Saturday, 23 November 2024

แนะนำให้รู้จัก Kukur Tihar เทศกาล “สุนัขบูชา” พิธีที่จัดขึ้นทุกปีในวันหนึ่งช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

แนะนำให้รู้จัก Kukur Tihar เทศกาล สุนัขบูชา แห่งนครเนปาล วันที่มนุษย์นั้นจะเคารพบูชาน้องหมาเหมือนกันกับ “เทพเจ้า”เพราะเชื่อกันว่าสุนัขคือ สัตว์น่ารักผู้ที่คอยส่งสารของพระยม Kukur Tihar มันคือพิธีที่จัดขึ้นทุกปีในวันหนึ่งช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

สล็อต xo Slotxo

เทศกาล สุนัขบูชา แห่งเนปาล วันที่คนจะเคารพบูชาน้องหมาเหมือนกันกับ “เทพเจ้า” เพราะเชื่อกันว่าสุนัขคือ สัตว์ส่งสารของพระยายม

เทศกาล สุนัขบูชา แห่งเนปาล

วันเวลาผ่านมานานมากกว่า 20,000 ปี นั้นคือเครื่องหมายที่บอกว่ามนุษย์และหมานั้นคือเพื่อนสนิทต่างสายพันธ์ที่อยู่ด้วยกันมานานแสนนาน และสำหรับในวันนี้เราจะมาพูดถึงเทศกาลหรือพิธีที่เชิดชู “สุนัข” ที่หลายๆคนนั้นรู้จักมันด้วยชื่อเทศกาล Kukur Tihar ที่หมายความว่า “เทศกาลบูชาสุนัข” ที่จะต้องจัดขึ้นทุกปีไม่วันใดก็วัยหนึ่งช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤษจิกายน ส่วนคำถามที่หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องบูชาสุนัข นั้นคำตอบง่ายๆมันอยู่ตรงนี้อยู่ตรงที่ว่าในมุมมองของศาสนาฮินดูบอกว่าสุนัขเปรียบเสมียนสัตว์ส่งสารของพระยายม (Yama) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อของ “พยามัจจุราช” หรือเจ้าแห่งนรก

วันที่คนจะเคารพบูชาน้องหมาเหมือนกันกับ “เทพเจ้า”

ความเชื่อดังกล่าวนั้นบอกเอาไว้ว่าที่ประตูนรกนั้นจะสุนัขจำนวน 2 ตัว เฝ้าคอยดูอยู่โดยสุนัข 2 ตัวนี้นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ดูแลส่วนชื่อของมันนั้นตัวหนึ่งชื่อว่า “ชยามา” ส่วนอีกตัวนั้นมีชื่อว่า “ชาวารา” มันสองตัวนั้นเฝ้าอยู่ประจำนรก ซึ่งถ้าเราทำดีกับหมา ถ้าเราตกนรก หมาจะคอยช่วยปกป้องเราไม่ให้ถูกทรมานในนรกได้ ความเชื่อดังกล่าวนั้นส่งผลให้ชาวเนปาลฮินดูโบราณประมาณ 81 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรเชื่อกันเป็นอย่างยิ่งว่ามันคือตำนานและคือเรื่องจริงที่เขานั้นจะได้พบเจอเมื่อหมดลมหายใจไปแล้ว และในทุกๆปีก็จะมีการจัดเทศกาลสุนัขบูชาขึ้นซึ่งในเทศกาลนี้ สุนัขทั้งบ้านเมืองไม่ว่าจะหมาที่เป็นสัตว์เลี้ยงหรือหมาข้างถนนก็จะถูกแต้มจุดแดงที่หน้าผาก

ชาวเนปาลเชื่อกันว่าสุนัขคือ สัตว์ส่งสารของพระยายม

และมนุษย์นั้นก็จะคล้องพวงมาลัยที่ทำมาจากดอกไม้ใส่คอให้สุนัขทุกตัว และก็จะให้อาหารดีมากมายๆที่มีประโยชน์ อย่างเช่น เนื้อ ไข่ นม ไปจนถึงอาหารสุนัขเกรดดีๆรสชาติชั้นยอด โดยวันนี้เป็นวันของสุนัขแท้ๆ เพราะคนเชื่อว่ามันจะเป็นบาปมากๆ ถ้าเราปฏิบัติตัวไม่ดีกับสุนัขในวันนี้ และต้องขอบอกเลยนะว่าเทศกาลดังกล่าวที่เกิดขึ้นมาในทุกๆ ปีนั้นเป็นอะไรที่ดูแล้วมีความสุขและมันก็ถูกอกถูกใจคนรักสุนัขเป็นอย่างมาก

พิธีที่จัดขึ้นทุกปีในวันหนึ่งช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

เพราะในวันนี้จะไม่มีใครทำร้ายสุนัข และสุนัขทุกตัวนั้นก็จะได้กินอิ่มหน่ำสำราญชนิดที่ว่าเลือกกินอะไรก็ได้ ไม่แว้แม้แต่หมาจนหมาบ้านที่ไม่มีราคาก็ยังได้รับการบูชาจากมนุษย์ แน่นอนว่ามันเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ถูกนำมาเปรียบเทียบว่ามันคืออีกหนึ่งด้านของประเทศจีน โดยแต่ละคนนั้นบอกว่ามันคืออีกมุมที่ดีมากกว่าที่ทางมณฑลกวางสีที่ประเทศจีนนั้นจัดขึ้นเป็นประจำ ที่คนทั่วโลกนั้นไม่ต้องการอยากให้จัดมันขึ้นมา เทศกาลที่ว่านั้นก็คือ “เทศกาลเนื้อหมาและลิ้นจี่”

แนะนำให้รู้จัก Kukur Tihar เทศกาล “สุนัขบูชา”

สุดท้ายนี้แล้วถ้าเรานั้นมองผ่านเรื่องความน่ารักน่าเอ็นดูที่มนุษย์มีต่อสุนัขในวันนี้นั้นทางด้านนักกิจกรรมด้านสิทธิสัตว์ บอกเอาไว้ว่าความเป็นจริงแล้ สิทธิของสุนัขในเนปาลนั้นไม่ได้ดีและไม่ได้มีความสุขอย่างที่เราคิดอย่างมที่เราเห็น เพราะคนไม่ได้เลี้ยงสุนัขให้มีอิสระภาพให้ได้ออกมาเดินเล่นได้ทุกๆวันแบบชาวตะวันตก แถมว่าสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของนั้นก็ยังมีมากมาย และไปๆ มาๆ เทศกาลดังกล่าวที่เราเห็นมันว่าดีมันว่าน่ารักนั้นมันก็อาจจะเหมือนกับ “เทศกาลกินเจ” ในประเทศไทย ที่น่าจะเป็นช่วงเดียวที่คนทำบุญด้วยการละเว้นชีวิต โดยช่วงอื่นของปีก็กินเนื้อสัตว์กันแบบไม่บันยะบันยังกันตามปกติ

เทศกาล สุนัขบูชา- แห่่งความเชื่อ