ข่าวเด่นออนไลน์วันนี้ อัพเดท ม.เยียวยาทั้งหมด ที่รัฐบาลมีการจัดสรรให้แก่ประชาชนในประเทศ หลังภาวะสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 หรือ ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบันนี้ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตก็พุ่งเพิ่มขึ้นไม่หยุด
ม.เยียวยาทั้งหมด เพื่อบรรเทาทุกข์ให้ประชาชนชาวไทย จากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
ม.เยียวยาทั้งหมด จากงบประมาณทั้ง 4.2 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ทั้งจากมาตรการควบคุมและล็อกดาวน์ที่ประชาชนไม่สามารถทำมาหากินได้ปกติ
ในส่วนของงบประมาณ 4.2 หมื่นล้าน ใช้เพื่อเป็นเยียวยาให้ประชาชนทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการผ่านระบบ Video Conference ประชุมมติการเยียวยาเพิ่มอนุมัติการลด “”ค่าน้ำค่าไฟ” ให้ประชาชนทั่วประเทศ
รวม ม.เยียวยาทั้งหมด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม (กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการจะมีการเร่งช่วยเหลือและเยียวยา)
1.กรุงเทพมหานคร 2.นครปฐม
3.นนทบุรี 4.ปทุมธานี
5.สมุทรปราการ 6.สมุทรสาคร
7.นราธิวาส 8.ปัตตานี
9.ยะลา 10.สงขลา
กลุ่มอาชีพได้รับการเยียวยา จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มในหมวด 9 กิจการ
-ก่อสร้าง
-ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
-ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
-กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
-ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
-ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
-กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุ
-กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
-ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม 5 กิจการของถุงเงิน
-ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
-ร้าน OTOP
-ร้านค้าทั่วไป
-ร้านค้าบริการ
-กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
มาตรการแจกเงินเยียวยา 3 หมื่นล้าน
รูปแบบที่ให้การช่วยเหลือคือ กลุ่มแรงงานในระบบและนอกระบบ เป็นสัญชาติไทย งบประมาณ 30,000 ล้านบาท มาจากแหล่งเงินเพื่อดำเนินมาตรการจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อใช้ในแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากเหตุการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 มีวงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท
ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33
-ได้รับการช่วยเหลือเงินจำนวน 2,500 บาท เป็นจำนวน 1 เดือน
ผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40
-ได้รับการช่วยเหลือคนละ 5,000 บาท เป็นจำนวน 1 เดือน
แรงงานนอกระบบ-อยู่ในกลุ่ม 5 กิจการ “ถุงเงิน” มีดังนี้
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้เป็น มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
-ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. 64 เพื่อจะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
นายจ้าง/ผู้ประกอบการ กรณีที่มีลูกจ้าง
-ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 33 ในเดือน ก.ค. 64 เพื่อที่ผู้ประกอบกิจการจะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คนในอัตรา 3,000 บาท/หัว/สถานประกอบกิจการ
ลูกจ้างสัญชาติไทยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาท/คน กรณีที่ไม่มีลูกจ้าง
-ให้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม มาตรา 40 ในเดือน ก.ค. 64 จะได้รับเงินเยียวยาช่วยเหลือ 5,000 บาท/คน
สำหรับแรงงาน ตามมาตรา 33 กำหนดเดิมว่าเหตุสุดวิสัย มีสิทธิ์ได้เงินทดแทนการว่างงาน ร้อยละ 50 ไม่เกิน 7,500 บาท ไม่เกิน 90 วัน เพิ่มให้ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนนายจ้างได้รับความช่วยเหลือสูงสุดไม่เกินจำนวนลูกจ้าง 200 คน อัตรา 3,000 บาท/คน เป็นจำนวน 1 เดือน
สำหรับกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” โครงการคนละครึ่งและเราชนะ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมเพราะไม่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 เพื่อให้ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 1 เดือน
ลดค่าไฟค่าน้ำ “บ้าน-กิจการ” ทั่วประเทศ
สำหรับการช่วยเหลือล่าสุดถึงมาตรการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและธุรกิจต่างๆทั่วประเทศ คือ การลดค่าไฟฟ้า ให้สิทธิสำหรับ บ้านที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร รวมถึงการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ไม่รวมราชการและรัฐวิสาหกิจ กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าบ้าน ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ให้สิทธิฟรี 90 หน่วยแรก ผู้ใช้ไฟฟ้ากิจการขนาดเล็ก ใช้สิทธิไฟฟรี 100 หน่วยแรก เป็นระยะเวลา 2 เดือน คือ กรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2564
ในส่วนของการลดค่าน้ำปะปา บ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ลดค่าน้ำลง 10 % เป็นเวลา 2 เดือน คือ สิงหาคม ถึง กันยายน 2564
ทั้งนี้ การไฟฟ้านนครหลวง การประปาภูมิภาค และการไฟฟ้าภูมิภาค ขอสนับสนุนแหล่งเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ เพื่อดำเนินมาตรการไม่เงิน 12,000 ล้านบาท
มาตรการด้านการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษาฯ ลดเงินค่าบำรุงการศึกษา ลดค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในภาคเรียนที่ 1/2564 เป็นกรณีพิเศษ
มาตรการช่วยลูกหนี้ธนาคาร
กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หารือธนาคารพาณิชย์ ผ่อนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย หรือเรียกให้เข้าจง่ายๆว่า ให้เป็นการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ลูกค้าทั้งประชาชนและผู้ประกอบกิจการอย่างจริงจัง และกำหนดช่องทางร้องเรียนของประชาชน สำหรับกรณีที่สถาบันการเงินไม่ให้ความร่วมมือ จะนำพิจารณาดำเนินการอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินแห่งนั้นโดยตรง
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)
ครม. ระบุมติว่า มาตรการระยะต่อไป มีการวางแผนให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั่วประเทศ ทั้งนี้มอบให้สภาพัฒน์ กระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลัง ร่วมกันกำหนดรูปแบบในการช่วยเหลือในเรื่องต่างๆให้เหมาะสม
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์