Monday, 25 November 2024

หมอธีระวัฒน์เตือนคนที่ชอบ งีบตอนกลางวันบ่อยๆ ระวังจะ “สมองเสื่อม” โดยไม่รู้ตัว

16 Sep 2022
359

หมอธีระวัฒน์เตือนคนที่ชอบ งีบตอนกลางวันบ่อยๆ ระวังจะเสี่ยงปัญหาสุขภาพเป็น “โรคสมองเสื่อม Dementia ” และ “โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer ” ได้โดยไม่รู้ตัว บอกเลยว่าใครที่เป็นคนชอบนอนนั้นต้องดู เพราะยิ่งนอนนาน นอนมาก โอกาสเสี่ยงก็ยิ่งมากเพิ่มขึ้นตามเหมือนกันกับการนอนของเราเท่านั้น

สล็อต xo Slotxo

งีบตอนกลางวันบ่อยๆ ส่อและเสี่ยง “โรคสมองเสื่อม” และ “โรคอัลไซเมอร์” ได้

ภาพประกอบข่าว พนักงานเสี่ยงสมองเสื่อ การนอนระหว่างวัน หรือ นอนระหว่างทำงาน

นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้อธิบายข้อมูลที่น่าสนใจเอาไว้บน Facebook ว่า การนอนนานนอนบ่อย นอนกลางวัน ส่อและเสี่ยงทำให้สมองเสื่อม โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นความจริงที่การนอนนานนอนบ่อย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ทราบกลไกที่แท้จริง การศึกษาก่อนหน้าบอกว่า สมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่ามีการเสื่อมสลายของกลุ่มเซลล์ที่ปุกให้ตื่น การตรวจจีโนมของอาสาสมัครจำนวน 450,000 ราย พบว่า 123 จุดที่มีความสอดคล้องกันกับการนอนกลางวันเป็นประจำ และสอดคล้องกันกับสภาวะสุขภาพแย่และสมองเสื่อม

การติดตามกลุ่มอาสาสมัครตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2020 อาสาสมัครที่มีอายุเฉลี่ย 81.4 ปี คือจำนวนอยู่ที่ 1400 คนและรายงานในปี 2022 บอกว่า ถ้านอนบ่อยนอนนานทำให้เห็นว่า เริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม Alzheimer โดยเริ่มต้นการติดตามมีคนปกติ 76 เปอร์เซ็นต์ เริ่มมีอาการก้ำกึ่ง 20 เปอร์เซ็นต์ และมี Dementia สมองเสื่อมแล้ว 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อตรวจเช็คไปยัง คนปกตินอน 11 นาที คนที่สมองเริ่มอยู่ระหว่างการนอน 24 นาที และคนที่มีสมองเสื่อม Dementia จะนอนกลางวันนานถึง 69 นาทีต่อหนึ่งวัน นอนนานนอนบ่อย “เสี่ยง” สมองเสื่อม เมื่อติดตามอาสาสมัครที่เริ่มต้นปกติและเกิดสมองเสื่อมใน 6 ปีพบว่า

1.ถ้านอนนานกว่า 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยง 40 เปอร์เซ็นต์

2.ถ้านอนบ่อยมากกว่าหนึ่งครั้ง จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ผลการทดลองนั้นเชื่อมโยงกันกับรายงานเมื่อปี 2019 ที่ศึกษาในกลุ่มของเพศชาย และพบว่าถ้านอนกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อม Dementia มากกว่ากลุ่มที่นอน 30 นาทีต่อหนึ่งวัน ปกติแล้ว การนอนหลับกลางวัน เป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ เพื่อชดเชยการนอนตอนกลางคืนที่ไม่พอ

ภาพประกอบข่าว การนอนหลับระหว่างวันทำงาน

การนอนหลับกลางวันตามธรรมชาติแล้วจะพบในกลุ่มที่มีการนอนไม่มีคุณภาพ หรือกลุ่มของคนที่ทำงานไม่ตรงเวลา ข้อสำคัญที่สุดคือกลุ่มของคนที่มีโรคประจำตัว Metabolic รวมถึงกลุ่มที่เป็นแล้วหรือกำลังจะเป็น โดยเฉพาะกลุ่มที่คนในครอบครัวมีคนป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม Dementia อยู่แล้ว

และพวกเขานั้นก็อาจจจะมีเชื้อสมองเสื่อมกำลังเติบโต ดังนั้นการนอนกลางวันบ่อยและทำเป็นประจำ จะจำต้องวิเคราะห์สุขภาพ และไปหาสาเหตุที่ทำให้การนอนในเวลากลางคืน ไม่มีคุณภาพมันมาจากสาเหตุอะไร มีการใช้ยา หรือดื่มแอลกอฮอร์ สูบบุหรี่ หรือหายใจติดขัดทำให้ออกซิเจนไม่ไปสมองไม่ได้หรือไม่

1.ระยะเวลาในการนอนที่ดี อยู่ที่ 6 ถึง 8 ชั่วโมง

2.โดยมีจะช่วงหลับลึกอยู่ที่ 13 ถึง 23 เปอร์เซ็นต์

ภาพประกอบข่าว ความเสี่ยงโรคสมองเสทื่อมที่เกิดจากการนอนระหว่างวัน