Thursday, 2 May 2024

รู้หรือไม่ว่า!? การพูดช้าๆ ติดขัดบ่อยๆ อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่บอกว่าเราเสี่ยงโรคซึมเศร้า

13 Feb 2023
220

รู้หรือไม่ว่า!? การพูดช้าๆติดขัดบ่อยๆ ชอบพูดวกไปวนมาเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ดี อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนที่บอกว่าเรานั้นเสี่ยงเจอปัญหา สุขภาพ ที่ใหญ่โตอย่างการป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” บอกเลยใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ต้องห้ามพลาดแวะเข้ามาเช็คกนก่อนว่าเราเข้าข่ายเสี่ยงโรคนี้หรือเปล่า

สล็อต xo Slotxo

การพูดช้าๆติดขัดบ่อยๆ ชอบพูดวกกลับไปเรื่องลบๆ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณโรคซึมเศร้า

การพูดช้าๆติดขัดบ่อยๆ เสี่ยงโรคซึมเศร้า

เคยรู้สึกไหมว่าเวลาที่สังเกตเห็นว่าคนใกล้ชิดเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว ที่พูดจาแปลกๆแลทีท่าที่เปลี่ยนแปลงไป มันก็ทำให้เรานั้นสามารถรับรู้ได้ในทันทีว่าเขานั้นกำลังเศร้าหรือเสียใจอยู่ ซึ่งการรับรู้ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพียงแต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ยังบอกเรื่องนี้ได้ไม่ชัดนัก นั่นจึงทำให้ในปัจจุบันมีการทำวิจัยทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย

โดยการเอาลักษณะการพูดเป็นตัวแปรต้น และเอาอารมณ์ความรู้สึกภายในเป็นตัวแปรตาม อย่างเช่นเมื่อล่าสุดที่งานวิจัยของบริษัท Wolters Kluwer ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็ได้นำเสนอแนวไอเดียใหม่ๆว่า ถ้าลองวิเคราะห์รูปแบบการพูดดูดีๆ เราอาจใช้มันวินิจฉัยโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตเวชอื่นๆ ได้

ชอบพูดวกกลับไปเรื่องลบๆ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณโรคซึมเศร้า

ในงานวิจัยดังกล่าวที่ทางบริษัท Wolters Kluwer ใช้วิธีต่างๆ ในการแก้ปมที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่การสัมภาษณ์ การให้ทำแบบสอบถาม การประเมินทางคลินิก และการตรวจสอบรายงานของผู้ป่วย จนพวกเขาได้พบรูปแบบการพูดที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยจิตเวช

อย่างที่ 1 คือ ความเร็ว คือคนไข้จะพูดช้าลงกว่าเดิมจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัด ต่อมาคือการพูดไม่คล่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำหยุดคิดชั่วคราวนับครั้งไม่ถ้วน ขาดความมั่นใจในน้ำเสียงรวมถึงประเด็นการจับจุดจากการพูดที่ชอบพดวกไปวนกลับมา ไปในด้านลบๆเสียๆหายๆเป็นประจำ โดยทีมวิจัยพบว่าถ้าใช้เกณฑ์นี้จะสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำถึง 80 เปอร์เซ็นต์

สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

แต่ย้ำอีกทีว่าลักษณะการพูดที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ เป็นแค่เพียงแค่หนึ่งในองค์ประกอบการวินิจฉัยเท่านั้น เพราะถ้าเดินทออกมาดูแล้วเราจะพบว่า อาการที่กล่าวมานั้นอาจเกิดขึ้นจากเรื่องอื่นๆได้เช่นกัน เช่น ฤทธิ์ยาและบริบททางสังคม ดังนั้นสุดท้ายแล้วเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ ผู้เชี่ยวชาญก็ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งอยู่ดี

แต่อย่างน้อยๆ เรื่องนี้ก็ทำให้เพื่อนร่วมโลกนั้นเริ่มหันมาสนใจหันมาฟังเสียงคนใกล้ชิดมากขึ้นเหมือนกันนะ อาจไม่ถึงกับเท่าทันอาการป่วยทางจิตเวช แต่ถ้าพอจะสัมผัสถึงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ได้ เราว่าแค่นั้นก็เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่นแล้วล่ะ

การพูดช้าๆติดขัดบ่อยๆ เสี่ยงป่วยซึมเศร้า