Friday, 26 April 2024

แนะนำ “การบำบัดอาการจิตเวช” ด้วยไฟฟ้า นักร้อง UrboyTJ ก็คือหนึ่งในคนที่เข้ารับการรักษาวิธีนี้

02 Jul 2022
205

แนะนำ “การบำบัดอาการจิตเวช” ความรู้จักวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ไฟฟ้าเข้าช่วยเหลือหรือที่เรียกกันว่า Electroconvulsive Therapy ซึ่งการรักษาแบบนี้หนุ่มเต๋านักร้องคนดังของเมืองไทยก็คือหนึ่งในคนที่เข้ารับการรักษาวิธีนี้ หลังจากพบเจอกับปัญหาสุขภาพที่วัยรุ่นวัยทำงานหลีกเลี่ยงได้ยาก ปัญหาสุขภาพที่ว่านั้นก็คือ “โรคซึมเศร้า”

สล็อต xo Slotxo

การบำบัดอาการจิตเวช ทำความรู้จักวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า Electroconvulsive Therapy

การบำบัดอาการจิตเวช -ด้วยไฟฟ้า

เมื่อไม่นานมานี้เชื่อว่าหลายๆๆคนนั้นคงทราบข่าวแล้วว่านักร้องวัยรุ่นชื่อดังของเมืองไทยอย่างหนุ่ม “ยัวร์บอยทีเจ จิรายุทธ ผโลประการ” ที่เขานั้นประกาศไม่รับงานเนื่อจากปัญหาสุขภาพที่หลีกเลี่ยง “โรคซึมเศร้า” ได้ยากนั้นเขาจึงจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธี Electroconvulsive therapy หรือวิธีการรักษาความเจ็บป่วยทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า

ทำความรู้จักวิธีรักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า

Electroconvulsive therapy คือการรักษาแบบไหนนะ…

Electroconvulsive therapy คือ หนึ่งในวิธีการช่วยผู้ป่วยที่มีอาการหรือผู้ป่วยภาวะโรคจิตโรคซึมเศร้า อีกหนึ่งช่องทางด้วยการนำเอากระแสไฟฟ้านั้นไปปลุกไปรบกวนระบบสมองให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการชัก เพื่อส่งผลให้การรักษาอาการทางจิตเวชดีขึ้น ต้องขออธิบายก่อนนะว่าโรคทางจิตเวช นั้นมาจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารเคมีที่อยู่ในสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้ นั้นคือสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นพบเจอกับเรื่องที่ผิดปกติในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ จนทำให้เกิดความเจ็บปวดความทุกข์ทรมาน ที่คนไทยของเรานั้นรู้จักกันในชื่อ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคแพนิก โรคจิตเภท โรคเครียด

Electroconvulsive therapy คือการรักษาแบบไหนนะ...

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจว่า

กลไกการรักษาด้วยวิธี ECT นี้นั้นมันส่งผลทำให้เกิดการแปรผันในสมองในตอนที่ผู้ป่วยมีอาการชัก นั้นจะเห็นได้ว่ามีเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น แถมเมตาบอลิสม์ก็มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น แถมยังพบว่ามีการใช้ออกซิเจน และกลูโคสมากขึ้น ภายหลังจากที่ผู้ป่วยชักเมตาบอลสม์จะนำเอาออกซิเจนกลูโคสและเลือดที่ไปไหลไปยังสมองนั้นจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะสมองส่วน Frontal lobe จะมีปริมาณลดลงอย่างมาก และภาวะที่ปริมาณการลดลงของ Metabolism นี้เอง คือส่วนสำคัญของการรักษาด้วยวิธีนี้

การบำบัดอาการจิตเวช -เมื่อไหร่ควรใช้กับผู้ป่วย

เมื่อใดที่แพทย์จะรักษาด้วยวิธี Electroconvulsive therapy

โดยปกติทั่วไปแพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้ในเวลาที่ผู้ป่วยด้วยอาการจิตเวชที่รุนแรงและมักมีปัญหาในการได้รับยา หรือบางกรณีนั้นอาจมาจากการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้และมีข้อแทรกซ้อนต่าง ๆ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าที่ตกอยู่ในภาวะอารมณ์เศร้าอย่างรุนแรงมากที่สุดถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย นั้นจำเป็นจะต้องใช้วิธีการรักษาแบบ Electroconvulsive therapy ซึ่งการรักษาแบบปกกติทั่วไปนั้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจช้าเกินไปสำหรับ ภาวะที่รุนแรง ส่วนการรักษาแบบไฟฟ้านั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทดังนี้

  • การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยไม่ได้ใช้ยานำสลบ (Unmodified)
  • การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยานำสลบ (Modified)

ในส่วนวิธีการรักษานั้นขึ้นจากอาการของผู้ป่วยที่แพทย์นั้นจะเป็นผู้ที่วินิจฉัยเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าจำนวนครั้งและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะใช้นั้นมากน้อยและบ่อยมากแค่ไหน

การบำบัดอาการจิตเวช มีผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษามีดังนี้..

1.อาการปวดศีรษะ

  • อาการปวดศีรษะนั้นมักจะเกิดขึ้นมานานมากหลังจากรับการรักษาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งอาการปวดหัวดังกล่าวนั้นสามารถหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง บริเวณที่ปวดบ่อยมากที่สุดนั้นก็คือ บริเวณหน้าผาก

2.คลื่นไส้อาเจียน

  • อาการนี้คือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากอาการปวดหัวที่กล่าวมาเมื่อตอนต้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติและถ้าผู้ป่วยมีอาการหมอจะจ่ายยาให้

3.ปวดกล้ามเนื้อ

  • ปวดกล้ามเนื้อคือหนึ่งในผลข้างเคียงจากการรักษา เนื่องจากฤทธิ์ของยาและบางครั้งก็อาจเกิดอาการชักก็ได้

4.การบาดเจ็บในช่องปากและฟัน

  • ได้แก่ กราม ฟันโยก ซึ่งนี้มันคือการฉีกขาดของอวัยวะในช่องปาก ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาที่ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องปกติ ซึ่งหมอจะสั่งยาให้เพื่อลดอาการอักเสบนี้

5.ภาวะหลงลืม

  • ภาวะหลงลืมนั้นคือเรื่องปกติที่สามารถฟื้นตัวได้ภายใน 2 สัปดาห์-6 เดือน ซึ่งว่าอาการนี้สามารถช่วยให้หายเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว จากคนรอบข้างที่ค่อยย้ำเตือน

6.ผลข้างเคียงอื่นๆสามารถพบเจอได้น้อยมาก แต่สามารถใช้ยาระงับความรู้สึกบรรเทาอาการได้

  • กระดูกสันหลังยุบตัว
  • กระดูกเคลื่อน
  • การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  • การบาดเจ็บของเอ็นกระดูก