Monday, 6 May 2024

ตำรวจไซเบอร์แจง 3 วิธี ดูดเงินลูกค้าบัตรแบงก์ มีเหยื่อกว่า 4 หมื่นราย เสียหายรวม 10 ล้าน

ข่าวเด่นออนไลน์ ตำรวจไซเบอร์แจง 3 วิธี โดยคาดการณ์ว่าแก๊งมิจฉาชีพ ใช้เป็นขั้นตอนในการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย ซึ่งในขณะนี้ได้มีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 4 หมื่นคน รวมเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท

สล็อต xo Slotxo

ตำรวจไซเบอร์แจง 3 วิธี ที่ใช้ดูดเงินลูกค้าออกจากบัญชีธนาคาร

ข่าวเด่นออนไลน์ ตำรวจไซเบอร์แจง 3 วิธี

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ซึ่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) หรือที่เรียกอีกอย่างว่าตำรวจไซเบอร์ ได้เปิดเผยเกี่ยวกับแก๊งมิจฉาชีพที่ทำการล้วงข้อมูลส่วนตัว เพื่อทำการหลอกถอนเงินออกมาจากธนาคาร ซึ่งในขณะนี้มีผู้ได้รับผลประทบกว่า 4 หมื่นคน ยอดความเสียหายกว่า 2 แสนบาท ความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ผู้เสียหายได้ถูกถอนเงินในแต่ละครั้ง เป็นจำนวนไม่มากแต่หลายครั้ง คาดว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุเพียงคนเดียว และคาดว่ามาจากหลายกลุ่ม อีกทั้งยังใช้วิธีหลายรูปแบบ

โดยพฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะ คือ

  1. ได้มีการบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัญชีธนาคาร เข้าไว้กับแอปพลิเคชันต่างๆ อาทิเช่น แอปพลิเคชันออนไลน์ ส่งผลทำให้ข้อมูลอาจหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ
  2. ได้มีการส่งลิงค์มายัง sms โดยจะมีการส่งลิงก์มายังกล่องข้อความบนโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งจะให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลต่างๆ ลงไป อาทิเช่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย
  3. การที่เราใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การนำเอาบัตรไปให้พนักงานชำรำค่าสินค้าภายในห้าง การนำบัตรมาใช้ในการเติมน้ำมัน อาจถูกเก็บเอาข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลักหรือหมายเลข CVC 3 ตัวหลังบัตร ซึ่งอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเอาไปขายต่อภายในตลาดมืด

ถึงอย่างไรก็ตาม จากพฤติกรรมในการดูดเงิน มักจะทำการดูดเงินออกมาจำนวนไม่มาก แต่หลายครั้ง เนื่องจากหากเป็นบัตรเดบิต มักจะไม่มีการแจ้งเตือนเงินออกส่งมาทาง SMS ให้ผู้เสียหายรู้

ทั้งนี้ หากเป็นแอปพลิเคชั่นที่อยู่ภายในประเทศไทย จะส่งผลให้ง่ายต่อการตรวจสอบมากกว่าแอปพลิเคชันที่อยู่ภายในต่างประเทศ

พลตำรวจตรีนิเวศน์ อาภาวศิน ซึ่งเป็นผบก.ตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เผยว่า ซึ่งแก๊งมิจฉาชีพอาจใช้วิธีในการจำจดหมายเลข CVC หลังบัตร ซึ่งตรงนี้เป็นข้อมูลที่มีการเก็บสะสมไปเรื่อยๆ โดยคนร้ายจะนำเอาตรงนี้ไปขาย อีกส่วนจะเป็นเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจมีการผูกข้อมูลเอาไว้กับแอปพลิเคชันต่างๆ หรือการผูกบัญชีเอาไว้เพื่อใช้ในการทำธุรกรรม โดยการที่ข้อมูลจะหลุดออกจากระบบ ที่เคยผูกบัญชีเอาไว้มีความเป็นไปได้ ดังนั้นหนทางในการรั่วไหลของข้อมูลมีอยู่หลายช่องทาง

ซึ่งล่าสุด ได้มีช่องทางในการหลอกลวงเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งช่องทางคือ การส่งมาทางอีเมล ซึ่งส่งลิงค์มาหลอกลวงประชาชน โดยมีใจความว่า ได้มีการรับพัสดุมาจากไปรษณีย์ไทย แต่ทว่าเป็นสินค้าที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้ทำการเสียภาษี และให้ประชาชนทำการกรอกข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต เพื่อที่จะหลอกเอาข้อมูลของเราไป ซึ่งเป็นข้อมูลหน้าบัตร รวมถึงข้อมูลความปลอดภัยที่อยู่บริเวณหลังบัตรด้วย เป็นช่องทางหลักๆ ที่ทำให้ข้อมูลรั่วไหล

ตำรวจไซเบอร์แจง 3 วิธี ดูดเงินลูกค้าบัตรแบงก์ มีเหยื่อกว่า 4 หมื่นราย เสียหายรวม 10 ล้าน

โดยขณะนี้ได้มีผู้เสียหายกว่า 2 หมื่นคน พลตำรวจตรีนิเวศน์ ได้มีการแนะนำให้เข้าไปประสานกับทางธนาคาร เพื่อทำการแจ้งให้ทราบถึงข้อมูลที่ถูกใช้ไปว่าเราไม่ได้เป็นผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าว ขณะนี้ทางธนาคารได้มีการออกให้การยืนยันว่า จะทำการช่วยเหลือ พร้อมกับรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ เนื่องจากทางธนาคารทราบดีว่าเกิดจากกลไกที่มีการกำหนดเงื่อนไขเอาไว้ เมื่อได้มีการนำเอาข้อมูลในส่วนนี้ไปใช้ในการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าไม่สูง อาทิเช่น การทำธุรกรรมที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 บาท ทำให้ไม่ต้องใช้ OTP แจ้งเตือน จึงทำให้คนร้ายสามารถที่จะทำธุรกรรมที่มีมูลค่าน้อย แต่ทว่าทำหลายครั้ง จนส่งผลให้เกิดความเสียหาย

โดยมีข้อแนะนำในการป้องกันนั้นก็คือ

  1. เราไม่ควรนำข้อมูลบัตรเครดิตผูกไว้กับแอปต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งานมักจะอ้างว่าสะดวก ซึ่งหากทำการใช้จนแล้วเสร็จควรที่จะเอาข้อมูลออกจากระบบ
  2. เมื่อนำเอาบัตรไปใช้ ควรที่จะมีการป้องกันรหัสที่อยู่บริเวณหลังบัตร ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การหาสิ่งของมาปิดทับบริเวณหมายเลข CVC หลังบัตร อาทิเช่น สติ๊กเกอร์ทึบแสง หรือ ทำการถ่ายภาพหมายเลข CVC หลังบัตรเอาไว้ หรือจะทำการถ่ายเลข 3 ตัวหลังบัตรเอาไว้ ก่อนจะทำการขัดด้วยกระดาษทราย เพื่อลบหมายเลข CVC หลังบัตรออก โดยตัวเลขนี้เป็นมาตรฐานสากล ทางธนาคารไม่สามารถที่จะไปแก้ไขได้ เนื่องจากเป็นเรื่องสากล ที่จะต้องใช้วิธีการปกป้องตัวเอง