รู้หรือไม่ว่า “แกล้งคุยโทรศัพท์บนรถ” ผ่าน Tiktok ช่วยลดการปัญหา “คุกคามเพศหญิง” บนสาธารณะรถโดยสารส่วนบุคคลป้องกันการถูกคุกคามทางเพศได้ เรื่องราวที่เรานำมาให้ดูในวันนี้คือหนึ่งไลฟ์สไตล์ที่ถูกชาวเน็ตหลายๆคนนำไปสร้างเป็น คอนเทนต์ Tiktok “แกล้งคุยโทรศัพท์” แบบเนียนๆ เพื่อป้องกันตัวเมื่อเดินทางคนเดียวได้อย่างน่าสนใจ
แกล้งคุยโทรศัพท์บนรถ สาธารณะรถโดยสารบุคคลป้องกันการถูกคุกคามทางเพศได้
คอนเทนต์บนโลกออนไลน์ผ่านช่องทาง Tiktok “แกล้งคุยโทรศัพท์” เมื่อเดินทางคนเดียวเมื่อขึ้นรถโดยสารสาธารณะเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวเอง เพราะทุกสถานที่นั้นไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนจากการสำรวจสถิติในปี 2561 พบว่าคน 1 ใน 3 เคยโดนคุกคามจากการเดินทางด้วยรถสาธารณะ
เคย “แกล้งคุยโทรศัพท์”ขณะโดยสารรถสาธารณะไหม?
บอกเลยว่าถ้าใครเคยทำสิ่งนี้มาก่อนขอให้รู้ว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่ทำเช่นนี้ในเวลาขับขันหรือในเวลาที่เดินทางคนเดียว เพราะถ้าหากว่าคุณนั้นเป็นคนที่เล่นโซเชียลคุณจะเห็นเลยว่าการแกล้งคุยโทรศัพท์คนเดียวเหมือนกับคุยกับอีกคนนั้นมีออกมาให้เห็นมากมาย ผ่านช่องทางต่างๆบนโลกออนไลน์โดยเฉพาะแอปพลิเคชั่น Tiktok คลิปวีดีโอส่วนใหญ่ที่ผู้คนนำมาลงนั้นส่วนมากมีจุดประสงค์เอาไว้ป้องกันตัวเมื่อขึ้นรถสาธารณะคนเดียว
ทำไมต้องแกล้งคุยโทรศัพท์บนรถสาธารณะด้วย?
สาเหตุที่ต้องแกล้งคุยโทรศัพท์คนเดียวนั้นเป็นเพราะต้องการแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่าหากมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับตัวเรานั้นมีคนรับรู้นะ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบเดินทางคนเดียวโดยรถสาธารณะนั้นยิ่งจำเป็นจะต้องแกล้งคุยโทรศัพท์ ถ้าคุณรู้สคึกว่าคุณนั้นไม่ปลอดดภัย เพราะมันคือวิธีที่สามารถช่วยป้องกันคุณจากการคุกคามได้ จากการสำรวจสถิติจากกลุ่ม Safe Cities For Women ของผู้หญิงโดยเฉพาะในปี 2561 พบว่าขนส่งสาธารณะมีทั้งผู้หญิงชายและ เพศทางเลือกอีกประมาณหนึ่งพันหกร้อยห้าสิบสี่คน อีกประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ หรือหนึ่งในสามเคยถูกคุกคามทางเพศในตอนที่พวกเขานั้นขึ้นรถโดยสารสาธารณะ และถ้าหากไปคิดเฉลี่ยนเฉพาะผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงมีถึง 45 เปอร์เซ็นต์ที่เคยถูกคุกคามทางเพศ
ซึ่งรถขนส่งสาธารณะที่พบการคุกคามทางเพศมากที่สุด ได้แก่
- รถเมล์ 50%
- รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 4%
- รถแท็กซี่ 9%
- รถตู้ 8%
- รถไฟฟ้าบีทีเอส 6%
พฤติกรรมการคุกคามที่พบบ่อยที่สุดคือ
- มองด้วยสายตาที่คอเสื้อหรือใต้กระโปรง 8%
- ถูกเบียดเข้ามุมลูบคลำ 4%
- ผิวปากแซว 9%
- ชวนคุยเรื่องทางเพศ 7%
- คุกคามทางคำพูดแทะโลม 1%
- ถูกอวัยวะเพศของอีกฝ่าย 6%
จากสถิติที่เรานำมาเมื่อตอนต้นนั้นยังไม่ได้นับรวมความหวาดระแวงที่จะถูกปล้นจี้ชิงทรัพย์หรือถูกคนไม่หวังดีประสงค์ทำร้ายร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เรากล่าวมาทั้งหมดนั้นไม่เพียงทำให้ผู้คนไม่ไว้วางใจรถสาธารณะโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน และการแกล้งคุยโทรศัพท์นี่คือพฤติกรรมป้องกันตัวเองจากอันตรายที่เรากล่าวมาเมื่อตอนต้น
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์