Friday, 22 November 2024

ไขปริศนา!! ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก ถึงเขียนแบบนี้ทั้งที่มันไม่ได้นำจำนวนมุมเลย Hindu-Arabic numerals

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก ถึงเขียนแบบนี้ทั้งที่มันไม่ได้นำจำนวนมุมเลย เรื่องหัวจะปวดของแวดวงคณิตศาสตร์ที่อ้างผิดๆว่ารูปทรงของเลขอารบิกคิดมาจากจำนวนมุม ซึ่งมันไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดที่ออกมายืนยันได้ว่าสิ่งที่กล่าวอ้างมานั้นเป็นความจริง เชื่อว่ามีหลายๆคนที่ตั้งคำถามหลังจากเจอคนเปิดประเด็น 55 เอาละถ้าทุกคนอยากรู้ว่ามันทำไมเขียนมาแบบนี้เดี่ยวตามมาดูพร้อมกันเลยที่ด้านนล่างนี้

สล็อต xo Slotxo

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก ถึงเขียนแบบนี้ทั้งที่มันไม่ได้นำจำนวนมุมเลย

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก-ถึงเขียนแบบนี้

ทุกคนเคยมีความคิดงงและฉงนกันไหมว่ารูปร่างรูปทรงของเลขฮินดูอารบิกทั้งสิบตัวที่เรารู้จักและใช้มันเป็นประจำในทุกวันนั้นมาจากไหน เชื่อว่าต้องมีคนคิดบ้างและถ้าหากมีคนเปิดประเด็ดนั้นนะ และความสงสัยที่เราว่ามาเมื่อครู่นั้นคือเรื่องหัวจะปวดของแวดวงคณิตศาสตร์โลกไม่น้อย เพราะมีคนกล่าวอ้างลอย ๆ แบบไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนนบอกว่าเลขฮินดูอารบิกคิดมาจากจำนวนมุม ทั้งๆที่ตัวเลขมันไม่มีมุมไหนให้คิดเลยเฮ้ยย!! แถมว่าข้อทางอินเทอร์ก็ไม่สามารถบอกความจริงให้เราทรายได้อีกแล้ว

ชาวอินเดียเป็นคนต้นคิด??!!

ชาวอินเดียเป็นคนต้นคิด??!!

ต้องขอบอกก่อนเลยนะว่าอารยธรรมโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นต้องประดิษฐ์ตัวเลขหรือสัญลักษณ์อะไรสักอย่างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นตัวนนับจำนวนตัวเองทั้ง

  • เมโสโปเตเมีย
  • ไอยคุปต์
  • อียิปต์
  • กรีก
  • โรมัน
  • จีน

แต่ถ้าถามถึงตัวการสำคัญที่ทำให้ตัวเลขฮินดูอารบิก (Hindu-Arabic numerals) แพร่กระจายออกไปให้คนทั่วโลกรู้จัก จนมันกลายเป็นระบบสากลที่คนทั่วโลกนั้นนำไปใช้ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันนั้นก็คือ ชาวยุโรป แต่ถ้าถามว่าชาวยุโรปคือคนที่คิดค้นตัวเลขสากลนี้ขึ้นมาใช่ไหม ตอบเลยว่าไม่ใช่!! แต่ใช้วิธียืมและก็อปปี้ระบบตัวเลขพวกนี้มาจากวัฮินดูและอาหรับอีกทอดหนึ่ง จุดที่สังเกตง่ายๆนั้นก็คือชื่อซึ่งชื่อนั้นมันจะเรียงระบบเลขชุดนี้ว่า ฮินดู และ อารบิก

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ยังหาข้อสรุปที่แท้จริงให้เราทราบสายปลายเหตุของตัวเลขฮินดูอารบิกแท้จริงแล้วมันมาจากไหน แต่ถ้าว่ามันยังมีหลักฐานบางอย่างที่อ้างอิงมาจากหลักฐานเก่าแก่ที่เคยถูกค้นพบเมื่อในอดีต และหลักฐานที่ว่านั้นก็คือ Bakhshali manuscript หรือที่เรารู้จักกันดีในเชื่อแผ่นเปลือกไม้ที่จารึกอักขระอินเดียโบราณ บอกเลยว่าหลักฐานชิ้นนนี้นั้นพอจะช่วยให้ใจชื้นว่าอาจพบความจริงขึ้นมาได้หน่อย และนี้ถือว่าเป็นหลักฐานที่อาจจะใกล้เคียง ความจริงมากที่สุดว่า ระบบตัวเลขฮินดูอารบิกนั้นสันนิษฐานว่าถือเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก่อนที่มันจะถูกส่งต่อไปยังประเทศฝั่งตะวันออกกลาง เวลาที่ส่งออกไปนั้นตาดว่าอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในตอนนั้นนักประวัติศาสตร์ได้ทำการตั้งชื่อเรียกชุดตัวเลขที่ปรากฏในตอนนั้นร่วมกับตัวอักษรในจารึกว่า Brahmi

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก-ชาวมัวร์คือสะพานส่งผ่าน

ชาวมัวร์คือสะพานส่งผ่าน

ต่อมาไม่นานชาวมัวร์ได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับระบบเลขนี้ตามาติดตัวมาด้วย ส่วนชื่อของตัวเลขที่ชาวมัวร์เรียกขึ้นมาเองนั้นก็คือ Gobar คำนี้มีความหมายว่าฝุ่น ซึ่งมันอาจมาจากวิธีการเขียนตัวเลขที่พวกเขาทำขึ้นมา วิธีการเขียนของเขานั้นคือการนำเอาฝุ่นขาวโรยลงบนแผ่นกระดานสีดำ และนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของตัวเลขเกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตก แต่ถ้าว่าชาวยุโรปก็ไม่ได้เข้าใจกับตัวเลขที่ชาวมัวร์ทำขึ้นในทันทีทันใดแถมว่ายังใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องตัวเลขนี้ ส่วนความสนใจในตัวเลขนี้เกิดขึ้นความอยากรู้เรื่องวิทยาการและศาสตร์ใหม่ๆ แต่ที่แน่นๆความรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่มาจากวัฒนธรรมอาหรับนั้นคือสิ่งที่พวกเขาสนใจมากเป็นพิเศษ เหตุผลที่ชาวยุโรปเริ่มเรียนรู้ระบบเลขจากชาวอาหรับนั้นคือ ชาวอาหรับคือผู้คนที่มีความรู้ และยังฉลาดมากไปด้วยปัญญา บรรดาความรู้ของพวกเขานั้นมีไม่จำกัดมีทั้งในรูปแบบหนังสือ เอกสาร และบันทึกภาษาอาหรับ และนี้คือจุดเริ่มต้นในการให้ความสนใจ

หลักฐานเก่าแก่ที่ทางประวัติศาสตร์ในฝั่งโลกตะวันตกที่ขึ้นชื่อว่ามีอายุเก่าแก่เทียบเคียงกันกับสารานุกรมและพงศาวดารประเทศไทยเรานั้เล่มแรกนั้นก็คือ Codex Vigilanus หรือ ตัวเลขฮินดูอารบิกกลับหัว ซึ่งมันเขียนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ รู้เพียงว่าคริสต์ศตวรรษที่ 10 คือเวลาสิ้นสุดการเขียน ผู้ที่เขียนนั้นคาดว่าน่าจะเป็นนักบวชศาสนาคริสต์ทางตอนเหนือของสเปน และหนังสือเล่มนี้นั้นเขียนเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 881 ถึงปี 976 ผู้เขียนนั้นมีร่วมกันทั้งหมด 3 คน

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก-ชาวยุโรปผู้สร้างมาตรฐาน

ชาวยุโรปผู้สร้างมาตรฐาน

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าตัวเลขฮินดูอารบิก กลายมาเป็นที่รู้จักและถูกนำมาใช้ทั่วโลกนั้นเป็นเพราะชาวยุโรป ที่ทำการแพร่กระจายความรู้ผ่านการขยายอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มียุโรปใหกลายเป็นศูนย์กลาง แต่ถ้าว่าชาวยุโรปเองก็มีความคล้ายกับชาวอาหรับตรงหนึ่ง และตรงที่ว่านั้นก็คือความคิดดัดแปลงปรับปรุงระบบเลขเสียใหม่ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับธรรมชาติของการเขียนในภาษาถิ่นของตน ถึงแม้จะมีความคล้ายกันในบางอย่าง แต่แบบแผนตัวเลขนั้นก็ไม่เหมือนกัน เพราะลักษณะเส้นของแต่ละตัวเลขนั้นค่อนข้างม่ความแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับลายมือผู้เขียนและถิ่นที่อยู่อาศัย

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก-สากลต้องใช้

Leonardo Fibonacci ตีพิมพ์หนังสือ Liber Abaci หรือจะเรียกมันว่า Book of the Abacus หรือ Book of Calculation ในปี 1202 เป็นครั้งแรกในยุโรป เนื้อหาของหนังสือที่เขาเขียนนั้นอธิบายการแก้โจทย์ปัญหาการคำนวณด้วยตัวเลขฮินดูอารบิก และผลลัพธ์ที่ออกมาในตอนนั้นดีมาก และนี้คือต้นแบบหนังสือในแบบฉบับของฟีโบนัชชี ในช่วงศตวรรษที่ 12-13 ถือว่าเป็นช่วงแรกที่ตัวเลข Hindu-Arabic numerals ฮินดูอารบิกเริ่มมีบทบาทและมีตัวตน ในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ช่วงนี้คือช่วงที่เริ่มนิยมใช้กันอย่างมากมายไม่ว่าใครก็รู้จัก ซึ่งมันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตามแผ่นป้ายโฆษณา และร้านค้าต่างๆใจกลางเมือง

ทำไมตัวเลขฮินดูอารบิก-Book of the Abacus

ต่อมาไม่นานนักคณิตศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษาที่มาของตัวเลขฮินดูอารบิก ที่ผู้คนนิยมใช้กันในยุโรป โดยวิธีการนำมาเปรียบเทียบลักษณะการเขียนตามรูปแบบต่างๆ ซึ่งเขานั้นได้ทพการเขียนเอาไว้ในหนังสือ Histoire de la Mathematique  หรือที่รู้จักกันในชื่อหนังประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์ หนังสือเล่มนี้นั้นถูกส่งตีพิมพ์ครั้งแรกปี 1757 และนี้คือสิ่งที่ทำให้รู้ว่าทำไมผู้คนถึงนิยมใช้ชุดตัวเลขฮินดูอารบิกที่มากที่สุดนั้นมาจากไหนและมีรูปแบบอย่างไร

Book of Calculation

ซึ่งมันกลับกลายมาเป็นรูปแบบมาตรฐานตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาเจนถึงปัจจุบัน และนี้คือชุดตัวเลขที่เรียกว่า Les Chiffres Modernes หรือ Chiffres Arabes ส่วนหนึ่งที่ออกมารูปแบบนี้อาจเป็นเพราะอิทธิพลจากอุตสาหกรรมการพิมพ์ที่มักจะใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกชุดนี้ก็เป็นได้