Thursday, 2 May 2024

จับตา “ไลออนร็อก” พายุลูกใหม่มาใหญ่อยู่นาน 10 วัน กระตุ้นความรุนแรงปรากฎการณ์ลานีญา มีแนวโน้มฝนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจซ้ำรอยปี 54

จากการรายงานข่าววันนี้ล่าสุด 28 กันยายน 2564 พยากรณ์อากาศสำหรับ “ไลออนร็อก”  พายุลูกใหม่ที่ย่อมความกดอากาศกำลังแรงที่เกิดขึ้นและก่อตัวจากทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์จะเคลื่อนตัวมาอย่างช้าๆ แต่เพิ่มรุนแรงให้กับปรากฎการณ์ลานีญา

สล็อต xo Slotxo

พยากรณ์อากาศ 28 ก.ย. – 6 ต.ค. 64 “ไลออนร็อก” พายุลูกใหม่ รุนแรงกว่าที่คิด อาจเสี่ยงไม่รอด เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 54 จะกลับมาอีกครั้ง!!!

พยากรณ์อากาศ 28 ก.ย. – 6 ต.ค. 64 “ไลออนร็อก” พายุลูกใหม่ รุนแรงกว่าที่คิด อาจเสี่ยงไม่รอด เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 54 จะกลับมาอีกครั้ง!!!

“ไลออนร็อก”  พายุลูกใหม่มาช้าแต่มาแน่ อาจรุนแรงกว่าที่คิด พยากรณ์อากาศตั้งแต่วันนี้ 28 ก.ย. – 6 ต.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่เกิดขึ้นและได้ก่อตัวที่มาจากทางด้านทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์จะมีการเคลื่อนตัวมาอย่างช้าๆผ่านประเทศฟิลิปปินส์มาในช่วงวันที่ 3 ต.ค. 64 และเข้ามายังทะเลจีนใต้ในช่วงของวันที่ 4 ต.ค. 64  และช่วงรอยต่อของวันที่ 5 ต.ค. 64 หลังจากนั้น เมื่อ “ไลออนร็อก”  ได้เคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้แล้วจะมีกำลังแรงขึ้นคาดว่าพายุชนิดนี้คือ พายุโซนร้อน ระหว่างวันที่ 5 – 6 ต.ค. 64

สำหรับบัญชีรายชื่อถัดไปที่กรมอุตุนิยมวิทยา ให้ชื่อพายุลูกถัดไปนี้ว่า พายุไลออนร็อก ซึ่งกว่าจะได้ชื่อนี้ขึ้น พายุชนิดนี้ก็มีการพัฒนาเป็นพายุโซนร้อนมาก่อน หลังจากที่มีย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเป็นพายุดดีเปรสชั่นและพายุโซนร้อนไปจนถึงพายุใต้ฝุ่น และพายุนี้ได้มีการคาดสถานการณ์แล้วว่า เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย ก็จะคงเหมือนจะมีคุณสมบัติเหมือนเช่นเดิม ดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องมาจากหลังพายุมีการเคลื่อนขึ้นฝั่งแล้ว พายุจะมีความอ่อนกำลังลง

ในประเทศเวียดนามผ่านภูเขาสูงที่อยู่ระหว่างเวียดนามและสปป.ลาว เทือกเขาอันนัมแล้วเข้ามาสู่ประเทศไทยกำลังก็จะอ่อนตัวลงเหลือเพียงดีเปรสชั่นนและหย่อมคาวมกดอากาศต่ำกำลังแรง ทำให้มีความชื้นและทำให้มีฝนลงมาตกในประเทศไทยอีกครั้งสำหรับช่วงเดือนตุลาคมนี้

สำหรับในช่วงเดือนตุลาคมนี้ จะมีจำนวนฝนตกชุกชุมและตกนานหลายวัน ทั้งนี้ถ้ามีปริมาณน้ำจากฝนที่ตกนานหลายวันในครั้งนี้ อาจะทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนปี 2554 พายุไลออนร็อกเป็นหินในภูเขาแห่งหนึ่งในฮ่องกง หรือ ที่มาชื่อของหินที่มีลักษณะคล้ายกับสิงโตหมอบ พายุชนิดนี้ได้มีการตั้งชื่อมาจากฮ่องกง ทั้งนี้คาดว่าพายุสิงโตนี้มาเดินทางมาคำรามในประเทศไทยในวันที่ 6 ต.ค. 64 เป็นต้นไป

สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังในที่เดิมๆ อาจจะเกิดน้ำท่วมจากปริมาณฝนที่จะตกมาซ้ำแนวเดิม เพราะร่องมรสุมจะมีการเคลื่อนตัวผ่านมาบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง และเส้นทางของพายุไลออนร็อกก็ยังคงมาซ้ำรอยเดิมกับปริมาณน้ำฝนที่มีอยู่เก่าให้ท่วมมากขึ้นกว่าเดิม

ทางด้านมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกมาเผยถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มของพายุถึงการก่อตัวของพายุที่คาดแล้วว่าจะมีการเคลื่อนตัวมายังประเทศไทย และจะเกิดพายุในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงวันที่ 5 ต.ค. – 12 ต.ค. 64 โดยพายุไลออนร็อกที่ว่านี้อาจจะผ่านมายังเส้นทางเดิม และแน่นอนว่าพายุจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เปรียบเทียบจากสถิติของการเกิด ปรากฎการณ์ลานีญา จะมีการเกิดปรากฎการณ์ขึ้นมาซ้ำรอยกับปี 2554 คือ อาจจะเกิดน้ำท่วมขังครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งเหมือนกับเหตุการณ์ของปี 2554

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาแจ้งว่า ระหว่างวันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 – 30 ก.ย. 64 ร่องมรสุมมีกำลังอ่อนตัวจะพาดผ่านบริเวณ ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านมาปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทย ยังคงมีกำลังอ่อนตัวจึงมีการส่งผลทำให้ประเทศไทยในเวลานี้มีฝนลดลง แต่ในบางพื้นที่ก็ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและยังตกหนักในบางพื้นที่เช่นกันได้แก่ ภาคใต้  ภาคตะวันออก

ภาคตะวันออก

ช่วงวันที่ 1 – 3 ต.ค. 64 ร่องมรสุมกำลังอ่อนจะมีการเคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านบริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก และสำหรับมรสุมในลักษณะเช่นนี้ ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้ามาปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นและจะทำให้บริเวณประเทศไทยจะเริ่มมีฝนตกเพิ่มขึ้นมาอีกครั้งและยังมีฝนตกหนักในบางแห่ง คือ ภาคตะวันออก ภาคใต้

สิ่งที่ประชาชนต้องระวังอย่างมากในช่วงวันที่ 1 – 3 ต.ค. 64 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่อยู่อาศัยในบริเวณที่อยู่ในพื้นที่บริเวณ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ให้มีการระมัดระวังอย่างมากสำหรับฝนที่จะตกหนัก และพร้อมกับปริมาณน้ำที่มีจากการที่ฝนตกสะสม ส่วนของบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางในบางพื้นที่ยังคงมีฝนตกกระจาย

หลังจากนี้ไปจะมีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มขึ้นตามลำดับตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. 64 เป็นต้นไป การเกิดพายุจะมีความเป็นไปได้มาก สืบเนื่องมาจกปรากฎการณ์ลานีญาจะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวของพายุจึงมีการเคลื่อนตัวต่ำลง เพราะอากาศทางตอนบนของประเทศจีนจะเริ่มมีอากาศเย็น และมวลอากาศเย็นจัดว่าเป็นอากาศหนักจะส่งผลให้อากาศที่ลอยฟุ้งหรือความกดอากาศต่ำนี้กลายเป็นเมฆฝนและพายุก็จะมีการพุ่งต่ำลง และจากเหตุนี้จะทำให้ประเทสไทยจะได้รับพายุอีกรอบหนึ่ง

ปริมาณฝนสำหรับวันนี้ 28 ก.ย. 64 ภาคเหนือมีปริมาณฝนอยู่ที่ร้อยละ 60% ของพื้นที่และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง  สุโขทัย พิษณุโลก และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60% ของพื้นที่และจะมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60% ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60% ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60% ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70% ของพื้นที่มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณ ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ในส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60% ของพื้นที่