Monday, 25 November 2024

ฮอร์โมนเครียด เจ้าของ-สุนัข ปรับถ่ายเข้าหากัน

เรื่องน่ารู้วันนี้จะเกี่ยวข้องกับสัตว์โลกน่ารัก เจ้าตูบสัตว์เลี้ยงผู้ซื่อสัตย์นั่นเอง ล่าสุ นักวิจัยออกมาเปิดเผยว่า ฮอร์โมนเครียด ที่เกิดขึ้นกับผู้เป็นเจ้าของจะส่งผลให้สัตว์เลี้ยงหรือเจ้าตูมนั้นได้รับควารมรู้สึกดังกล่าวตามไปด้วย ทดสอบแล้วเป้นเรื่องจริง

สล็อต xo Slotxo

ผลวิจัยเผย ฮอร์โมนเครียด เจ้าของเครีย สุนัขเครียดตาม แต่สุนัขเครียด ไม่ส่งผลต่อเจ้าของ

ผลวิจัยเผย ฮอร์โมนเครียด เจ้าของเครีย สุนัขเครียดตาม แต่สุนัขเครียด ไม่ส่งผลต่อเจ้าของ

ฮอร์โมนเครียดในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้โดยง่ายดายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เจอในที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆนาๆ และความเครียด ความกังวลใจที่เกิดขึ้นนั้นมันก็มีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงได้อีกด้วย แต่เรื่องนี้หลายคนยังไม่รู้..และโดยเฉพาะ “สุนัข” จากผลการวิจัยบอกว่าฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่เป็นฮอร์โมนความเครียดนั้นทำให้อารมร์ของสุนัขที่คุณเลี้ยงไว้เปลี่ยนไปตามเจ้าของ ถ้าคุณสุขมันก็สุขด้วย แต่หากคนเศร้ามันก็เศร้าด้วยเช่นเดียวกัน

รายงานการศึกษาค้นคว้าจาก Linköping University ประเทศสวีเดน โดยงานวิจัยนี้ถูกนำไปตีพิมพ์ลง Scientific Reports โดยฮอร์โมนความเครียดมันจะมีการไปตกค้างในเส้นผมและขนทั้งของมนุษย์และสุนัขที่เลี้ยงเอาไว้ด้วย ทั้งสัตว์และคนมักจะมีความรู้สึกเครียดตกค้างในแบบเดียวกัน เมื่อเจ้าของสุนัขเกิดความวิดตกกังวลหรือวิตกจริตพวกเขาจะมีความอ่อนไหวง่าย

เจ้าหน้าที่ทีมวิจัยได้มีการทำการทดลองกับคนและเจ้าตูบ จำนวน 58 คน และ 58 ตัว ซึ่งสุนัขที่ได้ทำการทดสอบนั้นเป็นสายพันธุ์ Shetland sheepdog จำนวน 33 ตัว และสุนัขสายพันธุ์ Border Collie จำนวน 25 ตัว

เริ่มการทดลองเจ้าของสุนัขต้องทำการตอบคำถามในแบบประเมินทางอารมณ์-บุคลิกภาพ รวมไปถึงข้อมูลที่สำคัญในส่วนอื่นที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าตูบ ก่อนจะมีการติดตามและวัดผลระเข้มข้นฮอร์โมนคอร์ติซอลที่อยู่ภายในเส้นผมคนที่เป็นเจ้าของสุนัข โดยการทดลองนี้เกิดขึ้นในหน้าร้อนไปหาหน้าหนาว ปี 2017-2018 และมีการรวบรวมเอาเส้นขน/ผมมาเปรียบเทียบกันระหว่างของคนและของสุนัข

เมื่อมนุษย์เครียด สุนัขจะเครียดตาม แต่มันจะรับรู้เฉพาะเจ้าของตัวจริงคนเดียวเท่านั้น

ตามปกติแล้วคนและสัตวเลี้ยงจะมีการผลิตฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งถ้าพวกเขาอยู่ในสภาวะที่เกิดความเครียด หรือ วิตกกังวล ตกใจ และหวาดกลัว  ภาวะความเครียดจะทำให้เส้นผมหรือขนมีการงอกออกมาได้ยาวน้อยลง และต้องใช้เวลา

ปัจจัยที่อยู่รอบตัวมันมีผลต่อความเครียด ของสุนัขนั่นเอง โดยความเครียดที่เกิดขึ้นกับสุนัขได้เฉพาะความเครียดที่เกิดขึ้นกับเจ้าของมันเท่านั้น ไม่ว่าจะมีการเลี้ยงสุนัขอื่นหรือคนอื่นมาอยู่ที่บ้านหลังเดียวกันและเกิดความเครียดขึ้น มันจะไม่เป็นผลต่อสุนัข เพราะไม่ใช่เจ้าของมัน

ทั้งนี้ ทางด้านของ ดร.ลีนา รอธ ที่เป็นหัวหน้าทีมวิจัยได้ออกมากล่าวว่า อย่างไรก็ตามเมื่อตูบเอง ครั้งที่มันเกิดความเครียด ความเครียดนั้นจะไม่ส่งผลต่อเจ้าของที่เป็นมนุษย์ แต่ความเครียดของมนุษย์จะส่งผลและแพร่สู่มันเสมอ หากพวกมันได้กลิ่นตัวของเจ้านาย หรือ จังหวะการเดิน ลมหายใจที่ผิดปกติไปเพียงเล็กน้อย และบางครั้งที่เจ้าของเผลอกัดเล็บมือ

มันเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อที่เจ้าตูบสามารถอ่านใจเจ้าของได้ มันสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้อย่างง่ายดายเพียงการเปลี่ยนไปของเราเล็กน้อย และจากผลการวิจัยยังมีการระบุด้วยว่าเจ้าตูบหรือสัตว์ลี้ยงนั้นมีความเห็นใจต่อมนุษย์คาดไม่ถึง