Lifestyle นักวิจัยทดลองประเมิน ผู้พิพากษาและ AI ว่าใครทำหน้าที่ตัดสินว่าจะให้ “นอนคุก” หรือให้ “ประกันตัว” ผู้ต้องหาได้ดีกว่ากันในกระบวนการความยุติธรรมสูงสุด ผลการวิจัยชี้ในปี 2017 โดยนักวิจัยจากหลายสถานบันบอกว่า!! เครื่องจักรสามารถตัดสินได้ดีกว่ามนุษย์
ผู้พิพากษาและ AI ใครทำหน้าที่ตัดสินว่าจะ “คุมขัง” หรือให้ “ประกันตัว” ได้ดีกว่ากัน ผลการวิจัยชี้!! เครื่องจักรสามารถตัดสินได้ดีกว่ามนุษย์
ในกระบวนการตัดสินสูงสุดทุกคนย่อมต้องการความยุติธรรมที่สุด แต่คุณเคยสงสัยไหมว่ามนุษย์เมื่อเทียบกับ Algorithm ใครทำหน้าที่ตัดสินคนได้ดีกว่ากัน? และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการศึกษาหัวข้องานวิจัยที่ใช้ชื่อว่า “การตัดสินของมนุษย์และการคาดเดาของเครื่องจักร” งานวิจัยชิ้นนี้ถูกทดลองขึ้นเมื่อปี 2017 โดย
- Sendhil Mullainathan นักเศรษฐศาสตร์ จาก Harvard University
- Jon Kleinberg ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ระดับสูง จาก Harvard University
- Himabindu Lakkaraju จาก Harvard University
- Jure Leskovec จาก Harvard University
- Jens Ludwig ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการประกันตัว จาก The University of Chicago, UChicago
โดยนักวิจัยกลุ่มนี้นั้นได้ทำการทดลองนำเอาข้อมูลมาเทียบเคียงกันโดยการใช้สมองคอมพิวเตอร์ (Machine learning) มาเทียบกันกับสมอง (ผู้พิพากษา) ในการทดสอบว่าควรจะคุมขังผู้ถูกกล่าวหาในช่วงที่กำลังรอการพิจารณาคดีว่าจะอนุมัติปล่อยตัวชั่วคราวหรือถูกสั่งขัง
งานวิจัยดังกล่าวนั้นถูกทดลองอยู่ที่สหรัฐฯ ที่ในแต่ละปีมีประชาชนถูกจับมากกว่า 10 ล้านคน และกระบวนการยุติธรรมที่ต่างประเทศก็คือ หลังจากถูกจับกุม คนที่ถูกกล่าวหาสามารถขอประกันตัวได้ โดยไม่ต้องถูกส่งไปคุมขังในเรือนจำในช่วงที่พวกเขานั้นรอการพิจารณาคดี แต่ต้องวางเงินหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันเอาไว้จำนวนหนึ่ง และถ้าคนที่มีเงินไม่มากพอและไม่มีของมาวางค้ำปประกันก็มักถูกส่งตัวไปขัง หรือบางกรณีที่ผู้พิพากษาเห็นว่าถ้าให้เขาประกันตัวออกไปแล้วอาจมีผลต่อรูปคดี ก็อาจตัดสินใจไม่ให้ประกันตัวเหมือนกัน
ดังนั้นงานหนักมันก็เลยตกมาอยู่ในมือของผู้พิพากษาเพียงคนเดียว เพราะผู้พิพากษาต้องทบทวนและพิจารณาพร้อมกันว่า ถ้าอนุญาติปล่อยตัวไปแล้วเขาจะไม่มาทำคดีต่อหรือเปล่า และถ้าปล่อยตัวไปแล้วจะกลับมากระทำความผิดซ้ำสิงอีกไหม แต่ถ้าไม่ปล่อยตัวไปแล้วถ้าเขาเป็นคนที่ไม่มีความผิดเขาก็แจจะต้องนอนคุกยาวๆโดยที่ไม่มีโอกาสได้ไปพบเจอหน้าคนนในครอบครัว และบางครั้งพวกเขาอาจจะมีลูกที่ยังเด็กที่ต้องการความดูแลก็เป็นไปได้ เพราะส่วนมากแล้วผู้ถูกกล่าวหาอาจถูกขังอยู่ในเรือนจำนานหลายเดือนกว่าที่จะมีการไต่สวนหรือตัดสินคดี
นักวิจัยใช้นคร New York เป็นพื้นที่ทดลองโดยนักวิจัยนั้นได้ไปเก็บข้อมูลสถิติผู้ต้องหาจำนวน 554,689 คน ซึ่งมีการยื่นเรื่องขอประกันตัวในช่วงปี 2008-2013 จากนั้นกลุ่มนักวิจัย Mullainathan ได้นำข้อมูลที่พวกเขาได้รับมาไปป้อนให้กับ Artificial Intelligence และระบบการเรียนรู้ Machine learning ที่เป็นสมองจำลองที่ได้รับคำสั่งให้วัดผลว่าควรอนุญาติการประกันตัวให้ผู้ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวคนไหนบ้าง
ข้อมูลที่เอาเข้าไปให้ระบบสมอง Computer เป็นข้อมูลเหมือนกันกับที่อัยการส่งให้กับผู้พิพากษาพิจารณา ที่มีทั้งอายุเพศและประวัติการกก่ออาชญากรรมของผู้ต้องหาครบถ้วนทุกอย่าง แล้วให้สมอง Computer นั้นวิเคราะห์และสร้างรายชื่อว่าใครสมควรได้ประกันตัวชั่วคราว จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงของสมอง Computer ไปเปรียบเทียบกับคำพิพากษาของผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ เพื่อเปรียบเทียบว่ารายชื่อผู้ได้ประกันตัวของใครที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างถูกปล่อยตัว และมาขึ้นศาลตามนัดมากหรือน้อยกว่ากัน
ผู้พิพากษาและ Brain computer มีข้อมูลประกอบการตอบสอบข่้อมูลคดีที่เหมือนกันและรับทราบประวัติของผู้ต้องหาเช่นเดียวกันแต่ที่ต่างกันก็คือ ผู้พิพากษาจะได้ยินคำอธิบายของอัยการและทนายของผู้ต้องหา และได้เห็น ใบหน้าท่าทางของผู้ถูกกล่าวหาด้วยตาขของตัวเอง แต่ผลการทดลองที่ได้ออกมาก็คือกลุ่มคนที่ Brain computer ประเมินให้ปล่อยตัวชั่วคราว มีโอกาสกระทำความผิดอีกครั้งไม่มากเท่ากับกลุ่มคนที่ผู้พิพากษาอนุญาติปล่อยตัวพวกเขาชั่วคราวมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มรายชื่อที่ Brain computer ประเมินเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและไม่ควรปล่อยตัว กลับได้รับการอนุญาติให้ประกันตัวโดยผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์มากถึง 48.5 เปอร์เซ็นต์
โดย Sendhil Mullainathan กล่าวสรุปเอาไว้ว่า “การทดลองมราพวกเขานั้นจัดทำขึ้นมาในครั้งนี้นั้นสามารถอธิบายเอาไว้ได้ว่า ผู้พิพากษาไม่ใช่แค่ตั้งกฎระเบียบเอาไว้กักขังผู้ถูกกล่าวหาเอาไว้สูงมาก แต่ยังคัดกรองผู้ต้องหาผิดพลาดอีกด้วยเพราะผู้ต้องหาส่วนน้อยที่ถูกฝากขังนั้นเลือกกระจายความเสี่ยงตามการสันนิฐานล้วนๆ” และพวกเขานั้นยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า “ตัวแปรที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจำพวกนี้คือสิ่งซึ่งส่งผลให้ผู้พิพากษาสันนิฐานไปได้ไม่ตรงจุดอาทิสภาวะภายในเช่น “อารมณ์” หรือว่าท่าทางเฉพาะกรณีที่อาจดูยากเป็นพิเศษ เช่น ใบหน้าท่าทางของผู้ต้องหา สิ่งที่กล่าวมานี้แน่นอนว่ามันไม่ใช่แหล่งข้อมูลส่วนตัวที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ดีมาก เพราะมันกลับเป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้เรานั้นสันนิฐานผิดพลาดไปได้ สิ่งที่สังเกตเห็นกลับสร้างคลื่นรบกวน ไม่ใช่สัญญาณที่แท้”
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่งานวิจัยที่สร้างขึ้นมาเพื่อนำมาวัดความสามารถในการตัดสินคดีระหว่างมนุษย์กับ Artificial Intelligence (AI)แต่จุดประสงค์จริงๆก็คือการพยายามทำความเข้าใจว่าการสันนิฐานของ Brain computer จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาการตัดสินของผู้พิพากษาได้อย่างไร ท้ายที่สุดนี้การลดอัตราผู้ถูกคุมขังอาจะช่วยลดจำนวนผู้ที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำให้ลดลงได้ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงที่ผู้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะกระทำผิดซ้ำหรือหลบหนีก่อนจะมีคำพิพากษาชี้ขาดด้วย
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์