Friday, 22 November 2024

ปภ.รายงานสถานการณ์ อุทกภัยในภาพรวม 16 จังหวัด ประสานเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ข่าวเด่นออนไลน์ เพจเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM โดยได้มีการโพสต์ รายงานยังคงมีสถานการณ์ อุทกภัยในภาพรวม 16 จังหวัด โดยร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17 – 18 ต.ค. 64 โดยระบุข้อความว่า

สล็อต xo Slotxo

ปภ.รายงานสถานการณ์ อุทกภัยในภาพรวม 16 จังหวัด

ข่าวเด่นออนไลน์ อุทกภัยในภาพรวม 16 จังหวัดวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการรายงานสถานการณ์ว่ายังคงมีอุทกภัยภายในภาพรวม 16 จังหวัด โดยในร่องมรสุมพาดผ่านทางภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ประกอบด้วยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีกำลังปานกลางพัดเข้ามาปกคลุมที่บริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เมื่อวันที่ 17 – 18 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายใน 9 จังหวัด 26 อำเภอ 71 ตำบล 289 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 6,165 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 3 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 6 จังหวัด (จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสระแก้ว)

ในส่วนของอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” เมื่อวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายใน 6 จังหวัด 12 อำเภอ 33 ตำบล 112 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 3,326 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 2 จังหวัด (จังหวัดลพบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี) ซึ่งในขณะที่อิทธิพลพายุ“ไลออนร็อก” เมื่อวันที่ 8 – 14 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายใน 9 จังหวัด 20 อำเภอ 90 ตำบล 416 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 7,931 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 8 จังหวัด และยังคงสถานการณ์ 1 จังหวัด (จังหวัดจันทบุรี)

ในส่วนของอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” เมื่อวันที่ 23 กันยายน – 7 ตุลาคม 2564 ส่งผลให้เกิดอุทกภัย 33 จังหวัด 225 อำเภอ 1,201 ตำบล 8,218 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 333,367 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้ทั้งหมด 14 ราย ซึ่งคลี่คลายแล้ว 24 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 9 จังหวัด (จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี) ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้มีการเข้าร่วมกับทางจังหวัดพร้อมทั้งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย และเข้าช่วยเหลือประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ได้มีการรายงานถึงอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านทางภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ อยู่ที่บริเวณประเทศลาวตอนบน ประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบด้วยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีกำลังปานกลางพัดเข้ามาปกคลุมที่บริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เมื่อวันที่ 17 – 18 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายใน 9 จังหวัด 26 อำเภอ 71 ตำบล 289 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 6,165 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 3 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 6 จังหวัด 20 อำเภอ 64 ตำบล 282 หมู่บ้าน 6,164 ครัวเรือน ดังนี้

  1. จังหวัดขอนแก่น น้ำท่วมภายในพื้นที่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย ระดับน้ำลดลง
  2. จังหวัดชัยภูมิ น้ำท่วมภายในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสาร อำเภอบ้านเขว้า อำเภอบ้านแท่น อำเภอเทพสถิต อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอเนินสง่า และ อำเภอหนองบัวระเหว ระดับน้ำทรงตัว
  3. จังหวัดบุรีรัมย์ น้ำท่วมภายในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนางรอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระดับน้ำลดลง
  4. จังหวัดศรีสะเกษ น้ำท่วมภายในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูสิงห์ และอำเภอขุนหาญ ระดับน้ำทรงตัว
  5. จังหวัดนครปฐม น้ำท่วมภายในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ระดับน้ำทรงตัว
  6. จังหวัดสระแก้ว น้ำท่วมภายในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอวัฒนานคร ระดับน้ำลดลง

ในส่วนของอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” ซึ่งได้มีกำลังอ่อนลงเป็นหย่อมความอากาศต่ำ เป็นร่องมรสุมผัดพาดผ่านทางภาคกลาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มีร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีกำลังแรงพัดเข้ามาปกคลุมที่บริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายในพื้นที่ 6 จังหวัด 12 อำเภอ 33 ตำบล 112 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 3,326 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 2 จังหวัด 7 อำเภอ 19 ตำบล 78 หมู่บ้าน 2,216 ครัวเรือน ดังนี้

  1. จังหวัดลพบุรี น้ำไหลหลากเข้าท่วมภายในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอลำสนธิ ระดับน้ำลดลง
  2. จังหวัดปราจีนบุรี น้ำป่าไหลหลากและน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมภายในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม และอำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำลดลง

ปภ.รายงานสถานการณ์ อุทกภัยในภาพรวม 16 จังหวัด

ในส่วนของอิทธิพลพายุ “ไลออนร็อก” ซึ่งได้มีกำลังอ่อนลงเป็นหย่อมความอากาศต่ำ ได้มีการเคลื่อนตัวเข้าไปปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ในบริเวณ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 8 – 14 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ภายในพื้นที่ 9 จังหวัด 20 อำเภอ 90 ตำบล 416 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 7,931 ครัวเรือน ซึ่งคลี่คลายแล้ว 8 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 1 จังหวัด 5 อำเภอ 9 ตำบล 49 หมู่บ้าน 2,018 ครัวเรือน ดังนี้

  1. จังหวัดจันทบุรี น้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ อำเภอมะขาม อำเภอขลุง อำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอแหลมสิงห์ ระดับน้ำลดลง

ผลกระทบจากพายุ “เตี้ยนหมู่” เมื่อวันที่ 23 กันยายน – 7 ตุลาคม 2564 ส่งผลทำให้หลายพื้นที่ประสบอุทกภัย 33 จังหวัด ได้แก่ (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดยโสธร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนครปฐม) 225 อำเภอ 1,201 ตำบล 8,218 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับความเสียหายกว่า 333,367 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตในอุทกภัยครั้งนี้ทั้งหมด 14 ราย (จังหวัดลพบุรี 11 ราย จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 ราย จังหวัดชัยนาท 1 ราย) ซึ่งในปัจจุบันคลี่คลายแล้ว 24 จังหวัด และยังคงสถานการณ์อีก 9 จังหวัด 39 อำเภอ 274 ตำบล 1,523 หมู่บ้าน 82,608 ครัวเรือน ดังนี้

  1. จังหวัดขอนแก่น น้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอชนบท อำเภอพระยืน อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านแฮด อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำลดลง
  2. จังหวัดมหาสารคาม มวลน้ำจากจังหวัดขอนแก่นไหลเข้าท่วมภายในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม ระดับน้ำทรงตัว
  3. จังหวัดนครราชสีมา น้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอคง อำเภอประทาย อำเภอชุมพวง และอำเภอเมืองยาง ระดับน้ำลดลง
  4. จังหวัดลพบุรี น้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำลดลง
  5. จังหวัดสุพรรณบุรี ยังมีน้ำท่วมภายขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำลดลง
  6. จังหวัดสิงห์บุรี น้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี ระดับน้ำลดลง
  7. จังหวัดอ่างทอง ยังมีน้ำท่วมขังภายในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้ ระดับน้ำลดลง
  8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมภายในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน และอำเภอบางซ้าย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย คลองโผงเผง และคลองบางบาล ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำลดลง
  9. จังหวัดปทุมธานี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมภายในพื้นที่ริมน้ำ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำลดลง