Saturday, 21 September 2024

วิจัยชี้! Climate change คือตัวการหลักที่ทำให้ “โรค” กว่า 200 ชนิดรุนแรงมากและอันตรายมากขึ้นอีก

11 Aug 2022
211

วิจัยชี้! Climate change หรือ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่คงที่นั้น สามารถกระตุ้นความรุนแรงของ “โรค” มากกว่า 200 ชนิด และอาการป่วยของเราให้อันตรายมากขึ้นอีกเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็น COVID-19  หรือ ฝีดาษลิง ที่ทำให้สุขภาพของเราแย่นั้นต่างก็เป็นผลมาจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงและไม่คงที่ทั้งนั้น

สล็อต xo Slotxo

Climate change การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มความรุนแรงของ “โรค” และอาการป่วย ไม่ว่าจะเป็น COVID-19  หรือ ฝีดาษลิง

Climate change คือตัวทวีความรุนแรงของโรค

“COVID-19” ยังไม่ทันซา “ฝีดาษลิง” ก็ตามมาแถมว่า “ไวรัสมาร์บวร์ก” ก็ยังมาต่อคิวระบาดคร่าเอาชีวิตประชาชนในทวีปแอฟริกาไปแล้วหลายราย ฝันร้ายที่กล่าวมานั้นยังไม่มีท่าทีว่าจะจบสิ้นแค่เพียงเท่านี้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ทางนักวิจัยนั้นพึ่งได้พบว่า “โรค” ในมนุษย์มากกว่า 200 โรค อาจรุนแรงขึ้นและอาจอันตรายมากขึ้นอีก ถ้าสมมุตว่าสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่คงที่ ถือว่าการค้นพบในครั้งนี้นั้นมีความสอดคล้องกันระหว่าง โรคกับภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงนักวิจัยกล่าวว่าโรคในมนุษย์ที่เกิดจากเชื้อโรคกำลังเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งมันเป็นผลกระทบที่มาจากสภาพอากาศที่ไม่คงที่ ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Climate Change

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มความรุนแรงของ “โรค”

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้นั้นนักวิจัยได้ไปเก็บรวบรวมข้อมูลมากกว่า 77,000 ชิ้น ที่เคยทำเอาไว้ก่อนหน้านี้กลับขึ้นมาเพื่อนำมาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงกันระหว่าง “โรค” และ “สภาพอากาศที่ไม่คงที่” หลังจากนั้นก็พบความจริงบางอย่างว่า โรคติดเชื้อจำนวนสามร้อยเจ็ดสิบห้าชนิด ที่เจอในเอกสารจำนวน 218 โรค (มากกว่าครึ่งเอกสารที่นำมา) มันสามารถเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง เช่น คลื่นความร้อน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไฟป่า เป็นต้น นักวิจัยชี้ว่าไม่ว่าจะเป็น

  • โรคไข้ซิกา
  • มาลาเรีย
  • ไข้เลือดออก
  • ชิคุนกุนยา
  • แม้กระทั่งCOVID-19

ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่อันตรายและสามารถเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ หากสภาพอากาศไม่คงที่ แล้วคำถามที่ถามว่าอากาศไม่คงที่นั้นเพิ่มความรุนแรงของโรคได้อย่างไรนั้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าสัตว์ป่านั้นก็จำเป็นจะต้องย้ายที่อยู่อาศัยใหม่เข้ามาใกล้กับเรา แล้วสัตว์ป่านั้นก็คือหนึ่งในพาหะนำโรค ดังนั้นเมื่อมันเข้ามาใกล้เราโอกาสที่เราจะติดเชื้อมันก็มากขึ้น ถ้าพูดให้เข้าใจมากขึ้นนั้นสามารถอธิบายได้ว่า ภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

Climate change เพิ่มความรุนแรงใหเโรค

นั้นสามารถจะสร้างอาณาเขตที่กว้างออกไปได้เพราะพาหะนำโรคและเชื้อต่างๆ เช่น ยุง เห็บ และหมัด ที่สามารถแพร่กระจายติดต่อจากสัตว์สู่คนได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากสภาพอากาศที่ไม่คงที่จะทำให้โรคระบาดเพิ่มขึ้นมันยังส่งผลทำให้ความสามารถในการจัดการกับเชื้อโรคของมนุษย์ลดลงด้วย เช่น เมื่อความแห้งแล้งมาเยือนประชาชนก็จะไม่ได้รับน้ำที่เพียงพอขาดแคลนน้ำ และมันอาจนำไปสู่สภาพสุขาพิบาลที่ไม่ถูกสุขลักษณะจนส่งผลทำให้ป่วยเป็นโรคต่างๆเช่น

  • โรคไข้ไทฟอยด์
  • โรคบิด
  • โรคอื่นๆ