สัตว์น่ารัก เมื่อแมวเกรี้ยวกราด ทาสจะดูยังไงถึงรู้ว่าน้องแมวเหมียวของเรานั้นกำลัง “หยอกเล่น” หรือน้องแมวเหมียวของเรานั้นกำลังเอาจริงเอาจังแบบ “สู้ตาย” บอกเลยทาสคนไหนที่สงสัยเรื่องนี้อยู่ต้องห้ามพลาด แวะเข้ามาดูคำตอบของคำถามนี้ก่อนเพราะเรานำมาให้ดูแล้วที่ด้านล่างนี้
เมื่อแมวเกรี้ยวกราด ทาสจะดูยังไงถึงรู้ว่าน้อง “หยอกเล่น” หรือน้องกำลัง “สู้ตาย”
ใครที่บ้านนั้นมีเจ้านายขนปุยหลายตัวที่เลี้ยงเอาไว้ด้วยกันนั้นน่าจะทราบ และน่าจะคุ้นเคยกับพฤติกรรมต่างๆของเจ้าเหมียว ที่มีทั้งตีกันและเล่นกันอย่างสนุกสนาน และทาสนั้นก็ต้องมีการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าน้องเหมียวแต่ละตัวให้ปรองดองกันมีความสำคัญมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เจ้าแมวเหมียวบางตัวเกิดไม่ถูกกันกับเพื่อนบ่อยมากขึ้น อาจนำไปสู่เหตุทะเลาะวิวาทซึ่งต่างฝ่ายใช้กำลังเข้าต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนบาดเจ็บสาหัส จนทาสนั้นต้องเสียเงินเสียทองไปกับการรักษา บอกเลยปัญหานี้กำลังจะหมดลงเพราะมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา
เพราะเมื่อล่าสุดทีมนักวิจัยด้านสัตวแพทยศาสตร์จาก University of Lincoln ร่วมกับUniverzita veterinárskeho lekárstva a farmácie v Košiciach ได้ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมของแมวที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กันโดยละเอียด เพื่อให้ทราบถึงแนวทางที่เจ้าของจะใช้สังเกตได้ว่า พวกมันกำลังหยอกล้อเล่นกันฉันมิตร หรือกำลังโกรธเกรี้ยวแบบเตรียมสู้กันให้ตายไปข้างหนึ่งกันแน่
ผลงานการวิจัยชิ้นนี้ถูกนำมาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ Scientific Reports ฉบับล่าสุด ที่เขียนเอาไว้ว่ามีการสังเกตพฤติกรรมแมวสองร้อยสิบตัว จากคลิปที่บันทึกไว้จำนวน 105 คลิป เพื่อมองหาความสัมพันธ์กันระหว่างพฤติกรรมที่แมวแต่ละตัวแสดงออกมา 6 แบบ กับลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างแมวด้วยกันที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
สำหรับพฤติกรรม 6 แบบที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกแยะรูปแบบของสานสัมพันธ์กะนระหว่างเจ้าเหมียวด้วยกัน มีดังต่อไปนี้
1.นิ่งเฉย (inactive)
- แมวอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งโดยไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
- เช่น ทำท่าขดตัว
2.เล่นมวยปล้ำ (wrestling)
- แมวสัมผัสกับแมวตัวอื่นโดยกอดปล้ำกันไปมา
3.วิ่งไล่กวด (chasing)
- แมวตัวหนึ่งวิ่งไล่ ในขณะที่อีกตัวหนึ่งวิ่งหนี
4.มีปฏิสัมพันธ์ในแบบอื่น ๆ (other interactive activities)
- เช่นการเลียขนให้
- เดินเข้าหา
- พองขนบนหลัง
5.ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ (non-interactive activities)
- เช่นเลียขนตัวเอง
- กินอาหาร
- ดื่มน้ำ
6.ส่งเสียงร้อง (vocalization)
- เช่นการทำเสียงขู่ฟ่อ
- ส่งเสียงแบบตวาดดังลั่น
- ร้องเหมียว ๆ ตามปกติ
ผลวิเคราะห์ทางการนับพบว่าเจ้าเหมียวที่ดูคล้ายกับว่ากำลังต่อสู้กันอยู่นั้น แท้จริงแล้วมีรูปแบบของสานสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ 3 ประเภท ซึ่งได้แก่การเล่นหยอกเย้าฉันมิตร (playful), การต่อสู้แบบเป็นปฏิปักษ์กัน (agonistic), และความสัมพันธ์แบบกึ่งเล่นกึ่งต่อสู้ (intermediate)
ก่อนจะเกิดสารสัมพันธ์แต่ละรูปแบบ จะมีการแสดงออกทางการกระทำของเจ้าเหมียวในบางเรื่องที่โดดเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งหากเจ้าเหมียวทั้งสองนั้นกำลังฟัดกำลังเล่นหยอกเย้าเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น ส่วนใหญ่พวกมันจะเล่นมวยปล้ำกันโดยแทบไม่มีการส่งเสียงใด ๆ ออกมาเลย
ต่างจากเจ้าเหมียวที่ทะเลาะกันเพราะไม่ถูกกันจริง ๆ ซึ่งจะมีการใช้เสียงดังที่ดังมากเป็นพิเศษ รวมทั้งมีการหระทำตัวให้หยุดนิ่งสลับกับวิ่งไล่กวด เกิดขึ้นซ้ำไปมาหลายครั้ง แมวบางคู่มีปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งเล่นกึ่งต่อสู้ เนื่องจากพวกมันอาจหงุดหงิดโมโหเพื่อนขึ้นมาได้ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นระหว่างการเล่นหยอกเย้านั่นเอง
โดยเจ้าเหมียวที่มีพฤติกรรมในกลุ่มนี้จะหยุดพักการเล่นเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์ ถ้าหากเจ้าเหมียวตัวหนึ่งเป็นฝั่งที่วิ่งไล่ต้อนอีกตัวเพียงตัวเดียวโดยตลอด นั่นคือพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นศรัตรู แต่ถ้าแมวสองตัวผลัดกันเป็นฝ่ายวิ่งไล่และวิ่งหนี นั่นหมายถึงว่าพวกมันแค่เล่นกันสนุก ๆ เท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วหากเกิดเรื่องทะเลาะกันระหว่างเจ้าเหมียวที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน ในระยะเริ่มต้นพวกมันจะไม่ทะเลาะกันแบบต้องสัมผัสตัวกันโดยตรง เช่นการยื่นอุ้งเท้าออกไปตบ แต่หากจะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นมาอย่างจริงจัง การส่งเสียงขู่คำรามจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์