Sunday, 5 May 2024

ไขปริศนาคาใจ!? เงินเดือน VS เงินปี ของคนไทยและต่างชาติ

19 Feb 2023
247

ไลฟ์สไตล์ เงินเดือน VS เงินปี ทำไมภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้คำ “ไม่เหมือนกัน” ทั้งๆ ที่มันคือเงินที่ถูกนายจ้างจ่ายให้ลูกน้องหรือพนักงานเหมือนกัน สำหรับใครที่มึนและงงเรื่องนี้อยู่ต้องห้ามพลาดแวะเข้ามาอ่านบทความที่เรานำมาให้ดูที่ด้านล่างนี้ไปพร้อมกันได้เลย

สล็อต xo Slotxo

เงินเดือน VS เงินปี ทำไมภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรียกไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่มันคือเงินเหมือนกัน

เงินเดือน VS เงินปีทำไมภาษาไทยและภาษาอังกฤษเรียกไม่เหมือนกัน

ถ้าใครชอบอ่านเรื่องราวเศรษฐกิจของต่างชาติ ก็น่าจะเคยเห็นว่าเวลาเขาเทียบ salary ในอาชีพต่างๆ โดยปกติเขาจะนับเป็นเงินปีหรือรายได้ประจำปีอยู่ตลอดเวลาหรือพูดง่ายๆ salary ไม่ได้แปลว่าเงินเดือนตามนิยามของ salary เพราะมันคือเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างในช่วงเวลาที่กำหนดซึ่งช่วงเวลาทั่วๆไปมักจะนับกันเป็นปีเลย

ซึ่งมันก็ทำให้เวลาเราอ่านข้อความต่างๆภาษา England แล้วกล่าวถึง salary ไม่มีอะไรนั่นหมายความว่าเขาสื่อถึง เงินได้รับรวมเป็นปี ซึ่งถ้าจะพูดถึงเงินเดือนมันจะต้องมีคำว่า monthly เป็นตัวขยายหน้า salary หรือพูดอีกแบบสำหรับตะวันตก concept ‘เงินปี’ มันมาก่อน ‘เงินเดือน’ นั่นเอง

ไขปริศนาคาใจ!? เงินเดือน VS เงินปี ของคนไทยและต่างชาติ

แน่นอนเวลาคนไทยพูดถึงเรื่องเงินจะพูดเป็นเงินเดือนแล้วทำไมบ้านเราถึงไม่ใช้เงินปีเหมือนต่างชาติ? ซึ่งคำตอบนั้นมันอยู่ที่ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงานที่ต่างกัน โดยทั่วไประบบจ่ายเงินเดือนพนักงานมี 4 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 คือจ่ายเงินเดือนตามวันที่กำหนดของเดือนทุกเดือน

แบบที่ 2 คือจ่ายเงินเดือนเดือนละ 2 รอบ

  • ตามวันที่กำหนด
  • (อาจเป็นวันที่15 และวันสิ้นเดือน เป็นต้น)

แบบที่ 3 คือจ่าย 2 สัปดาห์ต่อหนึ่งครั้งในวันที่กำหนดในสัปดาห์ เช่น

  • จ่ายเงินเดือนวันศุกร์เว้นศุกร์ วนไปเรื่อยๆ

แบบสุที่ 4 คือ จ่ายสัปดาห์ละครั้ง ในวันที่กำหนด เช่น

  • จ่ายทุกวันศุกร์

ซึ่งคนไทยนั้นคุ้นเคยกับการได้รับเงินเดือนในแบบที่ 1 ซึ่งก็ไม่เป็นเรื่องน่าตกใจ เพราะมันเป็นระบบการจ่ายเงินให้คนทำงานยอดนิยมของคนทั่วทั้งเอเชีย ซึ่งเป็นระดับที่เป็นมาตรฐานสำหรับทุกสาขาอาชีพ ในพื้นที่ต่างๆ ในโลกก็จะแตกต่างกันไปตามอาชีพ เช่น ในบางประเทศ อาชีพระดับล่างก็จะได้ค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ แต่อาชีพระดับสูงก็จะได้เป็นเงินเดือน

ในบางพื้นที่อย่างเช่น ใน America และ Canada รวมไปถึง England วิธีการให้เงินลูกจ้างที่ทำบ่อยที่สุดคือแบบ 2 อาทิตย์ละครั้ง ซึ่งคือแบบ ที่ 3 ที่เกริ่นมาเมื่อข้างต้น ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกการจ่ายเงินลูกจ้างแบบนี้ว่ารายสัปดาห์ ซึ่งผลก็คือในหนึ่งปีพนักงานจะได้รับค่าจ้างปีละ 26 ครั้ง เพราะว่า 1 ปีนั้นมีทั้งหมด 52 อาทิตย์

แปลความหมายคำว่า salary

และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมต่างชาติเมื่อพูดถึงเงินเดือนในอเมริกาเขาจะไม่พูดถึงเงินเดือน และคำว่าเงินเดือนก็ไม่มีในสิ่งที่เขารู้จักการพูดถึงค่าจ้างในอเมริกา เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับเป็นรายเดือนแต่ได้เงินแบบ 2 อาทิตย์ต่อครั้ง แบบที่ว่านี้เองแน่นอนว่าใครวางแผนรายจ่ายเป็นรายเดือนประจำถ้าไปเจอระบบนี้เข้าไปคงงงแน่ๆ

แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบดังกล่าวนั้นก็ดีเหมือนกันเพราะทำให้วางแผนง่ายไม่มีภาวะ สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ แบบเดือนไหนยาวๆ ก็แทบกะอักเลือดตาย เพราะใช้เงินเดือรหมดไปแล้วตั้งแต่กลางเดือน 5555  เพราะระบบจ่ายค่าแรงแบบนี้ เงินหมดไป รออีกไม่เกิน 2 อาทิตย์ก็ได้เงินรอบใหม่

และยังมีข้อดีอีกอย่างก็คือการจ่ายเงินแบบดังกล่าวนั้นจะทำให้ฟนักงานนั้นขยันทำงานล่วงเวลา หรือกระต้นให้คนนทำงานล่วงเวลา OT มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเงินของพวกเขาหมดพวกเขาก็จะเร่งทำ OT เพื่อให้เงินทำ OT ได้เยอะอละเข้ามาเพื่อรอจ่ายรอบหน้า ซึ่งพูดง่ายๆ ระบบที่จ่ายเงินคนเร็วๆ มันเป็นจิตวิทยาให้คนทำงานหนักทำงานเพิ่มได้อีก

เงินเดือน VS เงินปี การจ่ายเงินพนักงาน

ซึ่งการจ่ายเงินแบบดังกล่าวนั้นมันก็สะท้อนให้เห็นถึงกฎหมายแรงงานที่แข็งแรงด้วย เพราะปกติทั่วไปในทุกประเทศตามสัญญาจ้างของลูกจ้างปกติ การทำงานต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 7 วัน และพอจ่ายเงินตัดเป็นรอบอาทิตย์เป๊ะๆ ค่าจ้างมันก็จะสะท้อนมาในนั้นแบบคิดเป็นเรตแบบรายชั่วโมงได้เลย

เมื่อคิดได้อย่างที่ว่ามันก็จะคำนวณค่าจ้าง OT ขั้นต่ำได้ตามที่กฎหมายกำหนดแบบไม่มีผิดเพี้ยน (มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งปกติทั่วไปการได้ค่าแรงรายชั่วโมงเพิ่ม 50 เปอร์เซ็นต์ ก็เรื่องปกติมาก) ซึ่งอะไรพวกนี้ต่างจากระบบเงินเดือนเพราะในเดือนที่ยาวไม่เท่ากัน เราก็ทำงานไม่เท่ากัน แต่ได้ค่าจ้างเท่ากันทุกเดือน เป็นต้น

ในหลายพื้นที่ระบบจ่ายเงินแบบเงินราย 2 อาทิตย์และเงินเดือนถูกใช้ควบคู่กันไปแล้วแต่บริษัท ซึ่งแบบนี้ถ้าจะเทียบเป็นรายได้ แต่มันไม่สามารถแปลงหน่วยเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างเหมือนกันเขาเลยให้บอกรายได้เป็นรายปีเลย เพราะมันจะใกล้เคียงกันมากกว่าการที่จะให้คนเทียบรายได้ระหว่างงาน ที่ต้องเอาเงินราย 2 อาทิตย์ ไปคูณ 26 แล้วเงินเดือนไปคูณ 12

ทำไมึนไทยเรียกเงินเดือนทำไมฝรั่งเรียก เงินปี

ซึ่งการบอกเป็นเงินค่าจ้างเป็นแบบรายปีก็คือการจับคูณเข้าไปให้คนที่กำลังหางานทำ สามารถเปรียบเทียบเงินรายได้ว่าระหว่างงานมากมายที่ต้องการทำในมาตรฐานเดียวกันนั่นเอง สุดท้ายการที่ salary ในความหมายทั่วไปในโลกตะวันตกหมายถึงเงินปีนั้นก็มีประโยชน์มากๆ ในการช่วยคำนวณภาษี 

เพราะอย่างที่เราทราบมาตั้งแต่ต้นว่าในโลกตะวันตกยิ่งเงินเดือนมากยิ่งต้องจ่ายภาษีสูง และเรารู้เลยว่าเงินที่เราจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆเท่าไหร่ถ้าเราดูแค่เงินเดือนแต่ไม่ดูว่าภาษีที่เราจะจ่ายคือเท่าไร ซึ่งในระบบการบอกเงินปีคือบอกปุ๊บมันจะทำให้เราเห็นขั้นภาษีคร่าวๆ เลยว่าเท่าไร และทำให้ได้เห็นจำนวนเงินที่แท้จริงในส่วนที่เราจะเอามาใช้จ่ายได้นั่นเอง