Friday, 22 November 2024

พระราชวังบัคกิงแฮมแถลงว่าอังกฤษจะไม่นำเพชร Koh-i-Noor มาใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษก

ข่าวต่างประเทศ อังกฤษจะไม่นำเพชร Koh-i-Noor “โค-อิ-นัวร์” เพชรเม็ดงามที่เป็นประเด็นร้อนมาหลานศตวรรษ มาใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก King Charles III “กษัตริย์ชาร์ลส์” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 6-7-8 พฤษภาคม 2023 ที่กำลังจะมาถึงนี่

สล็อต xo Slotxo

อังกฤษจะไม่นำเพชร “โค-อิ-นัวร์” ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก King Charles III

อังกฤษจะไม่นำเพชร “โค-อิ-นัวร์” ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก King Charles III

พระราชวัง Buckingham ประกาศออกมาว่าจะไม่นำ “เพชรโค-อิ-นัวร์” Koh-i-Noor เพชรเม็ดงามที่เป็นประเด็นร้อนมาหลานศตวรรษ มาใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษก King Charles III โดย Queen Camilla จะทรงมงกุฏของ Queen Mary แทน ซึ่งมงกุฏนี้จะถูกนำออกจากหอคอยแห่งลอนดอนเพื่อปรับขนาดสำหรับพิธีราชาภิเษกในวันที่ 6 พฤษภาคม 2023 นี้

นี่เป็นครั้งแรกที่มงกุฎโบราณที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้จะถูกนำมาทำหน้าที่สำหรับพิธีราชาภิเษก เนื่องจากว่าเพชรจำนวนมหาศาลจากบรรดาเครื่องประดับอัญมณีของ Queen Elizabeth II จะถูกเพิ่มเข้าไปด้วย Queen Camilla ซึ่งจะได้รับการทรงมงกุฎเคียงข้าง King Charles Westminster Abbey ต้องถูกยกเลิกพระราชกรณียกิจในสัปดาห์นี้ เพราะติดเชื้อโควิด

พระราชวังบัคกิงแฮมแถลงว่าอังกฤษจะไม่นำเพชร Koh-i-Noor มาใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษก

โค-อิ-นัวร์” Koh-i-Noor หนึ่งในเพชรเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่กรรมสิทธิ์การครอบครองเพชรเม็ดดังกล่าวถูกนำมาพูดถึงจนกลายเป็นประเด็นร้อนอย่างยาวนาน และมีความกังวลว่าจะเกิดข้อถกเถียงกันทางการทูตกับอินเดีย ถ้าหากนำเพชรเม็ดดังกล่าวนั้นออกมาใช้งานอีก

อินเดียได้อ้างว่าคือผู้ครอบบครองนับครั้งไม่ถ้วนว่ามันเป็นของที่มาจากประเทศตน ซึ่งใช้ในพิธีราชาภิเษกของ Her Majesty Queen Elizabeth II พระราชวัง Buckingham แถลงว่า Queen Camilla จะทรงสวมมงกุฎ Queen Mary และอ้างว่าการนำมงกุฎกลับมาใช้ใหม่นั้นอยู่ใน ด้วยเหตุผลด้านความยั่งยืนและความคุ้มค่า

อังกฤษจะไม่นำเพชรอินเดียของQueen Elizabeth II มาใช้

เพื่อเป็นการรำลึกถึง Queen Elizabeth II ผู้ล่วงลับ มงกุฎจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยใช้เพชรจาก collection เครื่องประดับส่วนพระองค์ โดยใช้เพชรที่เรียกว่า Cullinan ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เพชรกลุ่มดังกล่าวจะถูกนำมาจากเพชร Cullinan ที่ค้นพบในแอฟริกาใต้ เป็นเพชรที่ Queen Elizabeth II ผู้ล่วงลับเคยนำมาประดับเป็นเข็มกลัด

King Charles III จะทรง St. Edward’s Crown ที่ถือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำคัญใน Coronation of the British monarch มานานมากกว่า 350 ปี ซึ่งมงกุฎดังล่าวนั้นจะถูกนำกลับมาจัดแสดงที่ Tower of London หลังจากได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับ King Charles III

Queen Camilla จะทรงสวมมงกุฎ Queen Mary

มงกุฎดังกล่าวนั้นถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเพื่อ King Charles III เมื่อปี 1661 เพื่อทดแทนมงกุฎอันเดิมที่เคยถูกนำมาใช้งาน ซึ่งถูกทำลายแหลกสลายไปแล้วหลังจากสงครามกลางเมืองในอังกฤษ Queen Elizabeth II  ผู้ล่วงลับทรง St. Edward’s Crown ในระหว่างพิธีราชาภิเษก แต่พระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ได้เลือกใช้มงกุฎขนาดเล็กกว่าหรือสั่งทำขึ้นใหม่

หมายกำหนดการพระราชพิธีราชาภิเษก“กษัตริย์ชาร์ลส์”

หมายกำหนดการพระราชพิธีราชาภิเษก“กษัตริย์ชาร์ลส์”

ในวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2023

  • พิธีราชาภิเษกในเวสมินสเตอร์แอบบีส์
  • ขบวนรถบรมราชาภิเษก
  • ปรากฏพระองค์ที่ระเบียง Buckingham Palace

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2023

  • คอนเสิร์ตและการแสดงแสงสีเสียงที่ Windsor Castle
  • ปาร์ตี้มื้อกลางวันตามท้องถนน

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม

  • วันหยุดพิเศษ กิจกรรม Big Help Out
  • ปลุกระดมจิตใจให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการเป็นอาสาสมัครช่วยงานในชุมชน

อังกฤษจะไม่นำเพชร-Koh-i-Noor มาใช้ในงานของกษัตริย์ชาร์ลส์

โค-อิ-นัวร์” Koh-i-Noor เป็นเพชรที่มากมายหลากหลายเรื่องราวที่สร้างตำนานหลายเรื่องสุดแสนมีประเด็นฉาวตลอดช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา มีผู้ครอบครองมันจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่เหล่าบรรนดาเจ้าชายแห่งจักรวรรดิโมกุล หลายขุนศึกของอิหร่าน ผู้ปกครองมากหน้าแห่งอัฟกานิสถาน และมหาราชาหลายพระองค์ในปัญจาบ

เพชรขนาด 105 กะรัตเม็ดนี้ตกเป็นของ British Empire เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 19 และทุกวันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรที่ถูกตกแต่งเอาไว้ที่ยอดมงกุฏ ซึ่งจัดแสดงที่ tower of london  คนอินเดียจำนวนมากเชื่อว่าอังกฤษโจรกรรมเพชรเม็ดนี้มาจากพวกเขา

โค-อิ-นัวร์” Koh-i-Noor เพชรต้องห้าม

แม้ว่าสถานะของมันนั้นจะอยู่ห่างไกลจากการเป็นเพชรที่โตที่สุดในโลก หรือเพชรที่สวยงามซึ่งไร้ที่ติที่สุดในโลก แต่ประวัติศาสตร์ของ โค-อิ-นัวร์” Koh-i-Noor ก็ทำให้มันนั้นกลายเป็นประเด็นร้อนสุดฉาวมากที่สุด มีหลายทฤษฎีและตำนานเกี่ยวกับต้นกำเนิดของหินก้อนนี้ที่ยืดเยื้อมานานหลายปี

แต่นักประวัติศาสตร์นั้นลงความเห็นที่เหมือนกันทุกประการทุกคนว่า Nadir Shah ผู้ปกครองอิหร่าน ที่กรีฑาทัพบุกอินเดีย แล้วนำมาจากอินเดียในปี 1739 อัญมณีเม็ดนี้เปลี่ยนมือหลายครั้ง ก่อนที่จะได้รับการส่งต่อให้ผู้สำเร็จราชการอังกฤษในปี 1849 หลังจากการผนวกแคว้นปัญจาบ