Friday, 29 March 2024

วิธีหลีกเลี่ยงจาก “โรคไมโคพลาสมา” ไม่มีวัคซีนป้องกัน มีผลกระทบโดยตรง หัวใจ-สมอง

10 Jan 2023
384

เรื่องราวความรู้คู่สุขภาพ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก “โรคไมโครพลาสมา” โรคที่ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน เชื้อมีผลกระทบโดยตรงกับ 2 อวัยวะสำคัญของร่างกาย ส่วนใหญ่โลกนี้จะพบได้ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น อาการเริ่มแรกมักจะเป็น อาการของไข้หวัดเสมอ แต่มันจะป่วยนานกว่าปกติ

สล็อต xo Slotxo

เปิดสาเหตุและวิธีหลีกเลี่ยง โรคไมโคพลาสมา อาการจะเริ่มตั้งแต่เล็กน้อย ก่อนกลายเป็นเรื้อรังรุนแรง ส่งผลต่อการเต้นหัวใจ และเสี่ยงสมองอักเสบ

ภาพประกอบข่าว อาการไข้ เริ่มแรกอาการไข้หวัด

โรคไมโคพลาสมา (Mycoplasma) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เริ่มแรกป่วยเป็นหวัด พร้อมกับคอและหลอดลมอักเสบร่วมด้วย นอกจากนี้ “ปอด” จะอักเสบตามมา โรคนี้สามารถพบได้กับผู้ป่วยทุกวัย แต่ที่สามารถพบผู้ป่วยมากที่สุดคือกลุ่มของเด็กและวัยรุ่น คนที่มีความเสี่ยงสูงจะเป็นโรคนี้คือคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีคนมาก หรืออยู่ในโรงเรียนและโรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้าก็เช่นเดียวกัน สถานที่ที่กล่าวไปนั้นล้วนแล้วแต่มีคนเยอะและพลุกพล่าน ยิ่งทำให้ติดเชื้อนี้ได้ง่าย

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย มันจะใช้เวลา ฟักเชื้อตัวอ่อน 1-4 สัปดาห์ จากนั้นก็จะทยอยหรือค่อยแสดงอาการออกมา โดยมีดังต่อไปนี้

1.มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา

2.หายใจไม่ปกติ หายใจจะเร็วขึ้นพร้อมกับอาการไอมากกว่าปกติ

3.ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

4.สำหรับผู้ป่วยบางคนมี “ผื่นแดง” ขึ้นตามร่างกาย

ภาพประกอบข่าว เกี่ยวกับอาการไข้หวัดในเด็ก

อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า 1 ใน 10 ของผู้ป่วยที่เป็น โรคไมโครพลาสมา อาจจะมีโรคปอดบวมมาก่อนแล้ว..

1.มีน้ำมูกไหลและไอพร้อมกัน

2.มีไข้และอาการหนาวสั่น

3.หายใจเร็วและถี่ขึ้น

4.เจ็บบริเวณหน้าอก

5.ร่างกายอ่อนเพลียง่าย

นายแพทย์ จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านระบบหายใจ จาก โรงพยาบาลมหาราชพระนครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ผ่าน facebook Jiraruj Praise นายแพทย์บอกว่าเชื้อแบคทีเรียไมโครพลาสมาสามารถพบได้ตามทั่วไป มันติดต่อกันได้อย่างง่ายด้วยการสัมผัส หรืออยู่ใกล้ชิดผ่านการหายใจละอองฝอยที่ออกมาเชื้อก็เข้าไปได้ง่าย เมื่อรับเชื้อเข้าร่างกายส่งผลกระทบหลายส่วน แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื้อมักจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หลักๆก็จะมี “ปอด” เชื้อนี้จะทำให้ปอดอักเสบและมีอาการบวม แต่ก่อนคนที่ติดเชื้อในลักษณะนี้จะไม่รุนแรงมากนะ แต่หากจะเป็นอาการเรื้อรัง ผู้ป่วยในปัจจุบันที่ติดเชื้อมีอาการเปลี่ยนไปเยอะ

ภาพประกอบข่าว เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ผลกระทบต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ภายหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไป ความรุนแรงของเชื้อนั้นขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะตอบสนองกับเชื้อ

1.หลังจากได้รับเชื้อจะทำให้กล้ามเนื้อ-เยื่อหุ้ม ของหัวใจอักเสบ จากนั้นผู้ติดเชื้อจะหมดสติเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ พร้อมกับมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นจนนำไปสู่ “หัวใจล้มเหลว”

2.อวัยวะต่อมาที่ได้รับผลกระทบนั่นก็คือ “สมองอักเสบ” ในส่วนนี้จะส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการเป็นไข้สูง บางรายเกิดอาการชักเกร็ง ก่อนที่จะหมดสติลง

3.บริเวณผิวหนังของผู้ติดเชื้อจะเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง หรือ SJS จากการวิจัยพบว่าเชื้อแบคทีเรียตัวนี้มีส่วนสำคัญทำให้เกิดอาการอักเสบของผิวหนังร่วมด้วย

การรักษาต้องใช้ ยาปฏิชีวนะ อาทิ Azithomycin แต่สำหรับปัจจุบันนี้ยาปฏิชีวนะดังกล่าวเริ่มใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย มีการดื้อดื้อยาจึงต้องเปลี่ยนมาใช้กลุ่มยา Quinolone อย่างเช่น Levofloxacin

ภาพประกอบข่าวเกี่ยวกับอาการปอดติดเชื้อ

นอกจากนี้การรักษาในส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น ขึ้นอยู่กับการแสดงอาการของเชื้อ และอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ถ้าหากปอดติดเชื้อและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องมีการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ ในส่วนของกล้ามเนื้อที่อักเสบก็ต้องรักษาด้วยการใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งยาที่ใช้ก็คือ IVIG แต่ถ้าอาการรุนแรงแพทย์ก็จะใช้การรักษาด้วยเครื่อง ECMO

ทั้งนี้ นายแพทย์จิรรุจน์ ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมจากประสบการณ์ 10 ปีที่อยู่ในห้อง ICU ผู้ป่วยติดเชื้อไมโครพลาสมามีจำนวนเยอะมากขึ้น และส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กรวมไปถึงเด็กโตด้วย ระหว่างเด็กเล็กและเด็กโตจะพบว่าเด็กโตนั้นจะพบการติดเชื้อเยอะและมากกว่า ความรุนแรงของโลกเปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เนื่องจากตอนนี้ส่งผลกระทบต่อสมองและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เมื่อปอดติดเชื้อก็มีอาการรุนแรง แต่อาการเริ่มต้นนั้นคือ “ไข้” แต่ว่ามันจะมีอาการป่วยนานกว่าปกติ เนื่องจากมีการติดเชื้อไวรัส