Saturday, 23 November 2024

ทำไม!? คนบางคนถึงคิดว่าตัวเอง “ฉลาด” ที่สุด โดยที่คิดไปเอง!?

18 Feb 2023
187

ไลฟ์สไตล์ คิดว่าตัวเองฉลาดที่สุด ทำไมความคิดแบบนี้ไปอยู่กับคนบางกลุ่มได้ ทั้งๆที่คนๆนั้น “ไม่ได้ฉลาก” มากที่สุดอย่างที่พวกเขานั้นคิดไปเอง บอกเลยใครที่เคยพบเจอคนลักษณะแบบนี้ต้องห้ามพลาด แวะเข้ามารับชมเรื่องราวที่เรานำมาให้ดูในวันนี้ก่อน เพื่อที่เราจะเข้าใจเขามากขึ้น

สล็อต xo Slotxo

คิดว่าตัวเองฉลาดที่สุด ทำไมความคิดแบบนี้ไปอยู่กับคนบางกลุ่มได้

คิดว่าตัวเองฉลาดที่สุด-ทั้งที่มันไม่ใช่

ในหนึ่งครั้งของการใช้ชีวิตน่าจะมีสักครั้งที่เราต้องไปวุ่นวายกับคนที่คิดว่าตัวเอง ‘ฉลาดมากที่สุด’ หรือไม่ก็อาจจะเจอคนที่แสดงความคิดเห็นเหมือนกับว่าตัวเองเป็น ผู้เชี่ยวชาญ ในทุกด้วนรู้ทุกเรื่อง ก่อนที่เราจะพบว่าคนคนนั้น ไม่ได้ฉลาด กว่าใคร แต่อาจจะมีความมั่นใจที่เกินความรู้ความสามารถของตัวเองไปมาก และเรื่องแบบนี้มีคำอธิบายได้หลายอย่าง

1.มีอาการของโรคหลงตัวเอง

เคิร์ก ฮอนดะ (Kirk Honda) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของ Seattle University ในสหรัฐอเมริกา พูดถึงเรื่องนี้กับสังคมชาวอเมริกันที่ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงมีคนที่เชื่อหรือคิดว่าตัวเอง ฉลาดกว่าคนอื่นอยู่เสมอ ซึ่ง Kirk Honda มองว่านี่อาจเป็นตัวบ่งชี้อาการของคนที่เป็นโรคหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder) ที่เป็นความผิดปกติด้านบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง

คนที่มีอาการดังกล่าวนั้นชอบเอาตัวเองมาเป็นที่ตั้งจุดศูนย์กลางในเกือบทุกเรื่อง และไม่ยอมรับคำติชฉินหรือแนะนำความเห็นมากมายจากใครสักคน แต่แท้ที่จริงแล้วสาเหตุของปมนี้เกิดจากความไม่มั่นใจและไม่เคารพในตัวเอง จึงเกิดกลไกทางจิตใจที่จะข่มเห่งคนรอบข้างให้รู้สึกแย่หรือด้อยกว่าตัวเอง ทำให้เขาโอ้อวดว่าฉลาดคนอื่นๆ เพื่อจะปกปิดความรู้สึกทางใจของตัวเอง

ทำไม!? คนบางคนถึงคิดว่าตัวเอง “ฉลาด” ที่สุด โดยที่คิดไปเอง!?

2.เพราะ ‘รู้น้อย’ แต่เข้าใจว่าตัวเอง ‘รู้มาก’

สาเหตุรองที่ทำให้คนบางกลุ่มรู้สึกว่าตัวเอง ฉลาด และแสดงความคิดเห็นในทุกๆเรื่องราวกับตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน เป็นเพราะคนกลุ่มดังกล่าวไม่รู้ว่าตัวเองไม่ได้มีความรู้เชิงลึกที่แท้จริงแม้แต่เรื่องเดียว แต่อาศัยว่ารู้เรื่องพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ บางอย่าง จึงเข้าใจว่าตัวเองรู้ทุกอย่างแล้ว และเกิดความเชื่อมั่นซึ่งสวนทางกับความสามารถที่แท้จริงของตัวเอง

จนมีพฤติกรรมที่ถูกคนรอบข้างเรียกหรือตั้งฉายาให้ว่าเป็นคน ‘อวดฉลาด’ อยู่เป็นประจำเพราะคนที่รู้น้อยแต่คิดว่าตัวเองรู้มากจนเกิดความมั่นใจที่ไม่ถูก ถูกชี้ให้เห็นด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยา  (Dunning-Kruger Effect) ซึ่งเป็นการสรุปผลจากการทดลองของ เดวิด ดันนิง (David Dunning) และ จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในปี 1999

ก่อนจะพบการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นการกระทำในกลุ่มคนที่ รู้น้อยที่สุด เพราะได้คะแนนต่ำสุดในการทดสอบวัดผลทางด้านภาษา อารมณ์ขัน และการใช้นิยาม ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการชี้วัดความสามารถทางปัญญา คนที่คิดว่าตัวเองทำคะแนนได้ดีที่สุด แท้จริงคือกลุ่มคนที่ทำคะแนนในการทดสอบต่างๆ ได้น้อยที่สุด

จนเกิดข้อสรุปว่าคนกลุ่มดังกล่าวนั้น ไม่ทราบว่าสิ่งที่ตัวเองรู้นั้นตื้นเขินหรือไม่ก็เป็นเพียงภาพลวงตาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง ทั้งยังมีผลข้างเคียงเพราะคนกลุ่มนี้จะไม่ยอมรับฟังข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่จะมาหักล้างสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นความจริง หรือเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง

เพราะ ‘รู้น้อย’ แต่เข้าใจว่าตัวเอง ‘รู้มาก’

3.ฉลาดกว่าจริงๆ จนไม่ไว้ใจใครเลย

เหตุผลข้อสุดท้ายก็คือคนที่ คิดว่าเขานั้นฉลาดที่สุด นั้นพวกเขา ฉลาดกว่าทุกคนจริงๆ แต่การควบคุมคิดและเชื่อมั่นความฉลาดแบบนี้ไม่ได้เป็นผลดีกับคนรอบข้างเลยสักนิด เพราะ Peter Gordon)นักจิตวิทยาชาวอเมริกันอธิบายเรื่องนี้ว่า คนที่ฉลาดกว่าคนอื่นในทุกๆ เรื่องนั้นไม่มีอยู่จริง

เพราะอาจจะ ฉลาดที่สุด แค่ในเรื่องบางเรื่องเท่านั้น และความคิด (หรือความเชื่อ) ว่าเขานั้น ฉลาดที่สุด จะทำลายสุขภาพจิตของตัวเองที่คิดหรือเชื่อมั่นอย่างนั้นไปเรื่อยๆ โดยที่ตัวเองไม่รู้ตัวเลย คนที่ฉลาด หรือเชี่ยวชาญในเรื่องบางเรื่อวมากกว่าคนอื่นจึงมักจะลงเอยที่การ ‘ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง’เพราะความไม่ไว้ใจเนื้อเชื่อใจใครว่าจะทำได้ดีเท่ากับที่ตัวเองทำ

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ดีต่อการบริหารจัดการความสัมพันธ์ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงานหรือที่ไหนก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงมีคำแนะนำถึงคนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น ให้ลองทบทวนพฤติกรรมและความสามารถของตัวเองอย่างจริงจังอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้มี อาการหลงตัวเอง หรือ คิดว่าตัวเองเก่งที่สุด

และในกรณีที่พบว่าตัวเอง ‘ฉลาดมาก’ ในบางด้านจริงๆ ก็ควรจะทำความเข้าใจว่าคนรอบข้าง ก็อาจเจอกับปัญหาหรือมีข้อจำกัดหลายเรื่อง ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าใจหรือรับรู้บางเรื่องได้เท่าเรา ซึ่งทางแก้ไม่ได้อยู่ที่การเข้าไปจัดการกับสิ่งต่างๆ เอง แต่ควรให้คำแนะนำหรือฝึกฝนคนที่ยังขาดทักษะ ให้เข้าใจและเกิดการเรียนรู้หรือพัฒนาด้วยตัวของเขาเอง