Lifestyle ทำไมมาพูดตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคำพูดนี้ไม่ควรเอามาใช้ถามหรือพูดกับ “คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ” เพราะเป็นเรื่องที่เราสามารถทำความเข้าใจได้ เพรมันคือเรื่องที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าที่คนที่ถูกกระทำนั้นจะกล้าพูดถึงเรื่องราวสุดแสนเจ็บช่ำ หรือสุดแสนทรมานที่ผ่านมาในอดีต
ทำไมมาพูดตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคำพูดนี้ไม่ควรเอามาใช้กับ “ผู้ถูกละเมิดทางเพศ” เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจและยอมรับมันได้
เมื่อเรื่องเกี่ยวกับคดีล่วงละเมิดทางเพศถูกพูดขึ้นมาในช่องทางต่างๆแน่นอนว่าส่วนมากจะมีพฤติกรรมการโต้ตอบเกิดขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งคนที่เข้าใจเห็นใต และมีทั้งคนที่พยายามหาทางแก้ไข–ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้อีก แต่ก็มีคนส่วยมากเช่นกันที่ชอบตั้งคำถามขึ้นมากับผู้ถูกกระทำว่าทำไมถึงเพิ่งออกมาพูด
เพราะบางเรื่องที่พูดมานั้นเกิดขึ้นนานแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นบอกว่ามันคือเรื่อง “ปกติ” ของคนที่ถูกล่วงละเมิดที่จะต้องผ่านกระบวนการทางจิตใจก่อนพวกเขาถึงจะสามารถยอมรับความจริงหรือเยียวยาตัวเองเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และก็ยังมีประเด็นทางสังคมอีกหลายข้อที่ทำให้พวกเขาเลือกที่จะ “เงียบ”
เมื่อช่วงที่ผ่านมาบนโลกออนไลน์นั้นได้มีประเด็นร้อนแรงที่ชาวเน็ตพูดถึงเป็นอย่างมาก หลังจากมีหญิงสาวคนหนึ่งออกมาเปิดเผยเรื่องราวในอดีตว่าเธอนั้นเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยคนที่เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาหนึ่งเมื่อปี 2560 จนเรื่องนี้ถูกชาวเน็ตแชร์เรื่องออกไปเป็นจำนวนมาก และก็มีผู้แสดงความคิดเห็นท้ายโพสต์ดังกล่าวที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
นอกจากความคิดเห็นของชาวเน็ตที่เข้ามาให้กำลังใจและบอกว่าเห็นใจคนที่ถูกกระทำ ก็ยังไม่วายมีคนเข้ามาตั้งคำถามในความคิดเห็นเชิงประมาณว่า ทำไมถึงปล่อยเวลาให้ผ่านเลยมาเนิ่นนานกว่าจะพูดถึงเรื่องนี้ และถึงแม้ว่าเจ้าของเรื่องราวจะอธิบายรายละเอียดเอาไว้อย่างค่อนข้างชัดเจน
แต่ถ้าเปรียบเทียบเรื่องที่เกิดขึ้นในตอนนี้กับกระแส #MeToo ที่ต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศในสหรัฐอเมริกา และมีการขับเคลื่อนจากคนใน Hollywood Entertainment Industry จนกระจายไปสู่ประเทศอื่นๆ จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ได้ถูกอธิบายไปก่อนหน้านี้นานหลายปีแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและที่ปรึกษาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศจำนวนมากที่ต่างประเทศ ต่างอ้างอิงผลสำรวจวิจัยในประเทศและยืนยันเหมือนกันว่า คนที่ถูกล่วงละเมิดส่วนมากจำเป็นจะต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าพวกเขาเหล่านั้นจะจัดการความรู้สึกของตัวเองที่มีเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นได้
เพราะคนที่ถูกกระทำเป็นส่วนมากจะมีความรู้สึกเศร้าเสียใจ อับอาย รู้สึกผิด และมองว่าเป็นความผิดที่เราสร้างขึ้นมาทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรผิด เนื่องจากหลายครั้งที่ผู้ก่อเหตุก็เป็นคนที่รู้จักกัน หรือไม่ก็เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงน่านับถือในสังคม หรือไม่ก็เป็นคนที่มีความสำคัญในชีวิตหรือหน้าที่การงาน
ในเว็บไซต์ Journalist Resource สื่อของ American เขียนเอาไว้ว่าทัศนคติของคนในสังคมส่วนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบคดี นิยมตั้งคำถามกับคนที่ถูกละเมิดแทนที่จะมองไปถึงการลงมือของผู้ก่อเหตุ เช่น การตั้งคำถามว่าตอนเกิดเหตุแต่งกายแบบไหนยั่วยวนเกินไปหรือไม่และทำไมถึงไม่ขัดขืน
ประเด็นดังกล่าวนั้นมีนักจิตวิทยาหลายคนออกมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การรับมือกับเรื่องแบบนี้ของมนุษย์เราแตกต่างกันออกไป เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถคุมสติและตอบโต้ได้ บางคนอาจตกใจจนไม่มีสติ บางคนถูกข่มขู่ว่าจะทำร้ายจนไม่กล้าต่อสู้ และบางกรณีผู้ที่ดิ้นรนขัดขืนยิ่งถูกทำร้ายอย่างหนักหรือถูกฆ่าปิดปาก
แต่การที่สังคมกับเจ้าหน้าที่ตั้งคำถามอย่างที่ว่ามานั้น ส่งผลทำให้คนที่ถูกล่วงละเมิดนั้นไม่อยากพูดถึงเรื่องที่เขานั้นตกเป็นเหยื่อ เพราะกลัวจะถูกคนรอบข้างมองเขาไปในทางที่ไม่ดี และอาจตัดสินเขาไปมั่วๆ และการจดจำเรื่องนี้ก็ไม่ชัดเจน เพราะคนที่ถูกล่วงละเมิดหลายคนนั้นอยากลืม
อย่างเช่นกรณีของฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) ที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้นหลังจากที่ประเด็น “MeToo” เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นการใช่สถานะทางสังคมบังคับและนำมากดดันผู้ที่ด้อยกว่า ชายคนดังกล่าวที่ว่าเขาคือผู้บริหารบริษัทผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของ Hollywood
ชายคนนี้นั้นถูกสังคมแฉว่าเขานั้นใช้อำนาจของเขามากดดันคนวงการบันเทิงที่เป็นดาราหรือพนักงานที่เป็นผู้หญิง ชายคนนี้นั้นจะต้องได้มีเพศสัมพันธ์กันกับคนที่เขาหมายปองเอาไว้ ถ้าหากเขาไม่ได้ดังที่เขาหวังไว้เขาก็จะใช้วิธีข่มขู่เรื่องหน้าที่การงานและบางทีก็สั่งแบนดารานักแสดงจนอนาคตดับไปได้จริงๆหลายคน
กว่าหญิงสาวที่ถูก Harvey Weinstein ล่วงละเมิดจะกล้าออกมาเราถึงเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไปเนินนานมากแล้ว และพวกเขานั้นยังต้องรอให้ถึงช่วงที่มีกระแสทางสังคมให้ผู้คนนนั้นออกมาช่วยกดดันชายคนนี้ และในช่วงนั้นก็มีคนดังที่มีอิทธิพลอีกจำนวนไม่น้อยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเช่นผู้บริหาร Fox News Channel ที่ถูกผู้ประกาศหญิงออกมาตีแผ่พฤติกรรม
ส่วนนักแสดงชายและ LGBTQ+ ที่ถูกล่วงละเมิดในวงการ Hollywood ก็มีมากมายเหมือนกัน โดยคนดังที่ถูกแฉว่าล่วงละเมิดพวกเขาเหล่านี้ที่เคยออกข่าวนั้นก็จะมี เควิน สเปซีย์ (Kevin Spacey) นักแสดงรุ่นใหญ่ที่โดนปลดจากซีรีส์เรื่อง House of Cards ทันทีหลังจากข่าวนี้ถูกเผยแพร่ออกมา
และนักแสดงหญิงที่เป็นแกนนำการเคลื่อนไหวในประเด็น #MeToo ก็โดนเองเหมือนกันคนที่ว่านั้นก็คือ เอเชีย อาร์เจนโต (Asia Argento) เธอคือหนึ่งในคนที่ถูกแฉว่าเธอนั้นเคยไปล่วงละเมิดทางเพศนักแสดงชายที่ยังเป็นเด็กอยู่ ส่วนกรณีล่าสุดก็คือ เบรนแดน เฟรเซอร์ (Brendan Fraser) นักแสดงนำจากภาพยนตร์ชุด The Mummy
เขาคือหนึ่งในคนที่โด่งดังที่ในอดีตเขาก็เองก็โดน และเขานั้นก็ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวให้สาธารณะชนรู้เมื่อไม่นานมานี้ว่าเขาเคยถูกผู้บริหารสมาพันธ์สื่อในสหรัฐฯลวนลามจนกลายเป็นแผลใจ และเขาก็ต้องการร้องเรียนเรื่องนี้ก็ทำให้งานในวงการของเขาหดหายไปทันตากว่าจะกล้าพูดออกมาก็ต้องใช้เวลานานหลายปี
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยมากมายที่ไปสอบถามนักโทษชายในเรือนจำของสหรัฐฯก่อนจะพบว่า มีนักโทษจำนวนไม่น้อยเลยที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศตอนที่ถูกขังเอาไว้อยู่ในนคุก แต่ที่พวกเขานั้นไม่กล้าพูดหรือกล้าบอกใครนั้นเป็นเพราะว่าพวกเขากลัวจะถูกเอาคืนหรือกลั่นแกล้งหนักมาขึ้น ส่วนบางคนนั้นให้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่พูดเรื่องนี้เป็นเพราะว่า พวกเขานั้นมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าอับอายและเสียศักดิ์ศรี
ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนเลยสรุปออกมาเหมือนกันว่าไม่ว่าใครก็อย่าไปตั้งคำถามว่า “ทำไม” คนที่ถูกล่วงละเมิดถึงปล่อยให้เรื่องมันผ่านมานานมากขนาดนี้ถึงยอมพูดเรื่องนี้ออกมา พร้อมแนะนำว่าควรคุยกันว่าต้องทำยังไงถึงจะป้องกันหรือเปลี่ยนทัศนคติของผู้ก่อเหตุหรือคนอื่นๆ ในสังคมให้ช่วยกันตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์ในการสืบคดี และควรจะทำให้กระบวนการนำตัวผู้ก่อเหตุมารับโทษให้มีคุณภาพมากขึ้นกว่านี้ และรวมถึงการหาแนวทางเยียวยาคนที่ถูกล่วงละเมิดให้มากขึ้นกว่าที่เคยเป็น
อย่างเช่นกรณีของสหรัฐฯ ที่ทางการนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายในหลายพื้นที่ เพื่อขยายอายุความดำเนินคดีการล่วงละเมิดทางเพศให้นานขึ้นกว่าที่ผ่านมา และมีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนที่ถูกล่วงละเมิดที่ต้องการดำเนินคดีแต่ไม่มีเงินในการดำเนินการ และก็มีการต่อสู้กับมายาคติเรื่องแต่งตัวโป๊ทำให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
จนนำมาสู่การรณรงค์เรื่อง What Were You Wearing? ที่องค์กรระหว่างประเทศให้คนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศตามสถานที่รมมเมืองต่างๆ ทั่วโลกนำเสื้อผ้าที่ตัวเองเคยสวมใส่ตอนเกิดเหตุมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการ เพื่อเป็นอุทาหรณ์และเป็นการเตือนใจให้ช่วยกันรถรงค์เรื่องนี้ให้มากขึ้น
จะเห็นได้อย่างชัดว่าเสื้อผ้าที่ผู้ถูกกระทำนั้นสวมใส่ก็ไม่ต่างจากที่คนทั่วไปสวมใส่กันเลยไม่ได้โป๊ะหรือยั่วยวนแต่อย่างไร ดังนั้นจึงมีการเน้นย้ำว่าประเด็นที่ควรตั้งคำถามไม่ได้อยู่ที่เครื่องแต่งกายของคนที่ถูกละเมิด แต่ควรจะตั้งคำถามถึงทัศนคติของผู้ก่อเหตุว่าเข้าใจเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือไม่
เรื่องแบบนี้กว่าจะเกิดขึ้นในประเทศที่เคร่งครัดเรื่องการเคารพสิทธิก็ยังต้องใช้เวลานานหลายปี แถมยังต้องอาศัยความกล้าของคนที่ถูกละเมิดให้สามารถก้าวขาข้ามผ่านปมที่อยู่ในใจตัวเองให้ได้ เพื่อออกมาพูดเรื่องนี้ด้วยยิ่งในยุคโลกออนไลน์แพร่หลายก็คงไม่มีใครไปควบคุมความคิดเห็นของผู้คนในสังคมได้ และต้องมีคำถามที่บาดใจจากคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้รวมอยู่ด้วย
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์