ประวัติศาสตร์ รู้หรือไม่ว่า! รองเท้าแก้วซินเดอเรลลา นักวิชาการชี้!! ไม่ใช่เรื่องเทพนิยายรัก “Romanticism” อย่างที่คิด แต่อาจเป็นสัญลักษณ์สร้างขึ้นมาเพื่อ “แซะ” กษัตริย์ และผู้เชี่ยวชาญนั้นยังบอกอีกว่าเทพนิยายรักเรื่อง ซินเดอเรลลา นั้นยังจิกกัดราชวงศ์ได้อย่างเจ็บแสบมากที่สุด ว่าแต่จะเป็นเพราะอะไรนั้นเดี่ยวตามไปดูพร้อมกันได้เลยที่ด้านล่างนี้
รองเท้าแก้วซินเดอเรลลา นักวิชาการชี้!! อาจไม่ “โรแมนติก” อย่างที่คิด
รู้หรือไม่ว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ได้มีการไปเช็คความคลั่งไคร่ของเด็กๆจากทุกประเทศว่า “เทพนิยาย” เรื่องไหนคือเรื่องที่พวกเขานั้นชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งผลสำรวจในครั้งดังกล่าวที่ออกมานั้นได้แก่เรื่อง ซินเดอเรลลา ที่คว้าอันดับ 1 ไปครอบครอง และถึงแม้ว่าจะมีเทพนิยมมากมายหลายร้อยเรื่องแต่ทุกๆคนนั้นก็ยังคงชื่นชอบ ซินเดอเรลลา นี่อยู่
เพราะเรื่องราวของเจ้าชายและเจ้าหญิงและเรื่องของ รองเท้าแก้ว นนั้นยังคงตรายตรึงในหัวใจของเด็กๆทุกคนอยู่ แน่นอนว่าจากความเข้าใจที่เรากล่าวมานั้นทำให้ รองเท้าแก้ว กลายเป็นสัญลักษณ์ความโรแมนติกที่ แต่เมื่อไม่นานนี้เอง ได้มีการนำเสนอมุมมองใหม่ที่อาจทำให้เราเปลี่ยนความคิดที่มีต่อ เทพนิยายซินเดอเรลลา ไปตลอดกาล
เพราะมีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาอธิบายถึงเหตุผลให้เราเข้าใจในอีกหนึ่งมุมว่า รองเท้าแก้ว ที่เราเข้าใจว่าเป็นสัญลักษณ์สื่อรัก แท้ที่จริงแล้วมันอาจไม่ได้มีความหมานเป็นอย่างนั้นหมดเยทีเดียว โดยเรื่องนี้ เจเนวีฟ วาร์วิค (Genevieve Warwick) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ แห่ง The University of Edinburgh
ผู้เขียนหนังสือ Cinderella’s Glass Slipper: Towards a Cultural History of Renaissance Materialities นั่นเอง ที่ได้ออกมาตั้งข้อสันนิฐานว่า ถ้ามองตามความต้องการตั้งแต่แรกเริ่มของคนที่เขียนที่เป็นต้นฉบับ รองเท้าแก้วที่ว่าอาจมาจากแรงบันดาลใจในการ “แซะราชวงศ์” เสียมากกว่า
รองเท้าแก้ว ในเทพนิยาย Cinderella คือเรื่องขายขำที่เหน็บแหนมได้อย่างเจ็บปวดมาก Genevieve เล่าว่าเป็นเพราะถ้ามองเอาเรื่องความคิดของคนที่เขียนนิยายเรื่องนี้ขึ้นมาอย่าง ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ (Charles Perrault) เขาคือเลขานุการของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กษัตริย์ผู้ชอบแฟชั่นหรูหราอู้ฟู่
และในช่วงนั้นเป็นช่วงที่กระจกและแก้วมีราคาที่แพงแสนแพงแต่ฝรั่งเศสก็ยังต้องนำเข้าแก้วจากเวนิส เพื่อเอามาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทำให้ในเวลาต่อมา Perrault จึงได้รับสั่งการให้สร้างโรงงานผลิตแก้วขึ้นเองในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทราย ขี้เถ้า หรือฟืนไม้ เป็นหน้าที่ของ Perrault ที่ต้องจัดหาให้กับโรงงาน
เพื่อสร้างแก้วให้เกิดขึ้นตามใจกษัตริย์ทั้งๆที่มันเป็นสินค้าฟุ่สิ้นเปลือง ดังนั้นถ้าคิดในมุมของเขา ก็มีความเป็นไปได้ว่า Perrault เขียนเรื่องราวของ รองเท้าแก้ว ขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความสัมพันธ์กันระหว่างกษัตริย์ แก้ว และความฟุ่มเฟือย เพราะรองเท้านี้ใส่เดินไม่ได้จริงด้วยซ้ำ
และถึงแม้ว่าเรื่องนี้มั้นยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าลองมองผ่านมุมของประวัติศาสตร์ตามที่ Genevieve Warwick บอกรวมถึงถ้าได้ลองอ่านหนังสือของเธอแบบฉบับเต็มหลายเสียงเลยที่บอกว่าไอเดียของ Genevieve Warwick ก็ดูมีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อยเลย
Charles Perrault อาจจะปกปิดความขมขื่นด้วยความหวานของเทพนิยายก็เป็นได้ ความต้องการของการ “แซะ” อาจมากกว่าการ “ชื่นชม” ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์อย่างดีว่าเรื่องราวที่เล่าขานมานานอาจไม่ได้มีความหมายตรงตามที่เราเข้าใจมาตลอดแต่เพราะเหตุนั้นเอง มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจบริบทเมื่อครั้งอดีต
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์