Friday, 22 November 2024

อธิบายความคลุมเครือของกฎหมายที่เปิดช่องให้ตำรวจทุจริตเรื่อง “บุหรี่ไฟฟ้า”

ข่าวเด่นออนไลน์ บุหรี่ไฟฟ้า พกไปด้วยผิดกฎหมายหรือเปล่า!? จากกรณีตำรวจไทยรีดไถ่เรียกเงินจากดาราสาวไต้หวัน เป็นงเงินจำนวนเกือบ 30,000 บาท อธิบายความคลุมเครือของกฎหมายที่เปิดช่องให้ตำรวจทุจริตได้ ข่าวทั่วไทย

สล็อต xo Slotxo

บุหรี่ไฟฟ้า “พก” ไปด้วยผิดกฎหมายหรือเปล่า!? จากกรณีตำรวจไทยรีดไถ่เงินนักท่องเที่ยว

บุหรี่ไฟฟ้า “พก” ไปด้วยผิดกฎหมายหรือเปล่า!?

สำหรับใครที่สงสัยและเกิดคำถามเกี่ยวกับประเด็นเดือดประเด็นร้อนที่เพิ่งจะเกิดมาเมื่อไม่นานนี้ ที่มีดาราสาวชาวไต้หวันออกมาแฉว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยนั้นรัดไถ่เงินเธอไปจำนวน 27,000 บาท เพราะเธอ “พกบุหรี่ไฟฟ้า” เรื่อราวดังกล่าวนั้นจุดความสงสัยในสังคมว่า

การครอบครองและ สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่?และสำหรับในวันนี้เราก็จะมาอธิบาย กฎหมายบุหรี่ไฟฟ้า ในปัจจุบันให้ทุกคนได้รับฝัน ถึงความคลุมเครือในการนำมาใช้งานจริง และสุดท้ายภาวะนี้นำไปสู่ปัญหาอะไรในสังคมไทยบ้าง

แกะกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้า

1.แกะกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้า

ย้อน เรื่องราวของบุหรี่ไฟฟ้า กลับไปเมื่อก่อนปี 2557 ที่ประเทศไทยยัง ไม่มีข้อบังคับห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้า มาก่อนหรือจะบอกว่าในตอนนั้นข้อบังคับเมืองไทยยังตามไม่ทันนวัตกรรมใหม่ยอดฮิตที่เกิดขึ้นมานี่ และต่อมาในปีเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557ชี้ให้เห็นว่า

Baraku ทั้งสองประเภทและ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นของผิดกฎหมายห้ามนำมาใช้งาน ถ้าหากไม่ทำตามจะต้องได้รับโทษติดคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 5 เท่า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงให้ริบสินค้าและรถที่ใช้ในการขนสินค้านั้น ต่อมาในปี 2558 ได้มีการออกคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 บอกว่าห้ามขายหรือให้บริการบารากุ บารากุไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และน้ำยาเติม

โดยบอกว่าพบสารเคมีที่เป็นอันตรายหลายประเภท และถ้าหากเอามาดูดด้วยกันอาจทำให้เกิดโรคติดต่อ จึงมีการกำหนดบทลงโทษเอาไว้สำหรับผู้ขายผู้ให้บริการและผู้ที่นำเข้า  ในปี 2560 ได้มีการออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเป็นกิจจะลักษณะคือ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ทำให้ในปัจจุบันกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้

ผู้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า

  • มีความผิดตามคำสั่ง คกก.คุ้มครอบผู้บริโภค พ.ศ.2558
  • มีโทษจำคุกไม่เกิน เกิน 5 ปี
  • ปรับไม่เกิน 500,000 บาท
  • หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือส่งออกบุหรีไฟฟ้า

  • มีความผิดตามมาตรา 242 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560
  • มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาที่ครอบครอง
  • หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • และให้ริบของนั้นทันที

กฎหมายที่ระบุข้างต้นทั้งหมด สรุปได้ว่า

การผลิต ขาย นำเข้า ส่งออก มีความผิดตามข้อบังคับของประเทศไทย แต่คำถามที่สำคัญอีกข้อคือ การพกและการดูดมีความผิดหรือไม่?

2.ความคลุมเครือของการบังคับใช้ 

ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดนส่วนที่ 1 นั้นมองว่าการพกและใช้งานนั้นไม่ผิดกฎหมาย ส่วนอีกฝั่งนั้นมองว่าผิดเพราะเป็นเท่ากับเป็นการรับซื้อของหนีภาษี ลองไปดูเหตุผลของทั้งสองฝ่ายกัน

บุหรี่ไฟฟ้า พกพาได้หรือเปล่า

กลุ่มที่มองว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ผิดกฎหมาย 

คำถามนี้ถูกนำมาเป็นประเด็นนับครั้งไม่ถ้วน และมีอยู่หนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2561 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมชายคนหนึ่งที่ครอบครอง บุหรี่ไฟฟ้า 1 เครื่อง พร้อมกับ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า 1 ขวด โดยแจ้งว่ามีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557  พร้อมทั้งมีการอ้างถึงมาตรา 242 และ 246 ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560

ส่วนทางด้านอัยการในคดีนี้มีคำสั่งฉบับ 1197/ 61 ไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาเพราะว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนเอามายืนยันว่าผู้ต้องหานั้นนำเข้าของหนีภาษีศุลกากร หรือถ้าตำรวจอยากฟ้องผู้ที่ครอบครองหรือสูบบุหรี่ไฟฟ้า ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่านำเข้ามาจากไหน และยังชี้แจงว่ามาตรา 242 และ 246 ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ไม่ได้กำหนดบทลงโทษตามที่เจ้าหน้าตำรวจที่ระบุไว้

ดังนั้นจึงไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาที่ครอบครอง นอกจากนี้ยังมีรายงานการประชุมกันของหน่วยงานหลายหน่วย ซึ่งตัวแทนของ สตช. บอกว่าการจะดำเนินคดี เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ตามองค์ประกอบของข้อบังคับจะสามารถดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายและให้บริการเท่านั้น ในส่วนของผู้สูบและผู้ครอบครองจะไม่สามารถจับกุมดำเนินคดีได้ เพราะไม่เข้าองค์ประกอบ

และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น กมธ.สาธารณสุข ยังเคยส่งหนังสือถึง ผบ.ตร. เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565  สรุปความเห็นออกมาว่าการจับกุมและแจ้งข้อหาผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นธรรม และมีข้อเสนอทั้งหมด 2 ข้อ ข้อ 1 ให้ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานถึงกฎหมายนี่ข้อ 2 คือถ้าหากมีการควบคุมตัวผู้ต้องหาสามารถสอบสวนได้ แต่ต้องปล่อยตัวทันทีหลังสอบสวนเสร็จ โดยไม่ต้องมีการประกันตัว

ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย

ฝ่ายมองครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย

แต่ในวันนี้ 1 กุมภาพันธ์ 2023 พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบชก. Royal Thai Police Headquarters (ผบช.กมค.) ประกาศว่าการ ถืกพกพาบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดฐานรับไว้ซึ่งของผิดกฎหมาย มีความผิดตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 244 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อีกหนึ่งเหตุการณ์มาจากข่าวหนึ่งสำนักที่เป็นบทความในอดีตในเว็บไซต์ ศยจ. ซึ่งอ้างคำสั่งศาลฎีกาที่ 1411/2564 ตัดสินว่าผู้ถือพกพา บารากุ มีความผิด เหมือนกับ บุหรี่ไฟฟ้า (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557) เพราะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าห้ามนำเข้า ขาย สูบในที่สาธารณะ

ดังนั้นการถือการพกพาจึงนำไปสู่การสันนิษฐานได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้ามาได้อย่างไร? หรือจะให้เข้าใจง่ายๆก็คือ “การ ถือครองบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการดำเนินคดี” ดูเหมือนว่ากฎหมายฉบับนี้จะถูกตีความไปมากมายหลายรูปแบบ แล้วในภาวะที่กฎหมายคลุมเครือเช่นนี้ มันนำไปสู่ปัญหาอะไรบ้าง?

ตำรวจใช้ประโยชน์จากบุหรี่ไฟฟ้าเปิดโหมดทุจริต

3.ตำรวจใช้ประโยชน์เปิดโหมดทุจริต

ไม่พูดถึงไม่ได้เหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งที่ประจำการอยู่ที่สน.ห้วยขวาง ถูกดาราสาวชาวไต้หวัน “An Yu-Qing 安于晴” อ้างว่าถูกเรียกเก็บเงินไปจำนวน 27,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นค่าที่เธอและเพื่อน ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งล่าสุด ทางตำรวจได้ออกมายอมรับมีการกระทำดังกล่าวจริง และจะมีการชี้ตัวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

และยังมีเหตุการณ์ที่กลุ่มมัคคุเทศก์จีนเปิดเผยว่า ช่วงวันที่ 28-29 มกราคม 2023 ที่ผ่านมา ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งในพัทยา เรียกเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวจีน เพราะ ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า เหมือนกัน โดยเงินที่ถูกเอาไปนั้นคือจำนวน 60,000 บาท ก่อนนักท่องเที่ยวจะต่อรองเหลือ 30,000 บาท

ซึ่งล่าสุด พ.ต.อ. กุลชาต กุลชัย ผกก. สภ.เมืองพัทยาได้ออกมาชี้แจงประเด็นนี้แล้วว่า ท่านได้สั่งพักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจคนที่ถูกกล่าวหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และท่านก็ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว นอกจากการรีดไถยังมีรายการรับส่วยของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกเช่นเดียวกัน

และได้มีผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตลาดห้วยขวางที่ตั้งอยู่ใกล้กับ สน.ห้วยขวางประมาณ 500 เมตร และพบว่ามีการ จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ในบริเวณที่อยู่ข้างๆ โรงพักถึง 3 ร้านและเมื่อได้คุยกับพ่อค้าจึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การขายบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งนับเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ต้องมีการส่ง ‘ส่วย’ ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีอัตราราคาสามเรท

ร้านที่เป็นกิจจะลักษณะ

  • จะต้องจ่าย 80,000 – 100,000 บาท/ เดือน

ร้านค้าแผงลอย

  • จะต้องจ่าย 8,000 – 10,000 บาท/ เดือน

ร้านเร่ขายของบนถนน

  • จะต้องจ่าย 1,000 บาท/ เดือน

กรณีที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ยังเคยมีข่าวออกมาว่ามีชาวต่างชาติจากหลายประเทศมาก ที่ถูกจับกุมตัวเพราะ ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจก็มาเรียกเก็บเงิน ซึ่งนอกจากจะเป็นการบิดเบือนกฎหมาย ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ และยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ประเทศไทยซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่งฟื้นฟูไม่มากก็น้อย

มุมมองจากผู้สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า

4.มุมมองจากผู้สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า

มีชาวเน็ตคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเขานั้นบอกเอาไว้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ในประเทศไทยจะมีผู้ใช้ บุหรี่ไฟฟ้า มากถึง 1,000,000, คน อ้างอิงตามกลุ่มซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าที่มีสมาชิก 500,000 คน ที่ตามหาและสั่งซื้อมาใช้งานเขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสถานะ บุหรี่ไฟฟ้า ในยุคสมัยนี้นอกจากจะผลักให้ ผู้ค้าบุหรี่ไฟฟ้า ลงไปอยู่ใต้ดิน

ไม่ต้องเสียภาษีประเทศแล้วยังทำให้การจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าให้เด็กที่มีอายุไม่ถึงไม่ได้รับโทษอีกด้วย เขายกตัวอย่างการพูดคุยกันกับแด็กคนนึง หลังเขาปฏิเสธจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าให้ว่า พี่ขายให้ใครก็ผิดอยู่ดี ขายให้ผมก็ผิด ขายให้คนแก่ 80-90 ปีก็ผิด ผิดเท่ากัน ซึ่งเขาชี้ว่าตรรกะเช่นนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าบุหรี่ไฟฟ้าหลายคนไม่รู้สึกอะไรถ้าจะขายแก่เยาวชน

และถ้าเราทำให้มันถูกกฎหมายมันก็อาจมีหนทางสามารถควบคุมมันขึ้นมาได้ ไม่ว่าเรื่องช่วงวัยหรือวิธีการใช้งาน ซึ่งถ้าเราทำให้ถูกกฎหมายเราจะกำหนดได้ว่าผู้ซื้อต้องซื้อจากที่ใด รับประกันคุณภาพสินค้าได้อย่างไร ได้คำแนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้อง และมันจะสามารถเก็บภาษีเข้ามาได้ มันอาจจะไม่เยอะประมาณ 6 พันล้าน/ ปี แต่มันจะเป็นแบบทวีคูณเพิ่มขึ้นทีละสองเท่า

แต่อันนี้เราก็ต้องทวงถามสิทธิว่าห้ามเรียกเก็บภาษีที่แพงจนแตะไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะถูกผลักไปอยู่ใต้ดินเช่นเดิม แต่ยังไง ถ้าถูกกฎหมายเราเชื่อว่ากลุ่มที่ขายแบบผิดกฎหมายจะมีไม่มาก เพราะคนซื้อก็อยากได้ของที่เชื่อใจได้ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะมีการพูดคุยเรื่องกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้ากันอย่างจริงจัง เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เกิดการรีดไถ เก็บส่วย ทำลายภาพลักษณ์ประเทศไทยแบบนี้