Monday, 25 November 2024

กษัตริย์องค์ของซูลู แท้จริงแล้วเป็นใคร หลังสมาชิกราชวงศ์ของชนเผ่าซูลูในประเทศแอฟริกาใต้เปิดศึกชิงราชบัลลังก์ยืดเยื้อมานานกว่า 1 ปี

กษัตริย์องค์ของซูลู “องค์ใหม่” เป็นใคร? และมีเหตุการณ์อะไรบ้างโผล่มา!! ในระหว่างที่สมาชิกราชวงศ์ของชนเผ่าซูลู ที่อาศัยอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ ข่าวต่างประเทศเปิดศึกชิงบัลลังก์สุดวุ่นวานยืดเยื้อมายาวนานมากกว่า 1 ปี แม้ว่าเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาจะผ่านพิธีสถาปนาขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ที่ 9 แล้วก็ตาม

สล็อต xo Slotxo

กษัตริย์องค์ของซูลู “องค์ใหม่” คือใคร?และเกิดอะไรขึ้นบ้างใน “ศึก” ชิงราชบัลลังก์

กษัตริย์องค์ของซูลู “องค์ใหม่” คือใคร?

ศึกชิงราชบัลลังก์ของครอบครัวในราชวงศ์ของชนเผ่า Zulu แห่งประเทศแอฟริกาใต้สุดวุ่นวาย และยาวนานมากกว่าหนึ่งปีในตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงเลยแม้ว่าเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาจะผ่านพิธีสถาปนาขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ที่ 9 ให้กับ King Misuzulu Sinqobile kaZwelithini แล้วก็ตาม King Misuzulu Sinqobile kaZwelithini หรือ “เจ้าชายมิซูซูลู กา ซเวลิทีนี” ในตอนนี้ท่านมีพระชนมายุ 48 พรรษา มีศักดิ์เป็นโอรสพระองค์แรกของ “Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu” กับ “Her Majesty Queen Mantfombi Dlamini” ที่มีศักดิ์เป็นพระชายาองค์ที่ 3 จากพระชายาทั้งหมด 6 พระองค์

King Misuzulu Nqobile Zwelithini ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางศึกชิงราชบัลลังก์ที่กำลังร้อนแรง หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu เมื่อวันที่ 12มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา เนื่องจากสมาชิกราชวงศ์บางกลุ่มนั้นมีความคิดเห็นว่า พระองค์ไม่ใช่องค์รัชทายาทอันดับหนึ่งที่มีสิทธิ์ได้ขึ้นครองราชย์ และยังกล่าวหาว่าพระราชพินัยกรรมไม่ใช่ของจริง ที่ Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu ทรงแต่งตั้งให้ Her Majesty Queen Mantfombi Dlamini พระมารดาของกษัตริย์ Misuzulu Sinqobile kaZwelithini เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้นเป็นของปลอม

พิธีขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ Misuzulu Nqobile Zwelithini จัดขึ้นตามแบบแผนของโบราณที่ราชประเพณีในพระราชวังกวาคานเกลามานเคนกาเน ในจังหวัดกวาซูลูนาทาล ซึ่งสถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรซูลู โดยมีประชาชนจำนวนมากมาเข้าร่วมพิธีเฉลิมฉลอง และรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ด้านนอก ในพระราชพิธีจัดขึ้นภายในหมู่เชื้อพระวงศ์เท่านั้นซึ่งทางเจ้าชาย Misuzulu ได้สวมใส่ทรงฉลองพระองค์ที่ทำจากหนังสิงโตทรงเข้าไปประทับในคอกศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรจากบูรพกษัตริย์และบรรพบุรุษ ก่อนถึงขั้นตอนการขานพระนามเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์ซูลู

เกิดอะไรขึ้นบ้างใน “ศึก” ชิงราชบัลลังก์

“การเริ่มต้นใหม่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติภารกิจ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชาติซูลู “กษัตริย์ Misuzulu ตรัสกับประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จในวันที่เข้ารับตำแหน่ง””

สถาบันกษัตริย์ของซูลูนนั้นมีมานานมากกว่าหนึ่งร้อยปีอีกทั้งยังเป็นสถาบันที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยศรัทธา ถึงแม้ว่าจะไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่ก็ถือว่าเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลไม่เบา เพราะเผ่าซูลูแห่งนี้มีจำนวนประชากรมากถึง 11 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรแอฟริกาใต้ และยังได้รับงบประมาณอุดหนุนรายปีที่มาจากภาษี

ชนวนเหตุชิงบัลลังก์

นับตั้งแต่โบราณมานั้นการเปิดศึกช่วงชิงราชบัลลังก์ของราชวงศ์ซูลูนั้นค่อนข้างที่จะหนักหนาสาหัส ในบางครั้งถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือทำให้เลือดตกยางออกอย่างเช่น กรณีที่ “กษัตริย์ชากา กา เซนซานโคนา” ที่ช่วงชิงบัลลังก์ด้วยการ “สังหาร” พระเชษฐาของพระองค์เองเมื่อปี 1816 เพื่อจะขึ้นครองราชย์เอง และผ่านมาได้ไม่กี่ปีพระองค์ก็ถูกลอบ “สังหาร” จากการบงการของหลานชายหรือหลานสาวของพระองค์เองเช่นเดียวกัน ส่วนศึกชิงบัลลังก์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้น หลังจากการสวรรคตของ Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu  ที่หลายๆคนนั้นบอกว่ามันร้อนแรงและฉาบฉวยมากที่สุด สำหรับการต่อสู่ในชั้นศาลของสมาชิกราชวงศ์ ที่มีการพูดจาทับถ่มยังอย่างเปิดเผย แถมยังมีข่างวงในบอกว่ามีการวางยาพิษผู้ที่เป็นศัตรู

ชนวนเหตุชิงบัลลังก์ของซูลู

Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu กษัตริย์พระองค์ที่ 8 ของเผ่าซูลู ท่านถูกขู่ว่าจถถูกรอบปลงพระชมน์มาหลายครั้งต้องหาที่แอบไม่ให้ใครเห็นตัวตนนานถึง 3 ปี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาของพระองค์ในปี 1971 ยาวนานถึง 50 ปี หลังจากพระองค์สมรส ก็ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งหหมดยี่สิบแปดพระองค์ จากพระชายา 6 พระองค์ Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu สวรรคตในตอนที่มีพระชมมายุ 73 พรรษา เพราะอาการประชวร โรคเบาหวาน หลังพิธีฝังร่างของพระองค์เสร็จสิ้นแล้ว ก็ได้มีการอ่านพระราชพินัยกรรมของพระองค์ที่ระบุเอาไว้ว่า ทรงแต่งตั้ง Her Majesty Queen Mantfombi Dlamini เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนี่มันคือความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่แห่งการสร้างความขัดแย้งเริ่มต้นระหว่างสมาชิกราชวศ์ เนื่องจากว่าเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ทรงเชื่อว่า พระราชพินัยกรรมนี้ถูกปลอมแปลงขึ้นมา

เพราะ สมเด็จพระราชินีมันต์ฟอมบีทรง

  • เป็นพระชายาองค์ที่ 3
  • แต่ทรงครองตำแหน่ง “พระอัครชายา”
  • และมีสถานะสูงส่งกว่าพระชายาองค์อื่น ๆ
  • เนื่องจากทรงเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์โซบูซาที่ 2

พระองค์แต่งงานกับ Goodwill Zwelithini kaBhekuzulu โดยมีข้อตกลงว่า

  • พระโอรสองค์แรกที่ประสูติจะต้องเป็นรัชทายาทลำดับแรก

หลังจากกษัตริย์ซเวลิทีนีสวรรคต คนที่จะมารับตำแหน่งต่อนั้นน่าจะเป็น

  • เจ้าชายมิซูซูลู พระราชโอรสพระองค์

สมเด็จพระราชินีมันต์ฟอมบีนั้นรักษาการแทนกษัตริย์องค์ที่ 8 ได้เพียงหนึ่งเดือน ซึ่งสมเด็จพระราชินีมันต์ฟอมบีนั้นยังไม่ได้ทำหน้าที่ประกาศพระนามของกษัตริย์พระองค์ใหม่พระองค์ก็สวรรคตเพราะอาการประชวรที่ไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุ ที่ข่าววงในหลายๆคนลือกันว่ามีเหตุการวาง “ยาพิษ”

ศึกสายเลือดที่เกิดขึ้นในตอนนี้ที่ทำให้ราชวงศ์ซูลูแตกออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งในส่วนนี้คือเจ้าชายทั้ง 3 พระองค์ที่กล่าวมานั้นเป็น “พระโอรส” ที่เกิดจากพระชายาต่างพระองค์

  • กลุ่มแรกนั้นสนับสนุนเจ้าชายมิซซูลูให้ขึ้นครองราชย์
  • กลุ่มที่สองนั้นสนับสนุนเจ้าชายซีมาคาเด
  • กลุ่มที่สามนนั้นอยู่ข้างเจ้าชายบูซาบาซี

ประมาณ 7  วันก่อนที่จะถึงพิธีสถาปนากษัตริย์ Misuzulu สมาชิกราชวงศ์กลุ่มหนึ่งได้ ให้ข่าวว่าให้ “เจ้าชายซีมาคาเด” มาขึ้นเป็นกษัตริย์โดยให้เหตุผลว่า “เจ้าชายซีมาคาเด” คือองค์รัชทายาทคนแรกที่ควรได้รับตำแหน่ง แต่ทางนายกรัฐมนตรีของชนเผ่าซูลู ไม่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว พร้อมบอกว่านี้คือ “การยั่วยุที่สิ้นคิด” นับจากนั้นมาได้ไม่กี่วัน “พระอนุชา” ของกษัตริย์ซเวลิทีนี ก็ได้ประกาศว่าเขานั้นต้องการอยากให้ “เจ้าชายบูซาบาซี” ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ด้วยเหตุผลว่า “เจ้าชายบูซาบาซี” ใกล้ชิดกับพระราชบิดามากที่สุด และศึกสายเลือดก็เป็นอย่างนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ “เจ้าหญิงนทันโดเยนโกซี” และ “เจ้าหญิงนโทมบีโซซูทู” น้องสาวต่างพระมารดา ทรงได้ยื่นคำร้องบางอย่างต่อศาลสูงเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยุติพระราชพิธี แต่ถ้าว่าศาลไม่เห็นด้วยแล้วได้ยกคำร้องขอนั้นไป

กษัตริย์องค์ของซูลู- คนปัจจุบันคือใคร

ซึ่งในตอนนั้นเจ้าชาย Misuzulu ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกราชวงศ์บางกลุ่ม ที่เห็นว่าพระองค์เป็นองค์รัชทายาทที่เหมาะสม หลังจากที่ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ให้การรับรองว่าเจ้าชาย Misuzulu เป็นกษัตริย์ zulu พระองค์ใหม่ตั้งแต่เดือน มีนาคม ที่ผ่านมา พระอนุชาต่างพระมารดาของเจ้าชาย Misuzulu ก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยุติพิธีบรมราชาภิเษก แต่ศาลยกคำร้องและสั่งให้จัดพระบรมราชาภิเษกตามหมายกำหนดการเดิม แม้ว่าในตอนนี้ศึกชิงราชบัลลังก์ zulu ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด แต่หลายฝ่ายก็เชื่อว่าสถานการณ์จะดีมากขึ้นมากกว่าเดิมก่อนวันที่ 24 กันยายนนี้ เนื่องจากว่าวันนี้คือวันที่รัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลอง การขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใหม่แห่ง zulu อีกทั้งยังตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของ “กษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างอาณาจักรซูลูให้ยิ่งใหญ่”