รู้ไหมว่า คน “รวันดา” โคตรชอบนม วัฒนธรรมการดื่มนมของคนในประเทศนั้นเข้าข่ายคำว่า “บ้านม” เอามากๆ Lifestyle เพราะนมทำให้คุณสงบ บรรเทาความเครียด และรักษาคุณให้สบายใจ จากนั้นก็ยกนมแก้วใหญ่ขึ้นมาดื่ม จนเห็นคราบขาวเหนือริมฝีปาก นี่คือวัฒนธรรมที่คน “รวันดา” ชื่นชอบทำมากที่สุด
โคตรชอบนม เพราะนมทำให้คุณสงบ บรรเทาความเครียด และรักษาคุณ Rwanda
แม้ว่าประเทศไทยของเรานั้นประชาชนจะชื่นชอบการดื่มนมมากแค่ไหนและแม้จะมีร้านเครื่องดื่มประเภทนมอยุ่ทุกหนทุกแห่งก็ยังไม่สามารถนำไปเทียบได้เลยกับคนประเทศรวันดา “Rwanda” ที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ที่พวกเขานั้นขึ้นชื่อว่าคือประเทศที่ “บ้านม” เอามากๆ เพราะเมื่อแสงแดดจากดวงตะวันสาดส่องเข้ามาใส่ดวงตาผู้คนทั้งชายทั้งหญิง ที่อาศัยอยู่ในเมืองรวันดาที่ล้อมรอบไปด้วยเนินเขานั้นต้องออกเดินทางจากที่อยู่อาศัยไปตามท้องถนนที่ยัง “บาร์นม” ที่เปิดเป็นร้านแผงลอยริมถนน
“Jean Bosco Nshimyemukiza ชายผู้มีอาชีพขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้นั้นพูดออกมาพร้อมรอยยิ้มว่า กล่าวพร้อมรอยยิ้ม “ผมรักนม เพราะนมทำให้คุณสงบ นมทำให้บรรเทาความเครียด และนมจะรักษาคุณ” จากนั้นเขาก็ได้ยกแก้วนมแก้วโตขึ้นมายกดื่มจนเผยให้เห็นคาบขาวเหนือริมฝีปาก”
ในรวันดา “นม” คือเครื่องดื่มอันเป็นที่รักยิ่งนักของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้และ “บาร์นม” ก็คือหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ผ่อนคลายอารมณ์ยอดนิยมของคนทุกชนชั้นทุกเพศทุกสมัย เพราะที่ม้านั่งยาวๆและที่เก้าอี้พลาสติกในบาร์นม นั้นจะเห็นได้ว่ามีผู้คนทั้งเพศชายและเพศหญิงไม่ว่าจะแก่ หรือเป็นวัยรุ่นนั้นนต่างก็นั่งเรียงรายเต็มไปหมดตลอดทั้งวัน แน่นอนว่าในมือของทุกคนที่นั่งอยู่ในนั้นจะต้องถือแก้วที่มีหูจับ และมีนมสดสีขาวข้นรสละมุนไหลอยู่ในนั้น เพื่อให้ผู้คนยกดื่ม นอกจากนมสดแล้วก็มีนมหมักคล้ายๆ โยเกิร์ตที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่า “ikivuguyo” ให้เลือกดื่มอีกด้วย
บางคนชอบดื่มนมเย็น บางคนชอบดื่มนมร้อน บางคนชอบดื่มรวดเดียวหมด บางคนก็ค่อยๆ ดื่มนมพร้อมกันหยิบของว่าง เช่น พวกขนม เค้ก จาปาตี มากินคู่กับนมรสชาติอร่อย ซึ่งคนส่วนใหญ่มาที่แห่งนี้เพื่อผ่อนคลายความเครีนดและเพื่อสังสรรค์ แต่สิ่งที่มาก่อนการสังสรรค์คือการดื่มนม ของพวกเขานั้นคือเรื่องที่ทำจริงจังมากกว่าที่จะทำเล่นๆ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้น “บาร์นม” ที่อยู่ในเมืองรวันดานั้นก็เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆไปทั่วทุกมุมเมือง เพราะนมนั้นคือสิ่งที่อยู่คู่กับคนและประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของรวันดามานานแล้ว แถมยังมีอิทธิพลในด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันด้วย
“Nshimyemukiza บอกว่าผมมาที่นี่เวลาที่ผมต้องการอยากผ่อนคลาย และในบางครั้งผมก็มาที่นี้เพราะต้องการคิดเรื่องอนาคตด้วย อีกทั้งผมยังดื่มนมสามลิตรในทุกวัน เพราะเวลาผมดื่มนม ความคิดของผมมักจะแจ่มชัดและถูกต้อง”
หลงนมมาเนิ่นนาน
“วัว” คือสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวยที่ผู้คนนั้นเชื่อมาแบบนี้มานานมากกว่าหลายร้อยปี เพราะนี่มันคือเครื่องหมายที่บ่งบอกสถานภาพสุดล้ำค่าของครอบครัว แม้กระทั่งราชวงศ์ผู้สูงศักดิ์นั้นก็ยังชื่นชอบการดื่มนมมากๆเหมือนคนทั่วไป ในสมัยที่รวันดายังมีกษัตริย์ปกครอง เมื่อปี ค.ศ. 1961 ส่วนวิธีการเก็บรักษานมของราชวงศ์นั้นจะเก็บนมไว้ในโหลไม้ที่มีรูปร่างสวยงาม ปิดด้วยฝาทรงกรวยที่สานขึ้นด้วยมือ และนำนมไปเก็บเอาไว้ในห้องซึ่งติดกับปราสาทของราชา ความสำคัญของวัวไม่เพียงเป็นเครื่องดื่มประจำเมืองแต่มันยังถูกนำมาตั้งเป็นชื่อให้มนุษย์ที่พึ่งเกิดใหม่ เพราะว่ากันว่ามันมีความหมายที่ดีดุจดังวัวที่งดงามแม้กระทั่งในท่าร่ายรำของหญิงสาว ก็ยังจะมีท่าทางเลียนแบบของวัวเข้าไปประกอบอยู่ในนั้นด้วย
วัวกู้ชาติ
ย้อนกลับไปในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1994 ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่าแปดแสนคนภายในระยะไม่ถึงหนึ่งร้อยวัน คือจุดเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของชาวรวันดา ที่ถูกชาว Tutsi สังหารอย่างเหี้ยมโหด จุดเปลี่ยนครั้งงยิ่งใหญ่นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่เหตุการณ์สงบลง ที่ประเทศรวันดากำลังฟื้นตัว ทางการของประเทศรวันดาก็เห็นความสำคัญของวัวและมองว่าวัวนั้นมันคือหนทางสำคัญในการที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและต่อสู้กับภาวะขาดสารอาหารของประชากรให้กับมาดีขึ้นได้
ปี ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดี Paul Kagameได้ออกกฎหมาย “Girinka” ที่บอกเอาไว้ว่าจะแจกวัวฝให้ประชาชนที่ยากจนคนละหนึ่งตัวทุกบ้าน กฎหมายที่ออกมาในปีนั้นทำให้ผู้คนเลี้ยงวัวกว่า 380,000 ตัวทั่วประเทศ และเมื่อกำลังในการผลิตนมมากขึ้น เศรษฐกิจและจำนวนผู้คนที่กลับมาอยู่ก็มีมากขึ้น แถมการกำเนิดของบาร์นมนั้นก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้ผู้คนนั้นสามารถเข้าถึงงการดื่มนมได้อย่างทั่วถึง บาร์นมส่วนใหญ่จึงมักตั้งอยู่ในเมืองคิกาลี เมืองหลวงที่มีคนอยู่อาศัยมากที่สุด (ประมาณ 1.2 ล้านคน)
วิกฤติของนม
หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้คนทั่วโลกนั้นพบเจอ “รวันดา” เองนั้นก็ประสบพบเจอกับปัญหานี้อย่างหนักหน่วง เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมโคนม แถมว่า “รวันดา” ยังเป็นหนึ่งประเทศที่มีนโยบายปิดเมืองที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกา เพราะทางรัฐบาลนั้นได้สั่งเคอร์ฟิวตอนกลางคืน ปิดตลาด และห้ามเดินทางไปมาระหว่างเมืองและเขตแควนแดนต่างๆ แน่นอนว่าเศรษฐกิจทุกอย่างนั้นต้องได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง และรวันดาก็เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างจำใจเสียไม่ได้
ธุรกิจโคนมระดับเล็กและกลางเกินมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์นั้นต้องปิดตัวลงในช่วงล็อกดาวน์ แม้ไม่มีโควิดรวันดาก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนที่ยังแก้ไม่ตกเพราะภัยแล้งนี้มันส่งผลกระทบให้ทั้งคนและวัวอดอาหารจนล้มป่วยล้มตายไป และพอนมเริ่มขาดตลาดราคานมก็เพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น แม้ว่าธุรกิจบาร์นมจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นจากการที่ผู้คนเริ่มได้รับวัคซีนและโรคระบาดเริ่มึลี่คลาย แต่สถานการณ์ในตอนนี้ก็ยังไม่ถือว่าน่าวางใจมากสักเท่าไหร่สำหรับผู้ประกอบการหลายๆ คน และไม่ว่าโลกจะพบเจอกับปัญหาที่ใหญ่หลวงมากแค่ไหนแต่คนรวันดาก็ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ เพราะมันเพิ่มพลังให้กับวิถีชีวิตซึ่งผูกพันกับวัวและนมมาอย่างเนิ่นนาน
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์