Tuesday, 26 November 2024

ย้อนกลับไปดู “คดีถุงลมมรณะ Takata” ที่เรียกรถคืนจากค่ายยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 100 ล้านคัน สุดท้ายบริษัทล้มละลาย

คดีถุงลมมรณะ Takata ย้อนรอยคดีดังประวัติศาสตร์แห่งวงการยานยนต์ที่ยืดเยื้อยาวนานหลังจาก ที่เรียกรถคืนจากค่ายยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 100 ล้านคัน สุดท้ายบริษัทล้มละลาย จากจะช่วยให้ชีวิตปลอดภัยกลับกลายเป็นว่าคร่าเอาชีวิตไปได้อย่างง่ายๆ

สล็อต xo Slotxo

คดีถุงลมมรณะ Takata ที่เรียกรถคืนจากค่ายยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 100 ล้านคัน สุดท้ายบริษัทล้มละลาย

คดีถุงลมมรณะ Takata-น่ากลัว

ทุกคนยังจำได้ไหมว่าประเทศไทยของเรานั้นเคยเรียกคืนรถยนต์มากกว่า 600,000 คัน เพื่อให้ลูกค้านำกลับเข้าไปเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่ก่อนนำออกมาใช้ สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนย้อนกับไปดูคดีดังในประวัติศาสตร์ที่เรียกได้ว่าฟ้องร้องกันมายาวนานและยืดเยื้อที่สุดสำหรับวงการยานยนตร์

เรียกรถคืนจากค่ายยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น 100 ล้านคัน

สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนหมุนกลับไปในปี 2013 ปีนี้เป็นปีที่เกิดเรื่องราวการเรียกเก็บรถยนต์จาก 4 บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นคืนอย่าง Toyota, Honda, Mazda และ Nissan การเรียกเก็บคืนในครั้งนี้นั้นมากกว่า 3.4 ล้านคัน และมีสาเหตุมาจากเรื่อง “ถุงลมนิรภัยบกพร่อง” เหมือนกันทั้งหมด หลังจากนั้นมาไม่นานทางบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นและยุโรป

คดีถุงลมมรณะ Takata-เรียกเก็บรถเปลี่ยนถุงลมใหม่

ได้ทำการเก็บเรียกคืนรถยนต์ที่จำหน่ายไปกลับมาอีกครั้งมากกว่า 100 ล้านคัน ในปี 2017 ซึ่งห่างจากปี 2013 เพียงแค่ 4 ปี ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้นนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่หดหู่มากในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยจำเลยที่ว่านั้นคือบริษัท Takata บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยจากญี่ปุ่นถุงลมนิรภัย

ไทม์ไลน์กรณีถุงลมนิรภัยของ Takata

ไทม์ไลน์กรณีถุงลมนิรภัยของ Takata

ปี 2008

ช่วงเดือนพฤศจิกายน Honda Motor ทำการประกาศให้ลูกค้าคืนรถ Honda Accord และ Honda Civic โฉมปี 2001 มากกว่า 4,000 คันทั่วทุกมุมโลกที่ขายออกไปแล้งงกลับคืนมา เพราะตรวจพบปัญหาถุงลมนิรภัยของ Takata มีแรงดันมากเกินกว่าเกณฑ์กำหนด และมันอาจทำให้ถุงลมแตกและมีชิ้นส่วนที่เป็นโลหะกระเด็นออกมาทำให้ผู้ใช้งานเกิดอันตรายได้

ปี 2009

ในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่มีการสูญเสียคนขับรถและผู้โดยสาร 2 คนที่สหรัฐ เหตุการณ์ที่ว่านั้นเกิดจากการระเบิดของถุงลมนิระภัยของ Takata  ภายในรถ Honda Accord โฉมปี 2001 ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุผู้โดยสารเสียชีวิตทั้งคู่ เพราะเศษโลหะที่กระเด็นออกมา

ปี 2011

Gurjit Rathore หรือทางบ้านของผู้ที่ประสบภัยและเกิดการสูญเสียในปี 2009 ทำได้การฟ้องร้องเรียกค่าสินไหม้จากทาง Honda และ Takata

  • เป็นจำนวนเงิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,200 ล้านบาทไทย)
  • เมื่อศาลตัดสินแล้วจึงมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหม้ให้บริษัท Honda และ Takata
  • จ่ายเงินสินไหมทั้งหมดให้ผู้เสียหายเป็นเงินประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 91 ล้านบาท)

Honda Motor เรียกคืนรถในแบรนด์ Honda และ Acura

  • ที่ผลิตในปี 2001-2003
  • จำนวนมากกว่า 896,000 คันคืนกลับมา
  • เพื่อกลับแก้ไขข้อบกพร่องถุงลมนิรภัยจาก Takata

ปี 2013

Toyota Motor, Honda, Nissan และ Mazda

  • เรียกคืนรถกว่า 4 ล้านคันทั่วโลก
  • ด้วยเหตุผล “ถุงลมนิรภัยของ Takata อาจมีข้อบกพร่อง”

BMW ร่วมประกาศเรียกรถคืน

  • เพื่อกลับมาตรวจสอบข้อบกพร่องของถุงลมนิรภัย

ในปีนั้นมีรายงานผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์

  • พบว่ามีอาการบาดเจ็บบนใบหน้า
  • เกิดจากชิ้นส่วนของถุงลมนิรภัย ในรถ Acura TL ปี 2002
  • ในปีนี้บริษัท Takata ขาดทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท

ปี 2014

Toyota เพิ่มจำนวนเรียกคืนรถยนต์จากทั่วโลก

  • จำนวน 27 ล้านคัน

Nissan, Honda และ Mazda เรียกคืนรถทั่วโลก

  • มากกว่า 95 ล้านคัน

BMW ประกาศเรียกคืนรถทั่วโลก

  • มากกว่า 6 ล้านคัน

มีผู้เสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยของ Takata และ Law Suk Leh อีกครั้งสรุปคือ

  • มีผู้บาดเจ็บจากกรณีถุงลมระเบิดมากกว่า 100 ราย
  • มีผู้เสียชีวิตจากกรณีถุงลมระเบิด 8 ราย

ปี 2015

  • มีผู้เสียชีวิตในปีนี้
  • Mitsubishi, Subaru, Fiat Chrysler และ Ford เรียกรถทุกคันคืนทั่วโลก
  • Takata ถูก NHTSA ถูกเรียกค่าวินไหมทางแพ่งสูงถึง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ประมาณ 6,800 ล้านบาท)
  • จ่ายเป็นเงินสด 70 ล้านดอลลาร์สหัฐ
  • ประมาณ 2,100 ล้านบาท

ปี 2016

รถ Honda Accord ระหว่างปี 2001-2003

  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุถุงลมระเบิด
  • ขอให้ทุกคนที่ซื้อรถไปหยุดใช้งานรถ
  • ให้รอจนกว่าจะเข้ารับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่อีกครั้ง

Takata ถูกบังคับให้เรียกคืนรถที่ขายไปแล้วมากกว่า 90 ล้านคันในสหรัฐฯกลับคืน

ปี 2017 

มีบริษัทรถรถมากกว่า 13 บริษัทที่ได้รับความเสียหายจากถุงลมนิรภัย Takata

อดีตผู้บริหารของ Takata 3 คน

  • ถูกตัดสินว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และต้องชดใช้ค่าเสียหาย
  • ศาลสั่งให้ Takata จ่ายเงินชดเชยสูง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สุดท้าย Takata ยื่นขอล้มละลายต่อศาล
  • ตลาดหลักทรัพย์กรุงโตเกียวระงับการซื้อขายหุ้นของ Takata
  • สุดท้ายได้ทำการถอดออกจากบัญชีรายชื่อบริษัทที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์