Friday, 22 November 2024

กรุงเทพฯ เปิดสายด่วน 50 เขต ให้ผู้ที่ติดเชื้อโควิด โทรประสานตรงขอความช่วยเหลือ

05 Aug 2021
475

วันที่ 4 สิงหาคม 2564 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ซึ่งปัจจุบันจำนวนของผู้ติดเชื้อได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมากรุงเทพฯ ได้ทำการเร่งเพื่อดำเนินการค้นหาเชิงรุก นำผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19 เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่อง กรุงเทพฯ เปิดสายด่วน 50 เขต

สล็อต xo Slotxo

กรุงเทพฯ เปิดสายด่วน 50 เขต ให้ผู้ที่ติดเชื้อโควิด โทรมาแจ้งขอความช่วยเหลือ

โควิด19 เปิดสายด่วน 50 เขต
เพื่อทำให้การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กรุงเทพฯ จึงได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วย กสทช. True dtac AIS และ NT โดยได้จัดตั้ง สายด่วนโควิดเขต เป็นสายตรง 50 สำนักงานเขต เขตละ 20 คู่สาย เพื่อทำการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ให้เข้าสู่ระบบการรักษาได้โดยเร็ว ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยบางเขตพร้อมเริ่มทยอยให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 จะเริ่มดำเนินการให้ครบทั้ง 50 เขตโดยเร็ว

เจ้าหน้าที่รับแจ้งผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ผ่านทางสายด่วน โดยจะมีการประเมินอาการและความพร้อมที่จะเข้ารับการรักษาตามอาการของผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถที่จะแยกกักตัวที่บ้านได้ หรือ Home Isolation ได้ เจ้าหน้าที่ก็จะทำการแนะนำขั้นตอนการรับการดูแลรักษา ซึ่งหากไม่พร้อมรับผู้ป่วยมาพักคอย ที่ศูนย์พักคอยเพื่อทำการส่งต่อ Community Isolation โดยมีทีมแพทย์ค่อยประเมินอาการ ให้ยารักษาโรค และจะทำการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาตามอาการต่อไป

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโควิด19 ให้เข้าสู่ระบบการรักษาได้รวดเร็วขึ้น โดยเป็นการลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ อีกทั้ง ขอให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ดูแล ได้โทรแจ้งมายังเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อประสานเพื่อให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งผู้ป่วยที่มีผลตรวจออกมาเป็น Antigen Test Kit หรือ Rt-PCR สามารถทำการติดต่อสายด่วน 1330 หรือสายด่วนสำนักงานเขต ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับ HI/CI แล้วยังมีการประสานให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด19 ในเรื่องอื่นด้วย สายที่ได้ทำการโทรมายังเขตจะถูกบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยไปยังระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อส่งต่อให้ สปสช. แจกจ่ายเคสให้กับทีมที่ได้รับหน้าที่เข้าไปประเมินลักษณะอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ส่วนรายที่จะต้องเข้าระบบแบบ HI และ CI กรุงเทพฯ โดยศูนย์ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลร่วมกับคลินิกชุมชนอบอุ่น และคลินิกภาคเอกชน ที่อยู่ในเครือข่าย

กรุงเทพฯ เปิดสายด่วน 50 เขต ให้ผู้ที่ติดเชื้อโควิด โทรประสานตรงขอความช่วยเหลือ

เร่งดูแลผู้ป่วยโควิดด้วย BKK HI/CI Care

นอกนี้ กรุงเทพฯ ได้มีการปรับวิธีการตรวจเชิงรุกโดยทีม CCRT ตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit ที่ทำให้ทราบผลการตรวจเร็วขึ้น เพื่อทำการแยกผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโควิด ให้ได้มากที่สุด โดยผู้ที่ผลตรวจออกมาเป็น ATK หรือเป็นลบสามารถที่จะกลับบ้านได้ แต่ทว่าหากเป็นผู้เสี่ยงสูงเจ้าหน้าที่แนะนำให้กักตัวแยกจากผู้อื่น

หากตรวจแล้วมีผลติดเชื้อ จะทำการส่งตรวจ Rt-PCR ซ้ำอีกยังจุดตรวจเดิม หรือทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอย Community Isolation ทำการแยกโซนเฉพาะผู้ที่มีผลจาก ATK ซึ่งผู้ที่มีผลติดเชื้อจะต้องทำการเซ็นยินยอมลงในใบ Informed Consent โดยจะมีหน่วยตรวจ Rt-PCR เข้ามาตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้งที่ศูนย์พักคอย เพื่อยืนยันผลการติดเชื้อก่อนที่จะเข้าสู่ระบบการรักษา

ผู้ป่วยที่มีผลยืนยันออกมาว่าเป็นผู้ติดเชื้อ มีความประสงค์ต้องการแยกรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation โดยหน่วยเชิงรุก จะทำการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ BKK HI/CI Care หรือผู้ป่วยสามารถที่จะโทรติดต่อขอเข้าระบบการรักษาได้ที่ สายด่วน 1330 หรือสายด่วนในเขตทุกเขต เพื่อให้ได้รับการดูแลติดตามอาการจากแพทย์ และได้รับชุดอุปกรณ์ HI เครื่องวัดออกซิเจน ปรอทวัดไข้ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ โดยมีจิตอาสาค่อยส่งยาและอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาอยู่ และถ้าหากผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ HI มีอาการที่รุนแรง ตามคำวินิจฉัยจากแพทย์ที่ทำการดูแล จะทำการนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลต่อไป

ส่วนผู้ที่มีผลออกมาเป็นบวกจาก ATK ด้วยตนเองหรือตรวจจากสถานที่เอกชน จะต้องทำการตรวจ ATK ซ้ำ โดยแจ้งผ่านสายด่วน หรือศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อทำการนัดคิวเข้าไปตรวจหาเชื้อก่อน จึงสามารถที่จะส่งตรวจซ้ำด้วย Rt-PCR โดยป้องกันความเสี่ยงที่ต้องถูกส่งต่อไปศูนย์พักคอยร่วมกับผู้ที่มีความสงสัยว่าจะติดเชื้อรายอื่น

จากการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้สงสัยว่าติดเชื้อโควิด เพื่อทำการเฝ้าระวังตัวเองและให้แยกตัวออกจากชุมชนและครอบครัว ก่อนจะทำการตรวจหาเชื้อเพื่อที่จะยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยและเข้ารับการรักษาต่อไป

จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การที่จะนำผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อทำการรักษาชีวิตของทุกคน และเพื่อทำการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19ให้ได้เร็วที่สุด

Related posts
“มะม่วงน้ำปลาหวาน” ของโปรด “โรเซ่ BLACKPINK” มากรุงเทพฯ ต้องได้กิน
นักวิจัยเผย!! สาเหตุที่ยังรอดโควิดทุกซีซั่น เพราะคุณอาจได้รับอนุภาคไวรัสอยู่ทุกวัน มันไม่ก่อให้เกิดการอักเสบหรือโรคได้
สาวใช้ “ถุงคลุมตัว” บนรถไฟฟ้า แล้วนั่งหม่ำ “กล้วย” อย่างสบายใจ ชาวเน็ตถกกันสนั่น ทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร?
Super-Dodger รอดโควิดมาทุกซีซัน กักตัวเป็นว่าเล่นก็ยังติด คนแบบนี้คือกลุ่มคนที่นักวิจัยต้องการตัว
ฝนถล่มฟ้าทลาย มวลน้ำท่วมสูงครึ่งคัน วัชรพล-สายไหม ต้นไม้ล้มระนาวพังยับเยิน
ดราม่า “ร้องข้ามกำแพง” The Wall Song เกมแจกคำใบ้ ไม่เหมาะกับสถานการณ์เสี่ยงติดโควิด-19