Wednesday, 1 May 2024

ทำความรู้จัก!! นักสะสมความเสียใจ ใช่คุณหรือเปล่า!?? เช็คตัวเองด่วน!!??

14 Jun 2022
329

นักสะสมความเสียใจ Chronically Unhappy ภาวะเสพติดความทุกข์ระงมเศร้าอยู่ตลอดเวลามาเป็นเวลานานใช่คุณหรือเปล่าเช็คตัวเองด่วน!!?? เพราะถ้าปล่อยไว้เป็นปัญหาต่อสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายแน่นอนในอนาคต บอกเลยคนที่กำลังพบเจอกับปัญหานี้อยู่ต้องดูห้ามพลาดเด็ดขาด

สล็อต xo Slotxo

นักสะสมความเสียใจ Chronically Unhappy อาการเสพติดความทุกข์เรื้อรัง

นักสะสมความเสียใจ-ใช่คุณหรือเปล่า

คำถาม!??…ใครๆ ก็อยากมีความสุขกันเหมือนกันบนโลกทุกคน และมันมีด้วยหรือคนที่ไม่อยากมีความสุขแถมยังอยากให้ตัวเองเป็นทุกข์ตลอดเวลา?  คำตอบคือ…“มี” และที่บอกว่ามีนั้นเป็นเพราะว่า “ความรู้สึก” คือสิ่งหนึ่งที่ผู้คนแสวงหาอยู่เป็นประจำโดยที่ไม่รู้ตัว บางคนแสวงหา “ความสุข” แต่ในทางกลับกันมีบางคนแสวงหา “ความทุกข์” เนื่องจากว่าบางคนนั้นไม่สามารถปล่อยวางความคิดจนทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ได้นั้นเอง

Chronically Unhappy คืออะไร!??

Chronically Unhappy คืออะไร!??

คือความหมายของกลุ่มที่มีอาการเสพติดความเสียใจความทุกข์ใจที่ไม่อาจปล่อยตัวเองให้พบความสุขได้เลย แถมยังปล่อยให้ความรู้สึกผิดหวัง โศกเศร้า เสียใจทุกอย่างที่ไม่ดีเข้ามาทำร้ายจิตใจตัวเองอยู่เป็นประจำ และในบางครั้งพวกเขาจะมีอาการขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนคือ บางครั้งนั่งอยู่โดยที่ไม่มีความทุกข์ใดๆก็กลับมีความคิดประหลาดๆขึ้นมาว่า เมื่อไหร่ชีวิตจะดีขึ้น และเป็นสุขเหมือนคนอื่นๆอย่างไม่ทราบสาเหตุ และบางครั้งอาจมาในคราบน้ำตาที่ไหลออกมาแบบไม่ทราบสาเหตุ แต่ส่วนมากนั้นมาให้เห็นผ่านสเตตัสเศร้าๆที่ถูกแชร์ลงบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาการเสพติดความเศร้าเรื้อรังนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาและทุกๆการกระทำเช่น

  1. รับบทเหยื่อผู้ถูกกระทำ
  2. รับเป็นผู้กระทำ
  3. โยนความผิดให้คนอื่นทุกๆเรื่อง
  4. แม้มีชีวิตที่ดีแต่ก็ยังรู้สึกไม่พอใจ
  5. แสวงหาความทุกข์
  6. พยายามทำให้ตัวเองลำบากเมื่อมีชีวิตดี
  7. มักพาตัวเองไปอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษซ้ำ
  8. ละเลยที่จะดูแลตัวเอง
  9. มักทำทำลายสุขภาพ
  10. ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลเสมอ

นักสะสมความเสียใจ-เรื้อรัง

Mrabet Jihene กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นนักสะสมความเครียดนั้นมาจาก 4 ปัจจัยดังนี้

1.ตัวตน Self-esteem

ความรู้สึกไม่มั้นใจในตัวเองทั้งจิตใจและร่างกาย และมักมีความคิด Self-esteem ต่ำกว่าปกติ อันเกิดจากความเครียด

2.ปมในใจ Traumatic event

เหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจที่เปรียบเสมือนตราบาปที่ติดตึงอยู่ในหัวและอยู่ในใจบางเรื่อง สำหรับบางคนเป็นเรื่องที่ยากจะทำให้ลืม เนื่องจากพวกเขาจะกลับไปจุดเดิมที่เคยมีปมตลอดไม่ว่าจะมีความสุขมากแค่ไหน

3.การเลี้ยงดู

ครอบครัวที่เข้มงวดและมีความคาดหวังสูงนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนยึดติดกับความเครียด เนื่องจากว่าพวกเขาเหล่านั้นจะโหยหาความสำเร็จอยู่ตลอดเวลาจนไม่อาจพบเจอกับความสุขได้

4.อาการป่วย

บางครั้งความทุกข์เกิดระงมที่พบเจอนั้นมาพร้อมกับความเจ็บป่วยเช่น Dystonia อาการเศร้าเรื้อรังที่เกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย และมันก็จะไปส่งผลให้สารสื่อประสาทเซโรโทนินที่ควบคุมเรื่องความรู้สึกนั้นสั่งให้เศร้าและทุกข์ได้

“ไม่ว่าสาเหตุที่ทำให้ความทุกข์เกิดขึ้นมานั้นมันคืออะไร แต่การที่เก็บความรู้สึกเหล่านั้นเอาไว้ เพราะเชื่อว่าสามารถรับมือกับมันได้นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดไม่ควรทำ Mrabet Jihene กล่าวปิดท้าย”

เมื่อมนุษย์เราตกอยู่ในความทุกข์เป็นเรื่องปกติที่เราจะสามารถหาหนทางรับมือกับมันเองอันตโนมัติด้วยวิธีต่างๆ ถึงแม้ว่าบางครั้งวิธีแก้ปัญหาอาจไม่สมเหตุสมผล ที่ทำให้เราเปลี่ยนใจและเดินหนีออกจากจุดที่แย่นั้น แต่ก็มีหลายคนที่เลือกขังตัวเองในคุกแห่งความทุกข์ทรมาน เพราะยังมีความเชื่อว่าสามารถรับมือกับมันได้

Dr Harry Horgan นักจิตวิทยา อธิบายว่า … “มนุษย์ทุกคนมีกลไกการเอาตัวรอดอยู่ในตัวเสมอ และเมื่อร่างกายและจิตใจเกิดอันตรายคุกคาม กลไกลเหล่านั้นมันจะหลีกเลี่ยงเองตามธรรมชาติเสมอ” แม้จิตใจจะชินชา แต่ร่างกายอาจรับไม่ไหว

เมื่อมนุษย์เรารู้สึกเสียใจเป็นทุกข์ระงม กลไกลของร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นสูงขึ้น และมันก็จะไปลดระดับเซโรโทนินให้ต่ำลง และเมื่อมนุษย์เราตกอยู่ในภาวะอาการเหล่านี้บ่อยๆ กลไกลของร่างกายนั้นจะเสพติดจนชินละชาโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่นคนที่เคยกินเมก็จะติดกินเค็มแบบที่ไม่รู้ตัวปรุงเพิ่มความเค็มวนไปซ่ำ ๆ และถ้าหากว่าปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในภาวะทุกข์และเศร้านานๆไปเรื่อยในระยะยาว ร่างกายก็จะเริ่มแย่ลง จนการรับรู้บางอย่างอาจไม่มีสิทธิภาพระบบต่างๆในร่างกายก็จะทำงานไม่ปกติแถมยังไม่มีสมาธิจดจ่อกับการทำอะไร

สาเหตุที่ทำให้ความทุกข์

Dr.Valeria Risoli นักจิตวิทยาคลินิกจากคลินิกกายภาพบำบัดดูไบและเวชศาสตร์ครอบครัว กล่าวว่า“แม้การลืมความทุกข์ทรมานจะทำได้ยากและใช้เวลานานมากกว่าจะลืมเลือนมันไป แต่การเลือกจะมีความสุขนั้นไม่เคยมีคำว่าสายเกินไปเหมือนการเริ่มต้นใหม่”

แล้วเราจะออกจากวังวนนี้ได้อย่างไร ?…สามารถทำตามได้ดังนี้

1.ทำความเข้าใจเมื่อต้องผิดหวัง

  •  ความเสียใจไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะรู้สึกเสียใจดังนั้นควรปล่อยให้ตัวเองเสียใจไปแต่ก็อย่านานเกินไป และให้หันกลับมาตั้งคำถามว่า เพราะอะไรเพราะเหตุใดแล้วทำไมเรายังต้องรู้สึกเสียใจแบบนั้นแล้วเราจะเศร้าอีกนานเท่าไหร่เยียวยาความรู้สึกนี้ได้อย่างไร?

2.พาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

  • ถ้าเป็นไปได้ให้พาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ควรไปอยู่ในที่ที่มีคนคิดในแง่ลบพูดให้เราเสียหาย ควรเอาตัวเองไปอยู่กับคนที่รักและเข้าใจถ้าเป็นไปได้

3.มองหาข้อดีในทุกๆ เรื่อง

  • พยายามมองหาข้อดีในทุกๆด้านที่สามารถมองเพื่อจะทำให้ตัวเองมีความสุขสามารถใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างไม่มีความกังวน

4.ฝืนยิ้ม

  • เพียงแค่ฝืนยิ้ม “เซโรโทนิน” ก็หลั่งออกมาทำให้มีความสุขได้แล้ว ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีความสุขจริงๆก็ตาม