Wednesday, 9 October 2024

ด่วน!! กระทรวงการคลัง ออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)

ข่าวล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ ผู้สื่อข่าวรายงาน กรณี กระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) เนื่องขาดสภาพคล่อง มีฐานะทางการเงินที่ไม่มั่นคง บริษัทมีหนี้เยอะกว่าสินทรัพย์ จ่ายสินไหมล่าช้า มีการขายกรมธรรม์ที่ผิดกฎหมาย

สล็อต xo Slotxo

บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ไร้สภาพคล่อง จ่ายสินไหมล่าช้า กระทรวงการคลัง ออกคำสั่ง เพิกถอนในอนุญาตประกอบธุรกิจ ด่วน!!

บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ไร้สภาพคล่อง จ่ายสินไหมล่าช้า กระทรวงการคลัง ออกคำสั่ง เพิกถอนในอนุญาตประกอบธุรกิจ ด่วน!!

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่ง ที่ 1936/2564 เรื่อง  เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจของ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)

ตามที่ปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)

(๑)มีฐานะการเงินไม่มั่นคงโดยมีประมาณการหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินมีสภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนอาจจะต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า บริษัท มีความสามารถในการชำระหนี้ตามภาระผูกพันที่มีห่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนได้

(๒)จ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้าอันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวังการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวัการคืนเบี้ยประกันภัยของ บริษัท ประกันวินาศภัยและยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้างจำนวนมากจนส่งผลกระทบต่อฐานะและการดำเนินการของ บริษัท ตลอดจนชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัย

(๓) มีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยเสนอราชกรมธรรม์ประกันภัยไม่เป็นไปตามแบบและข้อความที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลักฐานดังกล่าวนายทะเบียนจึงเห็นว่า บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนและมีเหตุสมควรที่จะสั่งให้หยุดรับประกันภัยวินาศภัยเป็นการชั่วคราวนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ มีคำสั่งที่ ๕๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔ สั่งให้ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ดำเนินการดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

ข้อ ๒ เพิ่มทุนหรือแก้ไขฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดภายในสามสิบวันนับ แต่วันได้รับคำสั่ง

ข้อ ๓ จัดทำรายงานสรุปรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยที่ บริษัท จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เช่น หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และจัดส่งรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยทุกวันทำการนับ แต่วันที่รับทราบคำสั่งและให้บันทึกรายการในสมุดทะเบียนสมุดบัญชีคำนวณและชำระเงินสำรองประกันภัยให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย

ข้อ ๔ บันทึกรายการทางทะเบียนแสดงรายการคำสินไหมทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

ข้อ ๕ เร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ข้อ ๖ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

(๑) ตามข้อ ๒ ทุกวัน

(๒) ตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ทุกวันทำการ

ทั้งนี้ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ บริษัท หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ห้ามมิให้กรรมการพนักงานและลูกจ้างของ บริษัท สั่งจ่ายเงินของ บริษัท หรือทำการเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของ บริษัท เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างของ บริษัท ตามปกติสำหรับการจ่ายเงินอื่นให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนดรวมถึงให้ บริษัท รายงานเป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบถึงบรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งหมดของ บริษัท ภายในระยะเวลานายทะเบียนกำหนด

ในกรณีที่ บริษัท ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาฐานะการเงินและการดำเนินงานตามคำสั่งนายทะเบียนได้อย่างครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดข้างต้นสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยจะนำเรียนคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ภายหลังจากที่นายทะเบียนได้ออกคำสั่งข้างต้นและให้ระยะเวลา บริษัท แก้ไขฐานะการเงินและการดำเนินการได้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อนายทะเบียนซึ่งรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้

(๑) รายงานทางการเงินของ บริษัท ปรากฏว่าในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ บริษัท มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ๒๙๕.๙๖ ล้านบาท และหากมีการบันทึกค่าสินไหมทดแทนครบถ้วน บริษัท อาจมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินถึง ๓,๕๔๓,๐๖ ล้านบาท เมื่อพิจารณาจากฐานะการเงินของ บริษัท แสดงให้เห็นว่า บริษัท ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยและกฎหมายกำหนดและไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัยที่ บริษัท มีภาระผูกพันที่มีอยู่กับผู้เอาประกันภัยได้อีกทั้งไม่มีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าวซึ่งนายทะเบียนกำหนดให้ บริษัท เรายงานทุกเจ็ดวันและจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยได้สอบถามและติดตามความคืบหน้าจาก บริษัท เกี่ยวกับการเพิ่มทุนหรือฐานะการเงินให้เพียงพอต่อภาระผูกพันและให้มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนเพียงพอจนถึงเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ ยังไม่ปรากฏว่า บริษัท มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อหารือแนวทางการเพิ่มทุนหรือการแก้ไขฐานะการเงินของ บริษัท รวมทั้งไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการร่วมทุนจากผู้ร่วมทุนรายอื่นประกอบกับในภายหลังหากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้เพิ่มทุนก็มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บริษัท ไม่สามารถดำเนินการเพิ่มทุนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดได้ทันภายในระยะเวลาสามสิบวันที่นายทะเบียนกำหนดจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏดังกล่าวทั้งหมดจึงแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า บริษัท มีฐานะการเงินไม่มั่นคงอันอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามมาตรา ๕๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕

(๒)บริษัท มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. หรือประกาศที่ออกหรือกำหนดตามความในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จึงสั่งการตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและประวังการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามมาตรา ๕๙ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้

(ก) บริษัท ไม่บันทึกรายการทางทะเบียนแสดงรายการค่าสินไหมทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบันภายในเจ็ดวันนับ แต่วันที่มีเหตุอันจะต้องลงรายการนั้นอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และปัจจุบันยังคงไม่ได้บันทึกรายการค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนมากกว่า ๑๙,๐๐๐ กรมธรรม์ประกันภัย ทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบภาระหนี้สินและฐานะการเงินที่แท้จริงของ บริษัท ได้

(ข)บริษัท ไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบกับข้อ ๓ (๕) ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวังการการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือประวังการคืนเบี้ยประกันภัยของ บริษัท ประกันวินาศภัยและคำสั่งนายทะเบียนที่ ๕๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔ ทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

(ค)เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยไม่เป็นไปตามแบบและข้อความที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดในเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย

(ง)ไม่นำส่งรายงานความคืบหน้าการบันทึกรายการในสมุดทะเบียนสมุดบัญชีการคำนวณและดำรงเงินสำรองประกันภัยให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายต่อนายทะเบียนทุกวันทำการอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนายทะเบียนที่ ๕๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔ ที่ออกตามความในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบภาระหนี้สินและฐานะการเงินที่แท้จริงของ บริษัท ได้

(๓) บริษัท เลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก คงเหลือพนักงานที่รับผิดชอบในงานด้านบัญชีและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่านั้นแสดงให้เห็นว่า บริษัท ไม่มีความพร้อมและความสามารถที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันภัยได้ต่อไปถ้าให้ประกอบธุรกิจประกันภัยจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชนตามมาตรา ๕๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕

จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลักฐานดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินมีฐานะการเงินไม่มั่นคงและไม่เพียงพอต่อภาระผูกพันมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดมันทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยมีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหลายประการและประวังการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องจ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควรทำให้ผู้เอาประกันภัยและประชาชนได้รับความเสียหาย บริษัท ไม่มีความสามารถและความพร้อมที่จะรับประกันภัยและประกอบธุรกิจประกันภัยได้ต่อไปถ้าให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือผู้เอาประกันภัยตลอดจนความน่าเชื่อถือของธุรกิจประกันภัยดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ (๑) (๒) (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกัน วินาศภัยบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) และหากบริษัทไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนี้ มีสิทธิ์เสนอคำฟ้องยื่นต่อศาลปกครองกลางภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง