ความรู้เรื่อง สุขภาพ วันนี้เราจะพามาดูยอดจำนวน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ในประเทศไทยซึ่งขณะนี้มีมากถึง 6 แสนราย ซึ่งโรคดังกล่าวนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อม และผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องมีการได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ
การดูแล ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โรคยอดฮิตในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากภาวะสมองเสื่อม ในท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ทั่วโลกนั้นมีจำนวนมาถึง 55 ล้านคน ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีจำนวน มีเฉลี่ยโดยประมาณ 4-6 แสนคนด้วยกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็คาดว่าว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และภายในปี 2573 คาดว่าจะมีผู้ป่วย 1.1 ล้านคน
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทในสมอง หรือ สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมอีกชนิดหนึ่งที่เราสามารถตรวจพบได้บ่อยที่สุด ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์จะทำให้สมองของผู้ป่วยมีการเสื่อมในทุกส่วน และมากไปกว่านั้นผู้ป่วยจะไม่มีความสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่สามารถแม้กระทั่งแยกผิดแยกถูก ทั้งยังจะมีปัญหาในเรื่องของการใช้ภาษาตามมาด้วย ในส่วนของการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆก็จะได้รับผลกระทบด้วย
ในระยะสุดท้ายของโรดอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความทรงจำทั้งหมด และขณะนี้ยังเกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต้องมีการดูแลที่ใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะส่วนใหญ่โรคนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ และเดิมทีผู้ผู้สูงอายุนั้นจะมีโรคประจำตัวที่รุมเร้าอยู่แล้ว และเรื่องอายุก็ยังส่งผลถึงข้อจำกัดทางด้านการสื่อสาร เมื่อเป้นโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ก็ยิ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจาการติดเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนคนปกติโดยทั่วไป และในส่วนสำคัญเมื่อเป้นโรคนี้แล้วยิ่งไม่สามารถสื่อสารได้ว่า ตนนั้นได้มีอาการป่วยในรูปแบบไหน ไม่สามารถบอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อร่างกายได้ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ลำบากและเกิดความล่าช้า จนส่งผลในขั้นต่อไปคืออาจจะทำการรักษาโรคได้ไม่ทันเวลา
ทั้งนี้ เมื่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เสี่ยงเป็น 2 เท่า ที่จะติดเชื้อโควิด-19 และเมื่อติดเชื้อก็มีความเสี่ยงต่อเนื่องคือ เสี่ยงเสียชีวิตมากกว่ารอด
รศ. นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย ได้ออกมาเปิดเผยถึงความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะติดเชื้อได้จากกรณีไหนบ้าง ทั้งนี้ได้บอกว่า คนไข้สมองเสื่อมจะมีความเสื่อมถอยของการรู้คิด ในเรื่องของความจำ และในเรื่องของการประเมินความเสี่ยง และขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ดังนั้น เมื่อมาอยู่ในท่ามกลางสถานการณ์โควิด จึงต้องมีนโยบายเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองได้อย่างไรบ้าง เพื่อที่ร่างกายจะไม่ได้รับเชื้อมาแต่เรื่องของ Physical distance ต้องมีการล้างมือบ่อยๆ และสวมใส่หน้ากากอนามัย
นอกจากคนไข้สมองเสื่อม ยังมีคนไข้ในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายรายที่ยังไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ได้ และความจำคนไข้ก็ไม่ดี แม้แต่ถ้าสวมหน้ากากไปแล้วก็จะจำไม่ได้ว่าสวมไปหรือยัง เพราะฉะนั้นคนไข้จึงมีความเสี่ยง และมีการระวังตัวน้อยลงจึงเปิดโอกาสให้เกิดติดเชื้อได้โยง่ายและมีมากขึ้น
โดยปกติที่ต้องดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ดีและในสถานการณ์โควิดเช่นนี้ยิ่งต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้เต็มร้อยเหมือนคนปกติทั่วไป จึงต้องพึ่งพาผู้ดูแล ดังนั้นผู้ดูแลต้องช่วยเหลือคนไข้ในหลายๆเรื่องที่คนไข้ยังมีความบกพร่อง ถ้าคนไข้มีอาการเสื่อมถอยในเรื่องของสมองจะต้องพึ่งผู้ดูแลเป็นส่วนใหญ่ และระยะสุดท้ายของโรคผู้ดูแลต้องให้การช่วยเหลือคนไข้เกือบ 100%
สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้มีคุรภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด สุดท้ายแล้วเราก็ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ต้องดูและตัวเอง ว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ปลอดภัยจากโรคโควิดได้ และต้องควรลดพาผู้ป่วยออกไปข้างนอกให้น้อยลง เพราะถ้าเมื่อออกไปข้างนอกคนไข้ต้องดูแลตัวเองให้ได้และถ้าเจอคนเยอะก็อาจจะพลาดได้ง่ายและติดเชื้อได้โดยง่าย พยายามให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบปะผู้คนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ก็ไม่ได้แปลว่าให้คนไข้ตัดขาดชีวิตทางสังคมออก แต่ต้องติดต่อสื่อสารกันในรูปแบบอื่นๆที่ปลอดภัยจากโรค เช่น การติดต่อกันผ่านโซเซียลมีเดีย โดยไม่ต้องเดินทางมาเยี่ยมคนไข้ ในขณะเดียวกันกิจกรรมที่เคยพาไปทำนอกบ้านก้อาจจะไปไม่ได้เหมือนเดิม ก็ให้หันมาทำกิจกรรมในบ้านมากขึ้น โดยกิจกรรมต่างๆต้องเน้นไปทางกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ เช่น จากเดิมให้ดูแค่ทีวีไม่ว่าจะละคร ข่าว สารคดี คนไข้จะเพลิดเพลินและมีอารมณ์ร่วมกับการดู แต่เวลาที่สมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น คนไข้ก็จะไม่สามารถติดตามเรื่องราวที่ดูมาได้ เรื่องที่เคยให้ดูก็อาจจะเกิดความยากต่อผู้ป่วย ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอให้เป้นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายขึ้น โดยเนื้อหาไม่ต้องใช้สมาธิในการติดตามมากนัก และเนื้อหาต้องไม่ไปกระตุ้นอารมณ์ในลักษณะที่ติดลบ และเรื่องของการออกกำลังกายก้เป้นเรื่องที่สำคัญ อาจจะต้องพาเดินเล่นในบ้านและระหว่างที่พาเดินอาจจะชวนคุยเรื่องต่างๆ วิธีการอย่างหนึ่งที่เวลาพุดกับคนไข้สมองเสื่อม พยายามพุดคุยในเนื้อหาเรื่องราวในอดีตของผู้ป่วยขึ้นเป็นประเด็นในการพุด และบางครั้งความจำใหม่ของผู้ป่วยอาจเสื่อมถอยไปแต่ความจำในเรื่องเก่าๆจะยังมีอยู่ บางครั้งเราก็ต้องหยิบยกเรื่องเก่าๆขึ้นมาพุดคุย คนไข้ที่ยังไม่มีปัญหาในเรื่องของภาษาในการสื่อสารมากนักก็จะสามารถพุดโต้ตอบได้
คนไข้ความจำเสื่อมที่ติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่ติดเชื้อที่ไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อม คิดเป็น 2 เท่า ดังนั้น คนไข้สมองเสื่อมเมื่อติดเชื้อจึงเสี่ยงเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยสำหรับคนไข้สมองเสื่อม เริ่มต้นที่คนไข้ผู้สูงอายุบางคนอาจจะมีอาการที่ไม่แสดงออกมาทาง อาการไข้ ไอ หรือ หอบ แต่เมื่อติดเชื้ออาจจะมาให้เรื่องของความสับสน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางการรับรู้ต่างๆ และมีความสับสนในเรื่องต่างมากเพิ่มขึ้นก่อนจะเกิดอาการของเรื่องไข้และอาการปอดอักเสบ และคนไข้กลุ่มนี้เมื่อมีอาการก็จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และเกิดภาวะล้มเหลวเกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆตามมาโดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ และคนไข้สมองเสื่อมส่วนใหญ่ก็จะมีโรคประจำตัวและมีโอกาสทำให้เกิดโรคเสื่อมถอยเร็วขึ้น
คนไข้อัลไซเมอร์จะมีความเสี่ยงในเรื่อง ความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน และบางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องปอดอยู่แล้ว และทั้งหมดนี้ก็ยิ่งส่งผลให้คนไข้ที่ติดเชื้อโควิดมีโอกาสเสียชีวิตสูง
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์