กรมควบคุมโรค แจ้งข่าวเตือน ประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพจาก “โรคไข้เลือดออก” เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จึงอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้
กรมควบคุมโรค ออกเผย “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์” “โรคไข้เลือดออก”
รายงานข้อมูล ฉบับที่ 27/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 32 (วันที่ 8 – 14 ส.ค. 64) กรมควบคุมโรค ดังนี้ จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 4 สิงหาคม 2564 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 5,585 ราย เสียชีวิต 6 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คืออายุ 15-24 ปี รองลงมาคืออายุ 10-14 ปี และอายุ 25-34 ปี ตามลำดับ โดยพบผู้ป่วยกระจายทั่วทุกภูมิภาค จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก ระนอง อุตรดิตถ์ และชุมพร
การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จึงอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรค จึงขอความร่วมมือประชาชนในช่วงที่ทำงานอยู่บ้าน (Work From Home) เนื่องจากสถานการณ์ของโรคโควิด 19 สำรวจแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบตัวบ้าน ตามมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค
1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลาย เกาะพัก
2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3.เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ
1.โรคไข้เลือดออก
2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
3.โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา
ทั้งนี้ หากประชาชนมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา หรือมีจุดเลือดออกที่ลำตัว และแขน ขา ซึ่งอาจเป็นการเจ็บป่วยร่วมกันระหว่างไข้เลือดออกกับโรคโควิด 19 ซึ่งจะทำให้อาการทรุดหนักได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาลดไข้ในกลุ่มแอสไพริน และไอบูโพรเฟน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคให้ชัดเจน จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์