดงเทศกาลงานไหม-ขอนแก่น เคยชินแล้วไม่ฉก รักงูเหมือนลูก!

นางรำอมหัวงูจงอาง เผยซ้อมมา 30 ปี แสดงเทศกาลงานไหม-ขอนแก่น เคยชินแล้วไม่ฉก รักงูเหมือนลูก!

เมื่อไม่นานมานี้เจ้าของบัญชี tiktok @byza_1989 ได้โพสต์คลิปภาพที่สร้างความฮือฮาด้วยการที่นางรำอมหัวงูจงอางขนาดใหญ่ เหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่แสดงในงานเทศกาลงานไหม ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ลงไปตรวจสอบสอบถามข้อมูล ณ ชมรมงูจงอางแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลทรายมูล อำเภอพอง จังหวัดขอนแก่น ชายวัย 50 ปี หนึ่งผู้ที่แสดงในการร่ายรำดอกคูณเสียงแคน (อมหัวงู) นายอำนวย หลวงบุญ การแสดงอมหัวงูถือว่ากำลังเป็นกระแสร้อนแรงและโด่งดังอย่างมากบนโลกออนไลน์ เพราะหลายคนก็ต่างอึ้งและระทึกกับสิ่งที่เห็น การแสดงที่มีความเสี่ยงถึงชีวิต

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เทศกาลงานไหมของจังหวัดขอนแก่น ได้ถูกจัดขึ้นเป็นวันแรกโดยจะมีการแสดงนานาชาติประเพณีผูกเสี่ยวภายในงานกาชาด โดยทางชมรมงูจงอางการแสดง ได้ร่วมเข้างานนี้ด้วยและเข้าโชว์ภายในช่วงค่ำคืนไปตลอดจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2565

เจ้าของบัญชี tiktok @byza_1989 ได้โพสต์คลิปภาพที่สร้างความฮือฮาด้วยการที่นางรำอมหัวงูจงอางขนาดใหญ่

ทั้งนี้มีการชี้ว่าการแสดงที่มีการอมหัวงูจงอางมันเป็นเพียงการสืบทอดกันมา โดยได้มีการฝึกซ้อมมาเป็นเวลานานไม่ใช่เพียงเพื่อฝึกมาแสดงในเวลาระยะสั้นๆ และมีการฝึกฝนมานานมากกว่า 30 ปี จนทำให้มีความคุ้นเคยกับงู ได้สัมผัสได้เล่นกับโมอยู่เป็นประจำแล้ว งูที่ดุก็ค่อนข้างจะเชื่อ ก่อนจะเผยต่อว่าทุกครั้งที่มีการอมหัวงู ยังไม่เคยมีประวัติการโดนฉกสักครั้งเดียว ทั้งความรู้สึกที่มีต่องูรักงูเหมือนลูก ต้องบอกว่าหลายครั้งที่มีการเอางูไปแสดงมันสามารถหารายได้เพื่อมาจุนเจือครอบครัว และยังเอาเงินส่วนนั้นไปส่งให้ลูกเรียนหนังสือจนจบ เขามีจุดประสงค์จะอนุรักษ์การแสดงนี้ไว้สืบทอดไปยังรุ่นหลัง และที่สำคัญการแสดงนี้ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน