Thursday, 9 May 2024

เมื่อนิยมคำว่า “ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า” นำไปสู่กรอบความเป็นชาย ที่คับแคบทำให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นชายยุคใหม่

10 Sep 2022
195

เมื่อนิยมคำว่า ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า สร้างความกดดัน นำไปสู่กรอบความเป็นชาย ที่คับแคบทำให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นชายยุคใหม่ ไลฟ์สไตล์ความเป็นชายตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศ ที่คอยพร่ำสอนกันมานั้นส่งผลให้เด็กผู้ชายเจนใหม่นั้นหนักอกหนักใจไม่น้อยเลย

สล็อต xo Slotxo

ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า เมื่อความเป็น “ชาย” สร้างความกดดันและทำร้าย “สุขภาพจิต” ของผู้ชายรุ่นใหม่

ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

จากงานวิจัยของ Joana Syrda นักวิจัยจาก University of Bath ในสหราชอาณาจักร นั้นบอกว่าเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างการเปรียบเทียบรายได้ของคู่สามีภรรยาหรือคู่รักที่อยู่ด้วยกัน และการเปรียบเทียบความเครียดในตัวผู้ชายพบว่า ในความเกี่ยวข้องของคู่รักชายหญิงเกี่ยวกับประเด็นรายได้เป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้ชายจะมีความสุขเมื่อเขานั้นได้อยู่ในจุดที่มีเอาไว้ให้เขาโดยเฉพาะ จุดที่ว่านั้นก็คือเขานั้นไม่ใช่คนที่หาเงินเข้าบ้านคนเดียว แต่เขานั้นคือคนที่หาเงินเข้าบ้านมากที่สุด

งานวิจัยดังกล่าวนั้นมาจากการสำรวจกลุ่มของคู่รักหรือคนรักที่พักอาศัยอยู่ด้วยกันประมาณหกพันคู่ ซึ่งแต่ละคู่ที่พวกเขาสำรวจนั้นอยู่ด้วยกันมานานมากกว่าสิบห้าปี ในการสำรวจนั้นนักวิจัยพบว่า ส่วนมากผู้ชายนั้นมีความเครียดสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วในการที่พวกเขานั้นต้องเป็นคนหาเงินเข้าบ้าน แต่ความเครียดของผู้ชายนั้นจะเพิ่มสูงมากขึ้น เมื่อผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับเขานั้นหาเงินเข้าบ้านได้มากกว่าผู้ชาย ความเครียดดังกล่าวอาจลดลงได้ หากพวกเขานั้นรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นว่า ผู้หญิงนั้นเป็นคนที่หาเงินได้มากกว่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เมื่อความเป็น “ชาย” สร้างความกดดัน

ตั้งแต่ก่อนเริ่มคบกันและตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะแต่งงานกัน โดยเส้นแบ่งที่ว่านั้นมันแบ่งเขตว่าหาได้มากเท่าไหร่มันถึงส่งผลทำให้ผู้ชายเกิดความเครียด ตัวอย่างจากการวิจัยนั้นบอกว่า ถ้าผู้หญิงหาเงินเข้าบ้านได้มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของรายรับทั้งหมดนั้นถึงจะสร้างความเครียดให้กับผู้ชายได้ แต่นี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องคิด เพราะประเด็นที่ต้องคิดคือ อะไรทำให้พวกผู้ชายเครียดได้มากขนาดนี้ แล้วมันเป็นเพราะอะไรที่ทำให้คนเครียดได้ทั้งๆ ที่การมีคนหาเงินมาให้นั้นมันดีจะตายออก

ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนว่าในอดีตนั้นผู้คนนั้นพูดเสมอว่า “ผู้ชายนั้นคือช้างเท้าหน้า” เพราะว่าคนสมัยโบราณนั้นมองว่าลักษณะร่างกายของผู้ชายนั้นน่าจะเป็นผู้นำผู้ล่ามากกว่า ซึ่งว่าคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นก็เห็นชอบตามความเชื่อนี้ พร้อมพร่ำสอนว่าสามีนั้นคือผู้นำ

ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า-นิยามโบราณ

แต่ถ้าว่าความเชื่อและคำสอนที่กล่าวมานั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้กับคนยุคสมัยนี้ เพราะว่ายุคนนี้ผู้คนนั้นไม่ต้องเดินป่า ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องออกล่าสัตว์ และโลกและสังคมยุคนนี้ก็ละทิ้งการแบ่งเพศแบบโบราณไปนานแล้ว ในปัจจุบันไม่ว่าเพศไหน ก็สามารถทำหน้าที่ทำงานและยืนอยู่ในสังคมได้ ดังนั้นการเลิกใช้มาตรฐานว่าผู้ชายนั้นคือช้างเท้าหน้าก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ชายในตอนนี้และในอนาคต แต่การจะทำให้มันกลายเป็นเรื่องจริงอย่างที่พูดน่าจะเป็นเรื่องที่ยาก

เพราะว่าบทบาทหน้าที่ความเป็นชายนั้นถูกปลูกฝั่งมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก และมันก็ถูกปลูกฝั่งมาอย่างยาวนาน เชื่อว่าทุกคนนั้นน่าจะได้ยินบทบาทหน้าที่ของผู้ชายกันมาทุกคนตั้งแต่เริ่มจำความได้ และมันก็ปลูกฝังข้าไปในตัวเองเพื่อสร้างตัวตนของเรามาตั้งแต่เริ่ม อย่างเช่น เป็นผู้ชายจะต้องเข้มแข็ง จะต้องสามารถยืนได้ด้วยตัวแอง และจะต้องแข็งแกร่งทำเพื่อครอบครัวได้ และถ้าหากว่าเรานั้นไม่รับในสิ่งที่ผู้ใหญ่พร่ำสอนมันก็กลายเป็นว่า เรานั้นไม่สามารถยืนด้วยตัวเองได้

จากงานวิจัยที่มีชื่อว่า Men’s Conformity to Traditional Masculinity and Relationship Satisfaction ที่ถูกทดลองขึ้นโดย (Shawn Burn) นักวิจัยจาก California State Polytechnic University, Pomona

ซึ่งว่างานวิจัยดังกล่าวนั้นบอกว่าพวกเขานั้นได้ให้อาสาสมัครทั้งผู้หญิงและผู้ชายมาร่วมร่วมทำแบบสอบถาม เกี่ยวกับความพึงพอใจในความสัมพันธ์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับผู้ชายในความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ว่าอาสาสมัครนั้นมีความเป็นชายมากน้อยเพียงใดเพื่อหาจุดเกี่ยวข้องกันของทั้งสอง

ผลสรุปการทดลองในครั้งนั้นบอกว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ชายที่เชื่อมั่นในความสัมพันธ์ตามประเพณีมากแค่ไหน การใช้ชีวิตคู่ของพวกเขานั้นยิ่งย่ำแย่ลง โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่มาจากเพศหญิง และมันนั้นก็แสดงให้เห็นว่ายิ่งผู้ชายนั้นยึดถือว่าตัวเองเป็นใหญ่มากแค่ไหน ความยากลำบากในการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นๆ นั้นยากเพิ่มขั้นอีกด้วย และการเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไปนั้นมันก็มักย้อนกลับมาทำร้ายตัวเองได้เสมอ

“สุขภาพจิต” ของผู้ชายรุ่นใหม่

Tania King นักวิจัยอาวุโส University of Melbourne ศึกษาเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความเป็นชายและความคิดอยากจบชีวิตตัวเองแล้วเขานั้นพบความจริงว่า ผู้ชายที่เชื่อและยึดถือกับขนบธรรมเนียมประเพณี  มีแนวโน้มว่าพวกเขานั้นมีโอกาสคิดสั้น นำไปข้อสรุปที่ออกมาว่า

กรอบความเป็นชายในยุคนี้ไม่มีความยืดหยุ่นมากพอ และมันนั้นก็สร้างความกดดันให้แก่วัยรุ่นชายรุ่นใหม่อย่างหนักหน่วง และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ในอนาคต ซึ่งมันก็ไม่ได้แปลกว่าผู้ชายจะต้องทิ้งความเป็นชายที่เคยถูกพร่ำสอนออกไปจนหมด เพราะหลายๆสิ่งหลายๆอย่างนั้นบทบาททางเพศก็ยังคงสำคัญอยู่ แต่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบใหม่หน่อย