Saturday, 23 November 2024

#สมรสเท่าเทียมเท่านั้น แฮชแท็กพุ่งติดเทรนด์ เพื่อหวังให้ผ่านการพิจารณา วาระที่2-3

ข่าวเด่นออนไลน์ ล่าสุด กลายเป็นประเด็นร้อนบนโลกทวิตเตอร์จนเกิดเป็น #สมรสเท่าเทียมเท่านั้น หลายคนแห่มาโพสต์และแฮชแท็กพุ่งติดเทรนด์ก็หวังเพื่อให้มีการผ่านพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งครั้งนี้เป็นวาระที่ 2 และ 3 เพื่อจะได้มีการดำเนินร่างกฎหมายแก้ไขใหม่ในกลุ่มของเพศที่ 3

สล็อต xo Slotxo

#สมรสเท่าเทียมเท่านั้น ชาวทวิตเตอร์ในไทย แฮชแท็กพุ่งติดเทรนด์ หวังให้ผ่านการพิจารณา ในวาระ 2-3 สภาผู้แทนราษฎร

#สมรสเท่าเทียมเท่านั้น ชาวทวิตเตอร์ในไทย แฮชแท็กพุ่งติดเทรนด์ หวังให้ผ่านการพิจารณา ในวาระ 2-3 สภาผู้แทนราษฎร

บัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ได้แห่เข้ามาติด #สมรสเท่าเทียมเท่านั้น จนขึ้นเทรนทวิตเตอร์ ทั้งนี้จุดประสงค์เพียงต้องการสนับสนุนให้ร่างกฎหมายการสมรสของเพศที่ 3 ได้รับการพิจารณาและอนุญาตจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระการประชุมที่ 2 และ 3 เพื่อหวังให้มีการแก้กฎหมายแท่งและพาณิชย์  โดยหวังให้มีการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมและให้ผ่านพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ไปจนถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งในการพิจารณานี้จะต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อให้สมรสคู่สำหรับเพศทางเลือกสามารถที่จะตั้งครอบครัวเป็นของตัวเองได้ นี่เป็นเพียงการลำดับพิจารณาซึ่งมันมีการใช้สิทธิ์ที่น้อยกว่าการร่างกฎหมายเท่าเทียม

โดยก่อนหน้านี้การร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านการพิจารณาของสภาในวาระที่ 1 ซึ่งเป็นวาระหลักของทางกฎหมาย โดยมีการผ่านการพิจารณาด้วยคะแนนเสียง 210 เสียง ต่อ 180 เสียง ซึ่งได้มีการประชุมไปเมื่อ 15 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

สำหรับวาระที่ 2 การร่างจดหมายสมรสเท่าเทียมจะได้เข้าไปในสภาเพื่อให้มีการพิจารณาจะพูดแทนราษฎร แต่ละฟังเสียงส่วนใหญ่ว่าจะเห็นชอบยังไงบ้าง เพื่อแก้ไขร่างกฎหมายนี้ให้ถูกต้อง

สำหรับวาระที่ 3 จะเป็นการลงมติของผู้แทนราษฎรเพื่อรับรองร่างกฎหมาย ถ้าหากเสียงส่วนใหญ่มีการเห็นชอบกับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในการดำเนินต่อไปจะมีการส่งเรื่องไปที่วุฒิสภาเพื่อให้พิจารณาในกรณีนี้ต่อไปเป็นขั้นตอนการดำเนินงาน

ในขณะเดียวกันเสียงสะท้อนจากหลายๆฝ่าย ก็เกิดมีความเป็นกังวล ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลอาจจะไม่ได้ปล่อยให้มีการร่างกฎหมายนี้ขึ้น เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวถูกเสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน ส.ส.พักก้าวไกล เป็นไปได้สูงที่จะไม่ผ่านการพิจารณา และยิ่งในช่วงเวลานี้ใกล้กับวันเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้นความกังวลใจอีกอย่างคือจำนวนความเห็นชอบอาจจะน้อยกว่าเกณฑ์การพิจารณา แต่ถ้าหากว่าวาระการประชุมครั้งนี้การสมรสเท่าเทียมผ่านการพิจารณา ภายหลังจากนี้ไปอาจจะมีการต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อร่างกฎหมายนี้จะได้เป็นจริงตามที่หลายคนต้องการโดยเฉพาะกลุ่มเพศทางเลือก

อย่างไรก็ตามแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะมีการเปิดใจและมองเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับมุมมองที่มองมายังกลุ่มเพศทางเลือกหรือเพศที่ 3 เพราะว่าในทางกฎหมายก็ยังไม่มีการรับรองสิทธิหลายอย่าง หรือแม้รับรองแล้วก็ยังมีสิทธิ์น้อยกว่าประเทศอื่นที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศทั้งในสังคมและในทางกฎหมาย

จากข้อมูลประเทศในฝั่งเอเชียที่มีการรองรับคู่รักเพศที่ 3 โดยรับรองสิทธิทางด้านกฎหมายมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้น คือ “ไต้หวัน” ซึ่งได้มีการอนุญาตใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมในกลุ่มเพศทางเลือกภายในปี 2562