Friday, 22 November 2024

ทำความรู้จัก “ไซโคพาธ” ที่จะถูก “เปิดสวิตช์” ใช้งานทันทีเพื่อป้องกันตัวเอง

07 Mar 2023
257

ทำความรู้จัก ไซโคพาธ Psychopaths โรคบุคลิกภาพผิดปกติ ที่จะถูก “เปิดสวิตช์” ใช้งานทันทีเพื่อป้องกันตัวเอง ที่ได้เปรียบบางอย่างในเชิงวิวัฒนาการ สุขภาพ โดยโรคดังกล่าวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กที่โตมาในครอบคัวที่มีปัญหา

สล็อต xo Slotxo

ไซโคพาธ Psychopaths โรคบุคลิกภาพผิดปกติ ที่จะถูก “เปิดสวิตช์” ใช้งานทันทีเพื่อป้องกันตัวเอง

ไซโคพาธ โรคบุคลิกภาพผิดปกติ

นิยามของโรคจิตหรือ Psychopaths นั้นหมายถึงคนที่ไม่รับไม่รู้อะไรเลยในเรื่องต่างๆ เป็นคนที่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจให้ใครทั้งนั้น เป็นคนที่ไม่เน้นรับรู้เรื่องคุณธรรม มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม รวมทั้งหลอกลวงเสแสร้งเก่งอีกด้วย ในมุมมองเชิงEvolution แล้วหากใครที่มียีนหรือหน่วยพันธุกรรมที่ถ่ายทอดความเป็น Psychopaths อยู่จริง

พันธุกรรมที่จัดว่าเป็นยีนส์ด้อยที่ทำให้การใช้ชีวิตนั้นลำบากมาก และมันน่าจะถูกกำจัดออกไปนานแล้วจากเผาพันธุ์ของมนุษย์ ผ่านการคัดกรอกจากธรรมชาติมานานแสนนาน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้หายไปอย่างที่เรานั้นคิดเอาไว้ และถึงแม้ในปัจจุบันเราจะพบ Psychopaths ได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ในทุกกลุ่มประชากรของโลก

ทำความรู้จัก “ไซโคพาธ” ที่จะถูก “เปิดสวิตช์” ใช้งานทันทีเพื่อป้องกันตัวเอง

แต่คนทุกยุคทุกสมัยนั้นยังคงพบเจอฆาตกรต่อเนื่องหรือการก่ออาชญากรเลือดเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั้งกลุ่มคนรวยกลุ่มคนที่มีชาติตระกูลที่ดีก็ยังพบว่ามี  Psychopaths  แฝงตัวอยู่ ซึ่งในงานวิจัยที่เรานำมาให้ดูนั้นเป็นของ psychologist ชาวออสเตรเลียเมื่อปี 2016

บอกว่านักธุรกิจชั้นนำระดับผู้บริหารในองค์กรมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มีโอกาสเกิดของพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกันกับอาการของคนโรคจิตในระดับคลินิก ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงไม่น้อย ชวนให้ตั้งคำถามว่าการเป็น Psychopaths นั้นมีดีอย่างไร จึงทำให้พันธุกรรมโรคจิตถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นและปรากฏอยู่เสมอในประชากรทุกชนชั้นของสังคม

ไซโคพาธ-พลังของเล่ห์ลวง

พลังของเล่ห์ลวง

Jonathan R. Goodman นักวิจัยจาก University of Cambridge ผู้ศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ กล่าวอธิบายในบทความบนเว็บไซต์ The Conversation ว่าความสามารถของ Psychopaths ในการเสแสร้งแกล้งเป็นคนดี จนหลอกลวงตบตาผู้คนได้อย่างแนบเนียนนั้น อาจเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้พันธุกรรมของพวกเขานั้นอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน

ความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้ เพราะสิ่งนี้มันจะนำพาไปสู่ความสำเร็จในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด เช่นการสร้างเมืองและสร้างของมากมายสุดน่าทึ้งของโลก ซึ่งความร่วมมือในสังคมมนุษย์นั้นจัดว่าอยู่ในระดับที่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างเทียบกันไม่ติด

ไซโคพาธ ภาวะที่คนโรคจิตได้เปรียบคนปกติ

ลองย้อนกลับไปในชีวิตในสังคมยุคดึกดำบรรพ์เมื่อหลายหมื่นปีที่ผ่านมา ในตอนที่มนุษย์ยังหากินหาอยากด้วยการออกล่าสัตว์และเก็บของป่า หากมี Psychopaths อยู่ในยุคนั้น พวกเขาอาจสามารถจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ จนได้เพื่อนซี้ที่จะร่วมกันออกล่าสัตว์ใหญ่อย่างง่ายดายแต่ทว่าหลังเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว Psychopaths มีโอกาสที่จะหักหลังเพื่อน

โดยอาจตัดสินใจฆ่าเพื่อนซี้ทิ้งแล้วขโมยเนื้อชิ้นใหญ่ไปครอบครองเอาไปไว้เก็บเอาไว้กินคนเดียว ก่อนจะกลับมาที่หมู่บ้านโดยทำเฉยทำเป็นไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรทั้งนั้น ซึ่งความสามารถในการแสดงตบตาโดยไร้ซึ่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ถือเป็นข้อได้เปรียบสุดแสนพิเศษของคนโรคจิต หากมองในมุมของการใช้ชีวิตสัตว์ทุกชนิดต้องแย่งชิงและสะสมทรัพยากรเพื่อความอยู่รอด

Psychopaths คนโรคจิต

มนุษย์ธรรมดากลุ่มที่ไม่ใช่ Psychopaths ได้ใช้ความสามารถในการจับโกหกหรือการรู้ทันคำขี้จุ๊ขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งยังพัฒนากลไกทางสังคมมากมาย เช่น การวางกฎระเบียบและวิธีการลงโทษ เพื่อป้องกันภัยจาก Psychopaths ที่หน้าซื่อใจดำทำให้ Psychopaths ต้องพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง โดยต้องสามารถทำการล่อลวงและก่ออาชญากรรมได้สำเร็จโดยไม่ถูกจับและถูกลงโทษ

เหตุใดไม่มีคนโรคจิตเกิดมามากกว่านี้ ?

Goodman ยังอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้อีกว่าการเสแสร้งแกล้งเป็นคนดีที่สามารถไว้เนื้อเชื้อใจได้ของ Psychopaths ทำให้พวกเขาได้เปรียบเหนือคนทั่วไปในการใช้ชีวิต ทำไมถึงไม่มีคนโรคจิตเกิดมาเป็นจำนวนมาก หรือมี Psychopaths คิดเป็นสัดส่วนของประชากรที่สูงกว่านี้ คำตอบนั้นอาจง่ายมากถ้าหากว่าคนส่วนมากนั้นป่วยเป็น Psychopaths หมดทุดคน

เหตุใดไม่มีคนโรคจิตเกิดมามากกว่านี้ ?

กลุ่มคนที่เหลือก็จะถูกหลอกและเจอกับการทรยศหักหลังไม่มีที่สิ้นสุด จนสูญเสียความสมั่นใจในการเชื่อถือบุคลลอื่นและไม่อาจไว้ใจใครได้อีกต่อไป การเป็น Psychopaths นั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุทาง heredity แค่หนึ่งสาเหตุ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า “ความยืดหยุ่นในการแสดงออกของยีนมนุษย์” (human phenotypic plasticity)