Monday, 20 May 2024

อวสาน “ตู้เย็น” ธรรมชาติของชนพื้นเมือง Alaska เพราะปัญหาการ “เปลี่ยนแปลง” สภาพภูมิอากาศ ที่พวกเขาไม่ได้ทำ

อวสานตู้เย็นธรรมชาติ ในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาชาวอะแลสกา (Alaska ) ที่กำลังจะหายไปเพราะปัญหาการ “เปลี่ยนแปลง” สภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกว่าสภาวะ “โลกร้อน” ที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนทำแต่ก็ต้องได้รับผลกระทบก่อนใคร และคาดว่าอีกไม่นานคงจะเหลือเพียงเรื่องเล่าให้คนรุ่นหลังฟังแล้ว

สล็อต xo Slotxo

อวสานตู้เย็นธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาว “อะแลสกา” ที่กำลังจะหายไป เพราะภาวะ “โลกร้อน” และน้ำแข็งที่กำลังละลาย

อวสานตู้เย็นธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาว “อะแลสกา”

ในสมัยโบราณชนพื้นเมืองแถบ Alaska มีวิธีการเก็บรักษาอาหาร โดยอาศัยสภาพภูมิอากาศที่พวกเขานั้นอยู่อาศัยให้เป็นประโยชน์ ด้วยการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินและนำเนื้อวาฬที่พวกเขาหาได้ไปหั่นเก็บรักษาเอาไว้ในห้องเย็นที่พวกเขานั้นขุดเจาะเอาไว้ อุณหภูมิใต้พื้นผิวดินที่นั้นต้องบอกเลยว่ามันเย็นสุดขั้วหัวใจของคนที่เคยลงไปสัมผัส เย็นนจนมันสามารถสร้างขึ้นเป็นกำแพงน้ำแข็งจนกลายเป็นผนังน้ำเเข็งเอาไว้ และความเย็นนั้นก็จะช่วยรักษาเนื้อวาฬแหล่งอาหารหลักของชนพื้นเมือง Alaska ได้นานหลายอาทิตย์ ไม่ต่างอะไรกับตู้เย็นสมัยใหม่ที่เรามีกันแทบทุกบ้าน แต่ถ้าว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังส่งผลให้โลกของเรานั้นร้อนขึ้นเรื่อยๆ ได้ค่อยๆ ทำลายสิถีชีวิตของคนสมัยโบราณจนแทบจะใช้การไม่ได้แล้ว และสันนิฐานว่าอีกไม่นานคงจะเหลือเพียงเรื่องเล่าจากปากต่อปากปละบนอินเตอร์เน็ตบางบทความเท่านั้น

ตู้เย็นแบบ Alaska

การเก็บรักษาอาหารของชาว Alaska หรือที่เราจะเรียกกันง่ายๆ ว่า “ตู้เย็นธรรมชาติ” ของพวกเขานั้นมีชื่อประจำพื้นที่ว่า  “siġluaqs” ที่ชาวบ้านส่วนมากนั้นสร้างขึ้นมาเอาไว้ดูแลรักษาเนื้อ “วาฬ” ที่พวกเขานั้นล่าได้ โดยชาว Alaska จะออกล่าวาฬกันเป็นกลุ่มและจะนำเนื้อที่ไปหามาได้มาแบ่งกันรับประทาน บางครั้งพวกเขานั้นก็ทำอาหารมากแจกจ่ายแบ่งกันรับประทาน ในหมู่บ้านตามช่วงเทศกาลงานมงงคลต่างๆ ส่วนที่เหลือที่ยังมีจำนวนมหาศาลที่เหลือเยอะๆ ก็ต้องเอาไปเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมชาติที่เราเกริ่นมาเมื่อตอนต้น และถ้าจะบอกว่าให้เอามาแช่ในตู้เย็นเหมือนของบ้านเราบอกเลยไม่มีทางพอ

ภาวะ “โลกร้อน” และน้ำแข็งที่กำลังละลายทำให้ตู้เย็นธรรมชาติหายไป

ตู้เย็นของชาว Alaska จะทำการสร้างโดยการจุดเจาะลงไปในพื้นดินที่ลึกมากๆ ขนาดประมาณ 10-20 ฟุต ก่อนจะทำการตั้งเสาค้ำและคานแบบไม่ลึกลับซับซ้อน และทำประตูปิดทางเข้า จากนั้นพวกเขาก็ปล่อยให้อุณหภูมิอยู่ที่เย็นมากๆของภูมิภาคช่วยสร้างน้ำแข็งขึ้นมาห่อหุ้มผลัง เพียงเท่านี้ก็สามารถเก็บเนื้อวาฬไว้ได้นานเป็นเดือนๆ โดยปกติทั่วไปชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าตู้เย็นธรรมชาติพวกเขานั้นจะมีออุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ -12 องศา ซึ่งอุณหภูมิที่ว่านั้นจะอยู่เท่าเดิมตลอดทั้งปีไม่มีเพิ่มลด แต่ถ้าว่าในช่วงไม่กี่ปีหลังที่ผ่านมานี้ สภาพอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น เลยส่งผลให้อุณหภูมิใต้ดินสูงขึ้นตามบนโลก มันเลยทำให้น้ำแข็งที่ทำหน้าหน้าที่เป็นตู้เย็นก็ละลายกลายเป็นน้ำ จนไม่สามารถเก็บอาหารให้คนในพื้นที่ได้อีกแล้ว

ภูมิปัญญาชาว “อะแลสกา” ที่กำลังจะหายไป เพราะภาวะ “โลกร้อน”

ความลำบากที่ต้องเผชิญ

เมื่อปี 2014 ที่ชุมชนเล็กๆ ติดชายฝั่งทะเล “Wainwright” มีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีการปล่อยตู้เย็นธรรมชาติเป็นห้องร้างมากกว่า 19 ห้อง จากที่เคยใช้งาน 34 ห้อง เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นไม่พอ และมีโอกาสว่าจะต้องปิดห้องอื่นๆ อีกด้วยนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป แม้กระทั้งในเมือง Barrow เมืองที่ตั้งอยู่เหนือสุดของสหรัฐอเมริกา North America เป็นเมืองที่ทุกคนนั้นทราบกันดีว่ามันอยู่เหนือสุดของโลก เป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุด ไม่มีวันไหนที่อากาศจะไม่เย็น แต่ถ้าว่าในตอนนี้มันกลับอาจจะไม่รอดพบเจอกับอากาศร้อนๆเช่นกัน นอกจากนี้ยังแหมือนว่าตู้เย็นของชาวบ้านบางพื้นที่ยังสร้างใกล้กับทะเล (ที่แบ่งเนื้อแล้วเก็บทันที) ก็กำลังพบเจอกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำที่กัดเซาะเข้ามาใกล้ที่พื้นที่ที่พวกเขานั้นเอาไว้เก็บรักษาอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วในตอนนี้

จากปัญหาที่พวกเขานั้นพบเจอได้มีชาวบ้านคนนั้นพูดออกมาเชิงเป็นมุกว่า เห็นทีวว่าพวกเขานั้นคงจะต้องไปซื้อตู้เย็นเอามาไว้เก็บอาหารแล้วละสักเครื่อง ส่วนชาวบ้านบางคนนั้นก็ปรับเปลี่ยนวิธีการเจาะการขุดห้องเย็นให้เป็นอุโมงค์ใหม่ที่ลึกมากกว่าเดิมและพวกเขานั้นยังคอยตรวจตราการละลายของน้ำแข็งให้บ่อยยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลกยังส่งผลต่อพื้นที่การหาอาหารประเภทต่างๆ เช่น ผลเบอร์รี่ในฤดูร้อนมีจำนวนไม่มาก รวมถึงการอพยพย้ายที่อยู่ของพวกกวาง Caribou และการลดปริมาณลงของ Salmon และวาฬ ที่ทำให้ล่ายากขึ้น เป็นคราวเคราะห์ซ้ำหนักขึ้นไปอีก

อวสานตู้เย็นธรรมชาติ-ของชนพื้นเมือง Alaska

ผลกระทบของชาวอะแลสกา

การสูญเสียตู้เย็นธรรมชาติ ยังสะท้อนให้พวกเรานั้นมองเห็นถึง “ความเหลื่อมล้ำ” ของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ เพราะ Artifact อาทิ ตู้เย็นในสมัยแรกๆ ที่มีสาร Chlorofluorocarbonในการสร้างความเย็น และเป็นหนึ่งในตัวการสร้าง greenhouse gas อีกทั้งยังใช้พลังงานที่มากกว่า แตกต่างกับตู้เย็นธรรมชาติแบบ Alaska ที่ไม่ได้ปล่อยมลพิษออกกมาเลยสักชนิด แต่กลับเป็นชาว Alaska ที่ต้องรับเคราะห์และผลกระทบที่พวกเขานั้นไม่ได้เป็นคนสร้าง

อวสานตู้เย็นธรรมชาติ ในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาชาวอะแลสกา

เรื่องราวดังกล่าวที่เราเกริ่นมาเมื่อตอนต้นไม่ได้มีความแตกต่างอะไรเลยกับประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่ หรือหมู่เกาะเล็กๆ ที่ปล่อยcarbon dioxide น้อย แต่กลับเป็นประเทศและพื้นที่แรกๆ ที่ต้องเผชิญความเสี่ยงเพราะโลกร้อนทุกพื้นที่ที่ปล่อย carbon dioxide ออกมาเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ Bhutan ที่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้สำเร็จว่าจะลดการปล่อย carbon dioxide ให้เป็นศูนย์แล้ว แต่ก็ยังไม่วายเสี่ยงจะโดน “สึนามิ” จากฟ้าที่ถล่มลงมา เพราะน้ำแข็งบนเทือกเขา Himalayas กำลังละลายลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก greenhouse gas ที่ประเทศอื่นได้ก่อไว้มากมาย