Monday, 25 November 2024

นักวิจัยทดลองประเมิน “ผู้พิพากษา” และ “AI” ในกระบวนการความยุติธรรมสูงสุด ว่าใครทำหน้าที่ตัดสินคนได้ดีกว่ากัน?

20 Oct 2022
299

Lifestyle นักวิจัยทดลองประเมิน ผู้พิพากษาและ AI ว่าใครทำหน้าที่ตัดสินว่าจะให้ “นอนคุก” หรือให้ “ประกันตัว” ผู้ต้องหาได้ดีกว่ากันในกระบวนการความยุติธรรมสูงสุด ผลการวิจัยชี้ในปี 2017 โดยนักวิจัยจากหลายสถานบันบอกว่า!! เครื่องจักรสามารถตัดสินได้ดีกว่ามนุษย์

สล็อต xo Slotxo

ผู้พิพากษาและ AI ใครทำหน้าที่ตัดสินว่าจะ “คุมขัง” หรือให้ “ประกันตัว” ได้ดีกว่ากัน ผลการวิจัยชี้!! เครื่องจักรสามารถตัดสินได้ดีกว่ามนุษย์

ผู้พิพากษาและ AI ใครทำหน้าที่ตัดสินได้ดีกว่ากัน

ในกระบวนการตัดสินสูงสุดทุกคนย่อมต้องการความยุติธรรมที่สุด แต่คุณเคยสงสัยไหมว่ามนุษย์เมื่อเทียบกับ Algorithm ใครทำหน้าที่ตัดสินคนได้ดีกว่ากัน? และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการศึกษาหัวข้องานวิจัยที่ใช้ชื่อว่า “การตัดสินของมนุษย์และการคาดเดาของเครื่องจักร” งานวิจัยชิ้นนี้ถูกทดลองขึ้นเมื่อปี 2017 โดย

  1. Sendhil Mullainathan นักเศรษฐศาสตร์ จาก Harvard University
  2. Jon Kleinberg ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ระดับสูง จาก Harvard University
  3. Himabindu Lakkaraju จาก Harvard University
  4. Jure Leskovec จาก Harvard University
  5.  Jens Ludwig ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการประกันตัว จาก The University of Chicago, UChicago

โดยนักวิจัยกลุ่มนี้นั้นได้ทำการทดลองนำเอาข้อมูลมาเทียบเคียงกันโดยการใช้สมองคอมพิวเตอร์ (Machine learning) มาเทียบกันกับสมอง (ผู้พิพากษา) ในการทดสอบว่าควรจะคุมขังผู้ถูกกล่าวหาในช่วงที่กำลังรอการพิจารณาคดีว่าจะอนุมัติปล่อยตัวชั่วคราวหรือถูกสั่งขัง

งานวิจัยดังกล่าวนั้นถูกทดลองอยู่ที่สหรัฐฯ ที่ในแต่ละปีมีประชาชนถูกจับมากกว่า 10 ล้านคน และกระบวนการยุติธรรมที่ต่างประเทศก็คือ หลังจากถูกจับกุม คนที่ถูกกล่าวหาสามารถขอประกันตัวได้ โดยไม่ต้องถูกส่งไปคุมขังในเรือนจำในช่วงที่พวกเขานั้นรอการพิจารณาคดี แต่ต้องวางเงินหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันเอาไว้จำนวนหนึ่ง และถ้าคนที่มีเงินไม่มากพอและไม่มีของมาวางค้ำปประกันก็มักถูกส่งตัวไปขัง หรือบางกรณีที่ผู้พิพากษาเห็นว่าถ้าให้เขาประกันตัวออกไปแล้วอาจมีผลต่อรูปคดี ก็อาจตัดสินใจไม่ให้ประกันตัวเหมือนกัน

ผลการวิจัยชี้!! เครื่องจักรสามารถตัดสินได้ดีกว่ามนุษย์

ดังนั้นงานหนักมันก็เลยตกมาอยู่ในมือของผู้พิพากษาเพียงคนเดียว เพราะผู้พิพากษาต้องทบทวนและพิจารณาพร้อมกันว่า ถ้าอนุญาติปล่อยตัวไปแล้วเขาจะไม่มาทำคดีต่อหรือเปล่า และถ้าปล่อยตัวไปแล้วจะกลับมากระทำความผิดซ้ำสิงอีกไหม แต่ถ้าไม่ปล่อยตัวไปแล้วถ้าเขาเป็นคนที่ไม่มีความผิดเขาก็แจจะต้องนอนคุกยาวๆโดยที่ไม่มีโอกาสได้ไปพบเจอหน้าคนนในครอบครัว และบางครั้งพวกเขาอาจจะมีลูกที่ยังเด็กที่ต้องการความดูแลก็เป็นไปได้ เพราะส่วนมากแล้วผู้ถูกกล่าวหาอาจถูกขังอยู่ในเรือนจำนานหลายเดือนกว่าที่จะมีการไต่สวนหรือตัดสินคดี

นักวิจัยใช้นคร New York เป็นพื้นที่ทดลองโดยนักวิจัยนั้นได้ไปเก็บข้อมูลสถิติผู้ต้องหาจำนวน 554,689 คน ซึ่งมีการยื่นเรื่องขอประกันตัวในช่วงปี 2008-2013 จากนั้นกลุ่มนักวิจัย Mullainathan ได้นำข้อมูลที่พวกเขาได้รับมาไปป้อนให้กับ Artificial Intelligence และระบบการเรียนรู้ Machine learning ที่เป็นสมองจำลองที่ได้รับคำสั่งให้วัดผลว่าควรอนุญาติการประกันตัวให้ผู้ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวคนไหนบ้าง

ข้อมูลที่เอาเข้าไปให้ระบบสมอง Computer เป็นข้อมูลเหมือนกันกับที่อัยการส่งให้กับผู้พิพากษาพิจารณา ที่มีทั้งอายุเพศและประวัติการกก่ออาชญากรรมของผู้ต้องหาครบถ้วนทุกอย่าง แล้วให้สมอง Computer นั้นวิเคราะห์และสร้างรายชื่อว่าใครสมควรได้ประกันตัวชั่วคราว จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงของสมอง Computer ไปเปรียบเทียบกับคำพิพากษาของผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ เพื่อเปรียบเทียบว่ารายชื่อผู้ได้ประกันตัวของใครที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างถูกปล่อยตัว และมาขึ้นศาลตามนัดมากหรือน้อยกว่ากัน

นักวิจัยทดลองประเมิน “ผู้พิพากษา” และ “AI” ในกระบวนการความยุติธรรมสูงสุด

ผู้พิพากษาและ Brain computer มีข้อมูลประกอบการตอบสอบข่้อมูลคดีที่เหมือนกันและรับทราบประวัติของผู้ต้องหาเช่นเดียวกันแต่ที่ต่างกันก็คือ ผู้พิพากษาจะได้ยินคำอธิบายของอัยการและทนายของผู้ต้องหา และได้เห็น ใบหน้าท่าทางของผู้ถูกกล่าวหาด้วยตาขของตัวเอง แต่ผลการทดลองที่ได้ออกมาก็คือกลุ่มคนที่ Brain computer ประเมินให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีโอกาสกระทำความผิดอีกครั้งไม่มากเท่ากับกลุ่มคนที่ผู้พิพากษาอนุญาติปล่อยตัวพวกเขาชั่วคราวมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มรายชื่อที่ Brain computer ประเมินเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและไม่ควรปล่อยตัว กลับได้รับการอนุญาติให้ประกันตัวโดยผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์มากถึง 48.5 เปอร์เซ็นต์

ผู้พิพากษาตั้งมาตรฐานสูงกว่า AI

โดย Sendhil Mullainathan กล่าวสรุปเอาไว้ว่า “การทดลองมราพวกเขานั้นจัดทำขึ้นมาในครั้งนี้นั้นสามารถอธิบายเอาไว้ได้ว่า ผู้พิพากษาไม่ใช่แค่ตั้งกฎระเบียบเอาไว้กักขังผู้ถูกกล่าวหาเอาไว้สูงมาก แต่ยังคัดกรองผู้ต้องหาผิดพลาดอีกด้วยเพราะผู้ต้องหาส่วนน้อยที่ถูกฝากขังนั้นเลือกกระจายความเสี่ยงตามการสันนิฐานล้วนๆ” และพวกเขานั้นยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า “ตัวแปรที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจำพวกนี้คือสิ่งซึ่งส่งผลให้ผู้พิพากษาสันนิฐานไปได้ไม่ตรงจุดอาทิสภาวะภายในเช่น “อารมณ์” หรือว่าท่าทางเฉพาะกรณีที่อาจดูยากเป็นพิเศษ เช่น ใบหน้าท่าทางของผู้ต้องหา สิ่งที่กล่าวมานี้แน่นอนว่ามันไม่ใช่แหล่งข้อมูลส่วนตัวที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ดีมาก เพราะมันกลับเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้เรานั้นสันนิฐานผิดพลาดไปได้ สิ่งที่สังเกตเห็นกลับสร้างคลื่นรบกวน ไม่ใช่สัญญาณที่แท้”

 ใครทำหน้าที่ตัดสินความผิดได้ดีที่สุด

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่งานวิจัยที่สร้างขึ้นมาเพื่อนำมาวัดความสามารถในการตัดสินคดีระหว่างมนุษย์กับ Artificial Intelligence (AI)แต่จุดประสงค์จริงๆก็คือการพยายามทำความเข้าใจว่าการสันนิฐานของ Brain computer จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาการตัดสินของผู้พิพากษาได้อย่างไร ท้ายที่สุดนี้การลดอัตราผู้ถูกคุมขังอาจะช่วยลดจำนวนผู้ที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำให้ลดลงได้ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงที่ผู้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะกระทำผิดซ้ำหรือหลบหนีก่อนจะมีคำพิพากษาชี้ขาดด้วย