Friday, 22 November 2024

ไขข้อสงสัย! ดราม่า เคลมชุดไทย กัมพูชาลั่น เป็นวัฒนธรรมคนเขมร

ข่าวล่าสุด เพจเฟซบุ๊กดัง โบราณนานมา ออกโพสต์แจงอิบายปมเดือด 2 ชาติ เคลมชุดไทย ในประเทศกัมพูชา เผยข้อมูลเป็นการสร้างเรื่องราวในช่วงการเลือกตั้งปั่นปวน อ้างไทยขโมยวัฒนธรรมใส่เสื้อผ้า

สล็อต xo Slotxo

เพจดังออกแจง ปมดราม่า กัมพูชาออกข่าว ปลุกกระแสชาตินิยม เคลมชุดไทย ยุ่งโยงคนเขมรเกลียดคนไทย สื่อสารใส่ความสยามเป็นประเทศ “ขี้ขโมย”

ข่าวล่าสุด ปมดราม่า กัมพูชาออกข่าว ปลุกกระแสชาตินิยม เคลมชุดไทย

เคลมชุดไทย กัมพูชาบอกเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายของเขมร หลังมีชาวกัมพูชาแห่กันหันมาสวมใส่ชุดไทยในประเทศมากขึ้น  ทว่าขณะเดียวกันเริ่มมีเสียงเรียกร้องจากชาวเขมรเอง ไปเรียกร้องกับเจ้าของร้านที่ปล่อยเช่าชุด โดยให้ทำชุดปล่อยเช่าให้เหมาะสมวัฒนธรรมความเป็นเขมรแบบดังเดิมที่มีมายาวนานตั้งแต่โบราณ การที่คนเขมรพยายามใส่ชุดไทยพร้อมกับการใส่สไบเป็นลวดลายของธงชาตกัมพูชา ชาวเขมรเริ่มออกมาว่า “ไม่เหมาะสม”  ล่าสุด ก.วัฒนธรรมกัมพูชา ออกมาเตือน ไม่ให้ประชาชนเอาลายผ้าที่เป็นธงชาติมาทำเป้นชุดสวมใส่

ส่วนเรื่องที่ชาวเขมรนำชุดไทยไปใส่และบอกว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศกัมพูชา เมื่อ 10 มีนาคม 2565  เพจ โบราณนานมา ได้ออกมาอธิบายว่า นี่คงเป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปลุกสร้างกระแส ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมากกว่า และบวกกับในกัมพูชาตอนนี้อยู่ในสภาวะที่เรียกว่า การหลอมรวมของวัฒนธรรม

ทางเพจได้โพสต์ตั้งหัวข้อว่า “ชุดไทยที่โดนสะกดจิตหมู่ว่าเป็นชุดเขมร” ก่อนระบุเนื้อหาต่อว่า มีเรื่องเกิดขึ้นคล้ายคลึงกันอยู่หลายครั้ง และส่วนมากเรื่องราวแบบนี้จะเจอได้บ่อยในช่วงการเลือกตั้งของกัมพูชา ทุกช่วงที่ต้องจัดเลบือกตั้งก็มักจะมีการปลุกระดมกระแสให้คนเขมรชังประเทศสยาม โดยแต่ละครั้งจะอ้างเอาประเพณีวัฒนธรรมมาเอี่ยวว่าไทยเราไปขโมยของเขามา เช่น การละคร “โขน” สิ่งก่อสร้างในลวดลายต่างๆ ตามโบราณสถาน ฯลฯ และประชาชนชาวกัมพูชาก็คล้อยตามกับกระแสข่าวเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก

สำหรับเรื่องราว “วัฒนธรรมไทย” จุดเริ่มที่ไปมีอิทธิพลต่อชาวกัมพูชา ประกอบขึ้นจากหลายปัจจัย หากย้อนไปในช่วงต้นรัชสมัย “รัตนโกสินทร์” ตอนนั้นมีประเพณีอย่างหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกัน คือ การเลี้ยงดู “บุตร” หรือ ทายาทของประเทศเขมร ไทยรับเลี้ยงเป็นบุตรในบุญธรรม ซึ่งตอนนั้นประเทศเพื่อนบ้านตกเป้นเมืองขึ้นของเรา นี่เป็นธรรมเนียมมาตั้งแต่โบราณ เหตุที่มีการรับเลี้ยงลูกบุญธรรม เพราะป้องกันไม่ได้ประเทศเมืองขึ้นแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อสยาม โดยประเพณีการเลี้ยงดูทายาทประเทศเมืองขึ้นนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และถูกปฏิบัติต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 หรือ ราวๆ 73 ปี

ข่าวเด่นออนไลน์ ดราม่า 2 ชาติ ไทย-เขมร ความผสมผสานทางวัฒนธรรม ตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง "การเลือกตั้ง""

เพจดังชี้แจงต่อว่า กรณีไทย-กัมพูชา มีความหลากหลายและความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม มีสาเหตุมาจาก กษัตริย์ของกัมพูชาทุกพระองค์ที่เกิดในช่วงเวลาศตวรรษที่ 18-20 โดยยกเว้น “สมเด็จพระนางเจ้ามี” ทั้งหมดล้วนแล้วได้มาศึกษาในกรุงเทพมหานคร และข้อมูลอ้างอิงมาจาก การบันทึกของ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทั้งนี้ ตามบันทึกได้บอกไว้ว่า เริ่มตั้งแต่การตั้งแผ่นดินยุค “สมเด็จพระนโรดม” มีการใช้ภาษาไทยสื่อสารเป็นพื้น เพราะครั้งนั้นสมเด็จพระนโรดม บอกว่า ท่านพูดภาษาเขมรไม่คล่องจึงพูดแต่ภาษาไทย และนี่คงเป็นอีกที่มาของวัฒนธรรมที่ 2 ชาติมีความคล้ายคลึงกันในเกือบทุกด้าน

สมเด็จพระเรียม นโรดม บุปผาเทวี ผืที่ได้รับฐานะเป็นพระเชษฐภคินีต่างแม่ของกษัตริย์คนปัจจุบันของกัมพูชา ยังเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์รัชกาลที่แล้ว โดยพระองค์เคยออกมให้สัมภาษณ์กับ Khmer Dance Project (การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดง) New York Public Library

ทั้งนี้ ระบุเอาไว้ว่า เมื่อครั้งสมัยของกษัตริย์ นโรดม-สีสุวัตถิ์ และนับตั้งแต่ยุคสมัยขององค์ด้วง ไทยมีอิทธิพลต่อเขมรมาก เนื่องจากตอนนั้นเราขาดแคลนครูอาจารย์ โดยได้มีครูคนไทยมาจากไทยเดินทางมาเขมรเพื่อสอนสั่ง หรือ บางครั้งครูชาวเขมรก็เดินทางไปที่ไทย นับว่าสองราชสำนักมีการผสมผสานกันเรื่อยมา

เมื่อฝั่งเขมรได้รับความรู้จากครูคนไทยก็นำมาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมของตน การระบำของไทยมีรูปแบบต่างจากเรา ในครั้งกษัตริย์สีสุวัตถิ์ ซึ่งได้ร่วมสมัยกับ ร.5 และ ร.7 ของประเทศสยาม การแสดงแต่งกายแบบไทย ภายหลังชาวเขมรได้ดัดแปลงมาเป็นแบบวัฒนธรรมเขมร และการแสดงจึงมีความคลายคลึงกับการแสดง “โขน” ของประเทศสยาม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ การหลอมรวมทางวัฒนธรรมของสองชาติ ฯลฯ

แอดมิดชี้แจงอีกว่า คนที่กล่าวว่าไทยไปเอาคำเขมร ศิลปะเขมร ทำไมเพจถึงไม่บอก ในส่วนนี้อย่าเพิ่งหลงประเด็น เราอยากบอกว่าไทยไม่เคยเอาอะไรจากเขมร และคำไทยที่มีผสมภาษาเขมร ไปค้นดูใน “พจนานุกรม” เราก็มีการระบุให้เครดิตทุกคำ ร่วมไปถึงการขับร้อง การให้สำเนียงให้เพลงต่างๆ เรามีการให้เครดิตเสมอ อาทิ ลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค… ฯลฯ  เรื่องที่ต้องการสื่อในที่นี่ คือ อะไรที่เขมรนำจากไทยไปใช้ไม่เคยเห็นให้เครดิตกันบ้างเลย และยังมาหาว่าไทยไปขโมยของตัวเองมา