Monday, 20 May 2024

เมื่อโซเชียลเป็นพิษ เกิดกลายเป็นการ “เสพติดสมาร์ทโฟน”ส่งผลให้ “เล่นได้แต่เลิกเล่น” ไม่ได้ Nomophobia

28 May 2022
218

เมื่อโซเชียลเป็นพิษ ส่งผลให้ “เล่นได้แต่เลิกเล่น” ไม่ได้ จนเกิดกลายเป็นการ “เสพติดสมาร์ทโฟน” ที่ได้รับฉายาว่าคือ “อวัยวะที่ 33” ของมนุษย์ที่ขาดไม่ได้ สำหรับบางคนติดจนถึงขั้นไปทำลายสุขภาพด้านต่างๆได้แบบไม่รู้ตัว บอกเลยเรื่องราวที่เรานำมาให้ดูในวันนี้นั้นน่าสนใจมากๆ

สล็อต xo Slotxo

เมื่อโซเชียลเป็นพิษ เกิดกลายเป็นการ “เสพติดสมาร์ทโฟน”ส่งผลให้ “เล่นได้แต่เลิกเล่น” ไม่ได้

เมื่อโซเชียลเป็นพิษ-ต้องบำบัด

เชื่อว่าหลายๆคนนนั้นเคยเจอกับปัญหาที่ต้องยิบจับมือถือขึ้นมาดูก่อนนอนทุกคน จนบางครั้งลืมดูว่าเวลาตอนนี้กี่โมงและส่งผลให้นอนดึกตื่นสาย ส่งผลร้ายต่อสุขภาพหลายอย่างตามมาอย่างเช่นเรื่องราวที่เรานำมาให้ทุกคนได้ดูในวันนี้ สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้ “โนโมโฟเบีย (Nomophobia)” ชื่อนี้เป็นชื่อที่เอาไว้เรียกอาการเสพติดสมาร์ทโฟน แต่ไม่ใช่ชื่อโรคอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงกลุ่มอาการที่ทำให้พฤติกรรมของมนุษย์หนึ่งคนเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ทำให้มนุษย์เสียสติเหมือนเสพยา แต่ถ้าว่าเจ้าอาการนี้จะค่อยๆ บั่นทอนสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะยาวตอนท้ายสุด อย่างเช่นกรณีของหลายๆคนที่เรานำมาให้ดูในวันนี้

เมื่อโซเชียลเป็นพิษโนโมโฟเบีย (Nomophobia)

***เอ็มมา ยูน นักเรียนหญิงชาวเกาหลีวัย 19 ปี นั้นเธอมีอาการแปลกๆเมื่อรับรู้ว่า”สมาร์ทโฟน” ไม่ได้อยู่ที่ตัวของเธอและอาการแปลกๆที่ว่านั้นก็คือ รู้สึกใจสั่น มือสั่นจนเหงื่อเริ่มออก ความรู้สึกที่มีนั้นเหมือนเธอจะไม่สามารถทำสิ่งใดได้จนเกิดกลายเป็นความกลัว ว่าจะใช้ชีวิตหากไร้ซึ่ง “มือถือ” แถมแม่ของเอ็มม่ายังเปิดเผยว่าเธอเริ่มไม่ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆและปลีกวิเวก ชอบอยู่คนเดียว

เชื่อว่ามีหลายคนแล้วที่สามารถเลิกเล่นเลิกจับมือถืออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าว่ากลับยังมีผู้คนมากมายที่ต้องเผชิญกับอาการเสพติด “มือถือ” ที่ว่ากันมาตอนต้นจนส่งผลกับชีวิตประจำวัน ดังนั้นมันจึงมีบริการมากมายที่ออกแบบมาสำหรับบำบัดผู้ที่มีอาการ “เสพติดสมาร์ทโฟน”

***ต้องขอบอกก่อนนะว่าธุรกิจประเภทนี้นั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2018 และมันก็เกิดขึ้นมาอย่างมากมายมากกว่าเ 10 แห่ง ในย่านซิลิคอนวัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นย่านที่ตั้งบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนยักษ์ใหญ่มากมายตั้งอยู่ ส่วนสถานที่บำบัดที่ว่านั้นก็จะมี

โซเชียลเป็นพิษเล่นได้แต่เลิกไม่ได้

พาราไดม์ (Paradigm) คลินิกสุดหรูหราที่ตั้งอยู่บนภูเขาอันกว้างใหญ่ คลินิกที่ว่ามานั้นถูกออกแบบมาเพื่อบำบัดคนติดมือถือโดยเฉพาะ ส่วนภายในตัวบ้านนั้นถูกออกแบบมาให้ดูสวยงามหรูหรา เหมือนกับรีสอร์ทราคาแพงๆที่สามารถเดินทางเที่ยว หรือพักผ่อนได้เต็มที่ แต่มีข้อแม้ที่สำคัญที่สุดก็คือคำว่า “ห้ามใช้มือถือ” และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารโซเชียลทุกชนิด ระยะเวลาในการใช้บำบัดนั้นขึ้นอยู่กับบุคคลมากน้อยแล้วแต่อาการ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการบำบัดนั้นต้องห้ามใช้สมาร์ทโฟนหรือเครื่องมือต่างๆเด็ดขาด สามารถใช้ได้เพียงแค่ตอนต้องการข้อมูลและเรื่องที่สำคัญจริงๆ ส่วนเป้าหมายหลักๆของการมาอยู่ที่นี่คือ ฝึกสร้างนิสัยใหม่ๆ ให้ใช้สมาร์ทโฟนนั้นอยู่ในเวลาที่พอดี นอกจากในซิลิคอนวัลเลย์แล้ว ธุรกิจบำบัดโซเชียลและการ จ้องจอสมาร์ทโฟนยังแพร่กระจายมาในประเทศจีนจนเป็นที่นิยมของผู้คนอีกเช่นเดียวกัน แบบกรณีของ

***หลิว หยาง ชายชาวจีนวัย 36 ปี ชายผู้ที่สรรค์สร้างอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์โลกนั้น วางมือวางตาขากมือถือ และอุปกรณ์ที่ว่านั้นก็คือ Shiguang Box หรือ ชิกวงบ็อกซ์กล่องห่างมือถือ เหตุผลที่เขาสร้างขึ้นมานั้นเป็นเพราะว่า แอพต่างๆที่ผุดขึ้นมานั้นดึงดูดให้เราออกห่างจากมือถือไม่ได้ และเจ้ากล่องใบนี้นั้นสามารถทำงานได้แบบง่ายๆเพียงแค่ 4 ขั้นตอนนี้เท่านั้น

  • คือ เปิดกล่อง
  • เอามือถือใส่ข้างในแล้วปิด
  • ตั้งเวลาเอาไว้กี่โมงตามใจเลน
  • เอาออกมาได้ก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

ต้องขอแจ้งก่อนนะว่ายังไม่มีงานวิจัยไหนออกมารองรับว่า “กล่องใบนี้ช่วยบำบัดให้คนเลิกเล่นเลิกติดมือถือได้” แต่ถ้าว่ากลับมีผู้คนแห่แหนเข้ามาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ลูกค้านส่วนใหญ่คือนักเรียนและนำศึกษา แต่ช่วงวัยอื่นๆก็มีเข้ามาซื้อเยอะมากเช่นเดียวกัน

นอกจากอุปกรณ์เหล่านี้ที่เรานำมาให้ทุกคนได้ดูที่ด้านบนนี้แล้ว ในปัจจุบันการให้บริการในคลินิกรักษาและบำบัดนั้นก็มีเพิ่มมากเรื่อยๆขึ้นเช่นกันอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร ที่มีคลินิกเพิ่มขึ้นเป็นมาก 50 แห่ง ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2020 ที่ผ่านมาอย่างเช่น

เสพติดสมาร์ทโฟน

***Dialectical Behavior Therapy (DBT) คลินิกที่ให้บริการบำบัดผู้ที่เข้ามาทำการรักษาให้สามารถควบคุมสติคววามคิดและอารมณ์ให้เป็นปกติ สำหรับผู้ที่มีอาการ

  • ทำร้ายตัวเอง
  • คิดฆ่าตัวตาย
  • ติดสารเสพติด

***Cognitive Behavioral Therapy (CBT) คือการทำจิตบำบัดด้วยวิธีการต่างๆอย่างเช่น

  • การปรับเปลี่ยนความคิด
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

***Inpatient treatment คือการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

  • ให้แพทย์วางแผนการรักษาตามอาการ
  • ให้แพทย์จ่ายยาให้ตามอาการ

ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปดูเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่บริษัทบำบัดอาการเสพติดสมาร์ทโฟน “พาราไดม์” ถือกำเนิดขึ้นมานั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ใครหลายๆคนแปลกใจ เพราะผู้คนต้องการที่จะออกห่างจากมือถือ แต่ถ้าว่าในปีที่มีโควิด-19 แวะเข้ามาเยี่ยมมาเยือน มันก็ส่งผลให้ผู้คนนั้นโยกย้ายมาโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นและมันคือ “เส้นแบ่งบางๆ” ระหว่าง”เสพติด VS จำเป็น” ให้ผู้คนเลือกข้างอย่างเห็นได้ชัดเจน ถึงแม้ว่าบางคนอยากจะหลีกเลี่ยงมากแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มือถือกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันมากของเรามากจนเกินไป เราขอแนะนำว่าการไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญคงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของมนุษย์เรา