Saturday, 4 May 2024

ดราม่าร้อน หมอ VS กู้ภัย หมอกระดูกติงกู้ภัยขาดความรู้??? จัดท่าผิดทำให้คนไข้เสียขา

รายงานข่าววันนี้ที่ 15 กันยายน 2564 พบกระแส ดราม่าร้อน ระหว่างหมอกระดูกกับกู้ภัย โดยหมอท่านหนึ่งออกมาติงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กู้ภัย กรณี กู้ภัยไม่จัดท่าให้ผู้ป่วยที่มีกระดูกผิดรูปให้มาอยู่ในท่าปกติ ก่อนกู้ภัยจะโต้บ้างว่าไม่สามารถทำเหมือนที่หมอพูดได้ ไม่ว่าจะฝึกมาดีแค่ไหนก็ทำไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย

สล็อต xo Slotxo

ดราม่าร้อน กู้ภัยโต้หมอกระดูก “ถ้าจะบอกกู้ภัย/มูลนิธิ แปลว่าเป็น หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน จะเรียนมาดีแค่ไหน ก็ต้องบอกว่า “ทำไม่ได้” เพราะผิดกฎหมาย”

ดราม่าร้อน กู้ภัยโต้หมอกระดูก “ถ้าจะบอกกู้ภัย/มูลนิธิ แปลว่าเป็น หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน จะเรียนมาดีแค่ไหน ก็ต้องบอกว่า “ทำไม่ได้” เพราะผิดกฎหมาย”

กรณี ดราม่าร้อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกู้ภัยกับหมอกระดูก เริ่มมาจากเจ้าหน้าที่หรือมูลนิธิกู้ภัยลงพื้นเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจนสภาพของขามีลักษณะอยู่ในท่าที่ผิดรูปเป็นอย่างมาก แต่เจ้าหน้าที่กู้ภัยไม่ได้จัดท่าให้ผู้ป่วยก่อนนำส่งโรงพยาบาล

เมื่อหมอกระดูกท่านหนึ่งเห็นเคสผู้ป่วยคนดังกล่าว จึงได้ถ่ายรูปและนำไปโพสต์ผ่านสื่อโซเซียลส่วนตัวโดยได้ระบุข้อความไปพาดติงเจ้าหน้าที่กู้ภัยไว้ว่า

“กู้ภัยขาดความรู้ ??? อาจจะทำให้คนไข้เสียขาได้เลยในอนาคต ในเคสนี้เป็นคนไข้กระดูกต้นขาหัก ที่เกิดเหตุกู้ภัยแจ้งว่าพบสภาพนี้เลยนำส่งในท่านี่

แปลความได้ว่า กู้ภัยไม่เคยได้เรียนรู้เลยว่า Basic life support with initial management ว่าใน scene นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง

จากรูปที่เห็น ขาคนไข้บิดอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ คนไข้รู้สึกตัว รู้เรื่องดี สิ่งแรกที่ต้องทำคือการจัดท่ากับระยางที่บาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง คือ ท่าที่เหมือนกับขาขวา ค่อยนำส่งรพ.

ผลเสียของการไม่จัดท่าที่ปลอดภัยต่อคนไข้มีอะไรบ้าง อาจจะทำให้เนื้อเยื่อโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงเกิดการบิดตัวและทำให้หลอดเลือดแดงอุดตันหรือฉีกขาดในอนาคต เกิดภาวะเลือดไม่ไปเลี้ยงส่วนปลายของระยางนั้น

ทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บมากขึ้นซึ่งอันตรายถึงขั้นตัดขาทิ้งถ้าเกิดภาวะที่ว่า

รณณรงค์ให้กู้ภัยต้องมีมาตรฐานและได้รับการฝึกที่ถูกต้อง มีจิตสาธารณะอย่างเดียวไม่พอ เพราะคุณอาจจะทำบาปโดยไม่รู้ตัว

ในฐานะหมอกระดูกสิ่งนี้คือ Peak สุด ๆ ตั้งแต่ทำงานมา หมดคำบรรยายจริง ๆ

ปล. ยังไงถ้ามีจนท. กู้ภัยหรือ Emer med อยากชี้แจงที่ได้การสอนมาก็ยินดีนะครับ”

เมื่อมีการสื่อสารจากโพสต์คุณหมอกระดูท่านนี้ออกไปทำให้ เกิดมีกระแสดราม่าเกิดขึ้น ผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ Wittaya Pholoung หรือ หน้าหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) ที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ก็ได้ออกมากล่าวแสดงความคิดเห็นในกรณีนี้ด้วย ทั้งได้ไขข้อสงสัยที่ “ทำกู้ภัยถึงทำอย่างที่หมอกระดูกออกมาโพสต์ติงไม่ได้” ดังนี้

พอดีเห็นมีดราม่าเรื่องนี้เลยขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเพราะเคยเจอเคสลักษณะนี้มาเหมือนกัน

จากรูปจะเห็นว่าสภาพขามีลักษณะผิดรูปอย่างมากและมีโอกาสที่จะเกิดการกดทับหลอดเลือดทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนปลายของขาได้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการจัดท่าให้ใกล้เคียงปกติ (ในภาวะที่มีความพร้อมเช่น ทีม อุปกรณ์ ยาแก้ปวด) เพื่อแก้ไขเรื่องการกดทับหลอดเลือด (ยกเว้นสะโพกหลุดด้วย จะไม่สามารถจัดท่าได้ที่ scene แน่ๆ)

แต่การจะจัดท่าให้กลับมาเป็นอย่างเดิมโดยไม่ให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะจัดท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ด้าน anatomy , ทักษะ , ความชำนาญ และที่สำคัญที่สุดคือ ขอบเขตของกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่

ถ้าบอกว่าทีมที่ปฏิบัติงานเป็นกู้ภัย/มูลนิธิ แปลว่าเป็นหน่วยการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน ก็ต้องบอกว่า “ทำไม่ได้” ต่อให้เรียนให้ฝึกมาอย่างดี “ก็ไม่ได้” เพราะผิดกฎหมาย

ทีนี้ case นี้ทำอย่างไรถึงดีที่สุด ก็ต้องบอกว่าต้องให้ทีม advance ดำเนินการเนื่องจากมีการผิดรูปเยอะ และอาจมีภาวะช็อคได้ จำเป็นต้องขอสนับสนุน Advance เพื่อมาประเมินว่าจะทำอะไรได้บ้าง (เอาจริงๆเจอแบบนี้ advance ก็เหงื่อตก และมีความเป็นไปได้สูงว่าต้องเอากลับท่านี้แหละ

คำถามคือ case นี้ทำไมถึงไม่ถูกดำเนินการโดย advance มีความเป็นไปได้ 2 กรณี

1.ทีมประเมินไม่ได้ว่าต้องขอสนับสนุนโดย Advance : อันนี้ก็คงต้องมีการทบทวนและพัฒนาทักษะการประเมินผู้บาดเจ็บของทีมเพื่อการพัฒนาต่อไป

2.ขอ advance แล้ว แต่ไม่ออกหรือในพื้นที่ไม่มีให้ : อันนี้ก็จะบ่งบอกถึงความพร้อมของการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงในที่นั้นๆว่าเพียงพอหรือไม่ ภาระงานในโรงพยาบาลที่มากเกินไปทำให้ไม่สามารถบริการได้หรือเปล่า

ถ้าไม่มี advance ให้ ณ เวลานั้นทำอย่างไรดี? ทิ้งไว้แบบนั้นรอจนกว่า advance จะพร้อมออกได้มั้ย? ในทางทฤษฎีดูจะ safe สุด แต่นานแค่ไหนล่ะ? ถ้าเส้นเลือดโดนกดจริงแล้วต้องรออยู่แบบนั้น จะต่างอะไรกับการยกผู้บาดเจ็บเข้าไปโรงพยาบาลตามภาพนี้

ข้อแนะนำคืออาจจะประเมินโดยการคลำชีพจรส่วนปลายดู (หลังเท้า , ข้างตาตุ่ม) ถ้ายังคลำได้แปลว่าเส้นเลือดน่าจะยังอยู่ดี ดามไปลักษณะนี้ก็ไม่เสียหายอะไร แต่ถ้าคลำไม่ได้แปลว่าเส้นเลือดอาจจะถูกกดอยู่ หรือขาดไปแล้ว ถ้าไม่มี advance มาจริง การ scoop and run โดยการดามไปลักษณะนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร อย่างน้อยก็ป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บเพิ่มเติม

สุดท้ายก็อยากฝากผู้มีความรู้และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านว่าอย่าเพิ่งไปต่อว่าผู้ปฏิบัติงาน หากจุดที่เราอยู่กับจุดที่เขาอยู่มันต่างกัน เราอยู่ในโรงพยาบาล เขาอยู่กลางถนน ความพร้อมและทรัพยากร บรรยากาศและแรงกดดันมันต่างกัน หากมีข้อชี้แนะก็อยากให้พูดคุยกันด้วยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และพัฒนา

ส่วนผู้ปฏิบัติงานก็ไม่อยากให้เสียกำลังใจ และอยากให้เปิดใจรับฟังการติชม นำไปพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของตนเองและทีมเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยต่อไปครับ

อ้างอิง : กฎหมายเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน หน้า 40 หมวด 19 ข้อ 19.3 การจัดกระดูกหัก/ข้อเคลื่อนเข้าที่ เป็นหัตการ จ. คือห้ามมิให้กระทำในระดับ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์