Sunday, 5 January 2025

นพ.ธีระวัตน์ เหมะจุฑา แพทย์จุฬาฯ ออกเสนอ 3 สูตรสยบการระบาดเชื้อโควิด ภายในระยะเวลา 3 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานข่าววันนี้ล่าสุดวันที่ 13 กันยายน 2564 นพ.ธีระวัตน์ เหมะจุฑา จากคณะแพทย์จุฬาฯ ได้ออกมาทำการสรุปภาพโดยรวมของโควิด19 ทั่วโลก ทั้งนี้พบว่าในหลายประเทศที่ก่อนหน้านี้มีสถานการดีขึ้นแต่แล้วก็ยังมีการระบาดกลับมาใหม่และผู้ติดเชื้อก็ยังเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิมแม้จะได้รับวัคซีนแบบ mRNA

สล็อต xo Slotxo

นพ.ธีระวัตน์ เหมะจุฑา แพทย์จุฬาฯ ออกเสนอ 3 สูตรสยบการระบาดเชื้อโควิด ภายในระยะเวลา 3 เดือน

นพ.ธีระวัตน์ เหมะจุฑา แพทย์จุฬาฯ ออกเสนอ 3 สูตรสยบการระบาดเชื้อโควิด ภายในระยะเวลา 3 เดือน

สำหรับในสถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศไทย นพ.ธีระวัตน์ เหมะจุฑา ได้ออกมาเสนอ 3 สูตรที่เป็นวิธีการสยบหรือลดการระบาดของเชื้อโควิด19 ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน ซึ่งสิ่งแรกก็คือ “การเดินหน้าตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุก” เมื่อเจอผู้ป่วยก็ต้องแยกออกไปรักษาโดยเร็วที่สุด และขณะเดียวกันนั้นก็ต้องปฏิบัติตนตามมาตรการควบคุม และเจ้าหน้าที่ต้องเดินหน้าเพื่อฉีดวัคซีนให้มากที่สุด ส่วนมาตรที่บังคับใช้ส่วนบุคคลก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เมื่อช่วงเช้า 13 ก.ย. 64 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด19 โดยได้ระบุไว้ดังนี้

แนวโน้มการระบาดโควิด-19 ใน “ประเทศไทย” คล้ายดูดีขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมไวรัสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นตลอด จนล่าสุดพบ “สายพันธุ์ C.1.2” ปรับตัวหนักข้อกว่าเดิมเริ่มแพร่เชื้อหลายทวีปทั่วโลก ทั้งในทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชีย

แต่โชคดียังไม่พบสายพันธุ์นี้ “ในไทย” ที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาเป็นหลัก ทั้งยังออกลูกออกหลานกลายเป็นสายพันธุ์ย่อยเดลตาจากการตรวจพบไม่นานมานี้ ล้วนมีความโดดเด่นต่อการแพร่เชื้อเร็ว และก่ออาการรุนแรงเช่นเดียวกันทั้งหมด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า

ตอนนี้ “โควิดค่อนข้างผันผวน” ปรากฏพบหลายประเทศระบาดระลอกใหม่ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ที่ผู้ป่วยเพิ่มมากเรื่อยๆ แม้มีการฉีดวัคซีนชนิด mRNA แล้วก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่า “ระดับภูมิคุ้มกันยับยั้งลดลง” ทั้งยังเผชิญกับสายพันธุ์เดลตามีความสามารถจับเซลล์ง่ายแพร่กระจายเร็วที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลก

กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อ “ประสิทธิภาพวัคซีนลดน้อยถอยลงกว่าเดิม” มีผลให้ผู้ฉีดครบโดสในช่วงต้นปีกลับมาติดเชื้อใหม่ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรป หันมาทบทวนคำนึงถึง “สูตรบูสเตอร์โดสฉีดเข็ม 3” แต่คงใช้วัคซีนเจเนอเรชันเดิมที่เชื่อว่าหลายบริษัทผู้ผลิตเริ่มพัฒนาวัคซีนตัวใหม่กันด้วย

เพื่อให้ป้องกันโควิดกลายพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพน่าจะสามารถแจกจ่ายใช้กันในปีหน้า…และมีคำถามว่า…“วัคซีนเจเนอเรชัน 2020-2021” ยับยั้งป้องกันโควิดกลายพันธุ์ดีระดับใด? อธิบายว่า

วัคซีนกระตุ้นตอบสนองสร้างภูมิคุ้มกันถูกแบ่งเป็น 4 อย่าง คือ อย่างแรก…“ภูมิเฉยๆ” เป็นภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อร่างกายมองเห็นไวรัสแต่กลับไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ หากตรวจหาภูมิคุ้มกันก็มักมีระดับค่อนข้างสูง

อย่างที่สอง…“ภูมิคุ้มกันยับยั้งไวรัส” เป็นตัวสำคัญที่ทุกคนต้องการกัน ทำให้มีความพยายามกระตุ้นภูมิให้มีระดับสูงไว้ให้เกิดการยับยั้งไวรัสได้ดี แต่ว่าการกระตุ้นนี้กลับมีผลตอบสนองที่ 3…“ภูมิเลวร้าย” เป็นภูมิจับไวรัสดี แต่ไม่ทำลายโดยตรงนำเข้าเซลล์พิเศษออกมาทำให้เนื้อเยื่ออักเสบเสียหายทำลายมนุษย์แทน

ภูมิตอบสนองอย่างที่ 4…“ภูมิชั่วร้าย” ลักษณะช่วยให้ไวรัสเข้าเซลล์ง่ายติดเชื้อเร็วกว่าเดิม ถ้าใครมีภูมิตอบสนองนี้เจอ “สายพันธุ์เดลตา” ยิ่งเป็นตัวเร่งให้มีการติดเชื้อง่ายกว่าเดิมมากขึ้น

จริงๆแล้ว…“นักวิจัยทั่วโลก” รับรู้ผลตอบสนองภูมิจากวัคซีนอย่างที่ 1-3 มานานแล้ว แต่ว่า “ภูมิชั่วร้าย” เพิ่งมีรายงานตีพิมพ์ลงวารสารนานาชาติในเดือน ก.ค.มานี้จากการศึกษา “ผู้มีภูมิคุ้มกันติดเชื้อรุนแรงผิดปกติ” นำเลือดตรวจเปรียบเทียบพิสูจน์เห็นความน่ากลัวจุดนี้ที่เป็นตัวเพิ่มเขี้ยวเล็บให้ไวรัสโควิดร้ายกาจยิ่งขึ้น

เรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่า “วัคซีนผิดเพี้ยน” แต่เป็นกระบวนการกระตุ้นร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองขึ้นนี้ในบางคราวก็อาจมีลักษณะไม่ตรงตามประสงค์เกิดขึ้นได้ แม้เป็นผลการศึกษาของต่างประเทศก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกคน “ไม่ควรประมาท” ที่อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายผันผวนมากกว่าเดิมได้

ย้อนกลับดู “การรับมือการระบาดโควิดในไทย” ค่อนข้างร่อแร่น่าเป็นห่วง เพราะกำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยหนักวิกฤติโดยตรง แม้ดึงแพทย์ พยาบาลเกษียณอายุ เข้าช่วยงานแก้บุคลากรไม่พอนี้ก็ทำได้ในฐานะให้คำปรึกษาเท่านั้น

แต่ผู้ปฏิบัติลงมือจริง “แพทย์เฉพาะด้าน” ที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ไม่ใช่แพทย์ทั่วไปก็ทำได้ ดังนั้นหลายโรงพยาบาลต้องเกณฑ์บุคลากรด้านคนไข้วิกฤติเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด กลายเป็นผลกระทบต่อ “ผู้ป่วยโรคอื่น” ถูกปรับเน้นดูแลบริการได้เฉพาะคนไข้หนักเป็นหลักก่อน

ส่วนผู้ป่วยตามแพทย์นัดปรับขยายเวลาเคยนัด 3 เดือนครั้งก็ปรับ 6 เดือนครั้งแล้วแต่กรณี

“หลายโรงพยาบาลปรับวิธีบริการดูแลผู้ป่วยอื่นทั่วไปสอดรับสถานการณ์ด้วยการนำระบบเทเลเมดิซีน (Telemedicine) ระบบแพทย์ทางไกลเข้ามาช่วยบริการสาธารณสุขกับประชาชน โดยมีแพทย์พูดคุยกับคนไข้ผ่านวิดีโอคอลสอบถามอาการ วินิจฉัย และการรักษาเบื้องต้นบรรเทาความเดือดร้อนชั่วคราว”

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ย้ำว่า แต่ก็มีอุปสรรคอีกเพราะ “ผู้ทำหน้าที่เทเลเมดิซีนให้คำปรึกษาบริการแก่ประชาชน” ถูกถอนออกมาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด ทั้งยังมี “บางส่วนติดเชื้อ” ส่งผลให้การบริการคนไข้โรคอื่นทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ดังนั้นควรเร่ง “ยันตีตอบโต้เชื้อไวรัสโควิดฉับไวให้สำเร็จโดยเร็ว” มิเช่นนั้นยิ่งทำให้คนติดเชื้อป่วยหนักเพิ่มมากขึ้น ที่เป็นการทับถมระบบสาธารณสุขไม่อาจตั้งรับต้านทานได้ไหว

ตอกย้ำปัญหา “วัคซีนมีไม่เพียงพอกระจายไม่ครอบคลุมตามเวลากำหนด” ทั้งยังมีปัจจัยสายพันธุ์เดลตากำลังระบาดในทุกจังหวัดจนเกิดสายพันธุ์ย่อยโผล่ขึ้นสะท้อนว่า “เชื้อไวรัส” ระบาดหนักมากด้วย

จนกลายพันธุ์แตกตัวเป็นสายพันธุ์ย่อยขึ้นใหม่ได้ สิ่งนี้ตอกย้ำให้ต้องปฏิบัติการเชิงรุกกดดันไวรัสโรคระบาด 3 วิธีคือ วิธีแรก…“สร้างแรงกดดันไวรัสในกลุ่มผู้ติดเชื้อ” ในการคัดกรองวินิจฉัยให้มาก แยกตัวรักษาให้เร็วทันทีที่รู้ว่า “ติดเชื้อ” ด้วยการแจกยาแบบผสมผสานระหว่างสมุนไพร และยาแผนปัจจุบัน

แก้ปัญหาขาดแคลนยา เช่น แจกฟ้าทะลายโจร ยาฆ่าพยาธิให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หากเอาไม่อยู่ต้องให้ฟาวิพิราเวียร์ และเรมเดซิเวียร์ เพื่อรักษาให้หายป่วยเร็วที่สุด ไม่ให้เชื้อแพร่กระจายต่อเนื่องป้องกันหยุดยั้งไวรัสปรับเปลี่ยนพันธุกรรมมากเกินไปจนกลายพันธุ์อย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้

วิธีต่อมา…“สร้างแรงกดดันไวรัสป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีน” ต้องเป็นวัคซีนมีประสิทธิภาพดีฉีดครอบคลุมประชากร 90% ภายใน 3 เดือนนับจากนี้เพราะ “ผู้ฉีดวัคซีนครบโดสภูมิคุ้มกันตกต่ำกันแล้ว” โดยเฉพาะ “ผู้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย” ระดับภูมิลดลงหลังฉีดครบโดสใน 8 สัปดาห์ด้วยซ้ำ

ในส่วน “วัคซีนชนิด mRNA” ภูมิตกหลังฉีดครบโดสแล้ว 14 สัปดาห์ ตอกย้ำความสำคัญในการต้องฉีดวัคซีนใหม่ เพื่อลดการป่วยหนักจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดโอกาสเสียชีวิตลงได้

ย้ำข้อกังวลว่า “ประเทศไทยมีข่าวดีให้ชื่นใจตลอด” ตั้งแต่ข่าววัคซีนได้มาจำนวนมากสามารถฉีดครอบคลุมทุกคนในเวลากำหนดก่อนสิ้นปี แต่ความจริงกลับจับต้องไม่ได้สักอย่าง ส่วนวัคซีนมีอยู่ค่อนข้างเข้าถึงยากลำบากด้วย ดังนั้นตอนนี้ “ประชาชน” ต้องการเห็นวัคซีนที่เข้าถึงรับการฉีดได้โดยง่ายจริงๆ

แม้แต่ “แอปพลิเคชันลงทะเบียนออกมามากมาย” กลายเป็นความสับสนทั้งประเทศ เพราะหน่วยงานรัฐไม่ประสานต่างคนต่างทำกัน ถ้าเปรียบเทียบต่างประเทศใช้แอปพลิเคชันระบบเดียวครบวงจรเข้าถึงก็ง่าย…เช่นนี้แล้วจึงต้องยึดหลักปฏิบัติตามหลักวิธีที่สาม…“แรงกดดันไวรัสด้วยความมีวินัยของประชาชน” ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ก็ตาม เน้นย้ำเห็นความสำคัญต่อการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ทั้งเรื่องใส่หน้ากาก ล้างมือ อยู่ห่างคนอื่น เพราะยิ่งเจอผู้คนมากเท่าใด ย่อมมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อเท่านั้น

ประเด็นสำคัญมีว่า “เชื้อโควิดกระจัดกระจายไปทุกพื้นที่ของประเทศ” นับตั้งแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ป่วยติดเชื้อเดินทางกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิดได้ แม้มี “มาตรการล็อกดาวน์” ไม่อาจสกัดการกระจายเชื้อได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว แต่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจเกินร้อย โดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำขาดรายได้สิ้นเชิง…เมื่อเป็นเช่นนี้ “จำเป็นต้องคลายล็อกธุรกิจบางประเภท” ปรับมาตรการเน้นผู้ประกอบการ และประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเคร่งครัด มิเช่นนั้นจะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ไปถึงคนรากหญ้าหนักขึ้น

สรุปแล้วหัวใจหลักสยบโควิดที่ได้ผลต้อง “ตรวจเชิงรุกให้มาก รักษาให้เร็ว วัคซีนมีพร้อม ทำควบคู่ป้องกันตัวเอง” ดังคำแนะนำกล่าวมานี้ถ้าปฏิบัติไม่ครบถ้วนมาตรการออกมาเข้มข้นเพียงใดก็ช่วยหยุดการระบาดชั่วครั้งชั่วคราว แต่กลับส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อระบบสาธารณสุขเศรษฐกิจประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เชื่อว่าวิกฤตินี้จะจบได้เร็วนี้…“นโยบายแผนงานปฏิบัติต้องชัดเจน ตรวจเชิงรุก แยกตัวรักษาเร็ว และวัคซีนมีประสิทธิภาพพร้อมเหลือเฟือที่สำคัญดำเนินการอย่างบูรณาการในทิศทางเดียวกัน”.