นิสัยชอบผ่อน ใช่ว่าคนไทยทุกคนจะอยากผ่อน และก็ใช่ว่าจะมีแค่คนไทยเท่านั้นที่ผ่อนจ่ายการซื้อของ ถ้าหากเขามีเงินมีทางเลือกที่มากกว่านี้ในทางด้านกานเงิน ไลฟ์สไตล์ ส่วนสาเหตุนั้นจะเป็นเพราะอะไรเดี่ยวเราไปอ่านไปทำความเข้าใจพร้อมกันได้เลยที่ด้านล่างนี้
นิสัยชอบผ่อน ใช่ว่าคนไทยทุกคนจะอยากทำถ้าหากเขามีเงินมีทางเลือก
สำหรับคนที่ไม่มีเวลาอ่านแต่อยากรู้ให้อ่านให้แค่ เพราะถ้าทุกคนนั้นสามารถเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็นยากผ่อน แต่ความเป็นจริงแล้วเมื่อปี 2565 พบว่าคนไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 89.3 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และส่วนหนึ่งก็มาจากภาระที่ต้องผ่อนอะไรมากมายในชีวิต แต่การพูดว่า คนไทยชอบผ่อน ก็อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
เพราะบางคนบางครอบครัว ผ่อนสินค้า ที่จำเป็นมาใช้งาน สำหรับคนก็มองว่านี่คือการลงทุนนั้นให้ย้อนไปดูนโยบายรัฐและสถาบันการเงินไทยในอดีต ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีการสนับสนุนให้คนเป็นหนี้มาตั้งแต่ 30-40 ปีที่แล้ว ทั้งยังทำในนามของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคด้วย จึงไม่แปลกที่คนไทยจะคุ้นเคยกับ ‘การผ่อน’ จนคุ้นเคย
ก่อนที่ชาวเน็ตนั้นจะนำประเด็น คนไทยมีชอบผ่อน มาพูดถึงกันอย่างแพร่หลายว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงนั้นเรามีหหลักฐานเอามายืนยันให้ทุกคนได้ดูว่า ‘การผ่อน’ กับคนไทยมานานมากกว่า 40 ปี ซึ่งคนยุค Gen Z เกิดไม่ทันแน่ๆ แต่คนยุค Gen X และ Gen Y น่าจะรู้จักเพลงราชาเงินผ่อนของคาราบาวที่ออกมาในปี 2527 หนึ่งในเพลงฮิตของอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์
ถ้าลองไปฟังจะทราบว่าเพลงนี้มันยังไม่ได้เก่าเพราะท่อนหนึ่งของเพลงบอกเอาไว้อย่างชัดเจนว่า คนที่ซื้อข้าวของต่างๆ ในแบบ เงินผ่อน ทราบดีว่าวิธีนี้มีดอกเบี้ยแพงแค่ไหน และที่จริงคนก็ไม่ได้อยากฟุ้มเฟื่อย แต่ความอยากสบายอยากมีความสุขที่เหมือนคนอื่น การผ่อน ก็เป็นสิทธิ์ที่พวกเขาจะทำได้
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ เงินผ่อน รุ่งเรืองเฮืองฮ้องมากในสมัยนั้นเป็นเพราะว่า รัฐบาลไทยในยุคหลังปี 2500 โดยเฉพาะในยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้นมา มีการชูนโยบายเศรษฐกิจและการลงทุนภาคอุตสาหกรรม แถมยังมีโครงการพัฒนาที่ดินผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด สิ่งที่ตามมาก็คือคนที่เคยทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมจำนวนมากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำงานในเมือง
และเกิดการเจริญเติบโตของชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำและมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น รัฐบาลยุคนั้นจึงปลุกระดมเศรษฐกิจและการบริโภคในครัวเรือนไปด้วย ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปเกือบ 40 ปี จนนักร้องนำวงเพื่อชีวิตในตำนานกลายเป็นนายทุนไปแล้ว
แต่สถานะของ ราชาเงินผ่อน ในสมัยนั้นแทบจะเหมือนทุกอย่างที่เรียกว่า มนุษย์เงินผ่อน ในสมัยนี้ เพราะไลฟ์สไตล์คนทำงานจำนวนไม่น้อยก็ยังเจอปัญหาเดิมๆ ที่ต้องทำงานหาเงินหาเช้ากินค่ำ เพราะเศรษฐกิจไม่มั่นคงเงินเดือนไม่พอใช้ แถมยังให้เราทํางานทํางานแลกเงินตรา แต่ต่อตีราคาตํ่ากว่าความเป็นไป
และอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อล่าสุดที่ทางดาราสาวสาว มารี เบิร์นเนอร์ ได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวของเธอผ่านทางช่อง YouTube โดยช่วงหนึ่งเธอได้พูดถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยว่า ชอบผ่อน ทั้งๆที่จริงแล้วควรจะรู้ว่าเงินต้นกับดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนจ่ายในระยะยาวนั้นจะทำให้คนต้องจ่ายแพงกว่าราคาจริง
ซึ่งดาราสาวนั้นก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น บ้านราคาหลัก 10 ล้าน โดยเธอบอกว่าถ้าจ่ายบ้านราคานี้แบบผ่อน ราคารวมของบ้านอาจสูงเสียดราคา 20 ล้าน แต่การจ่ายเงินสดหรือโปะเงินก้อนจะทำให้จบภาระหนี้สินได้เร็ว แต่คนไทยกลับเลือก วิธีผ่อนจ่าย ไปนานๆ
หลังจากคลิปนี้ถูกเผยแพร่ออกมาก็มีชาวเน็ตจำนวนมากก็อปปี้คำพูดของดาราสาวออกมาเผยแพร่ต่อที่โซเชียลมีเดียอย่างมากมาย และมันก็กลายเป็นประเด็นดราม่าที่ถูกถกเถียงกันอย่างหนักหนาสาหัส เพราะบางคนก็มองว่าคนที่พูดแบบนี้เขาน่าจะไม่เข้าใจความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม
อย่างเช่น เรื่องอัตราค่าแรง เรื่องโอกาสทางอาชีพ รวมไปจนถึงเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้คนจำนวนมากไม่มีรายได้มากพอที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีราคาแพงหลักแสนหลักล้านได้นั้นมีมากมายหลายเหตุผล
แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับดาราสาว โดยพวกเขานั้นมองว่าดาราสาวเธอแค่เปรียบเทียบตัวอย่างให้เห็นภาพในสิ่งที่มนุษย์ทุกคนนั้นจะต้องมีอย่างเช่นบ้านที่มีราคาแพง แต่ที่จริงดาราสาวน่าจะหมายถึงข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น แต่หลายคนก็ยังสร้างหนี้สินด้วยการผ่อนสินค้าฟุ่มเฟือยเหล่านี้ เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นท็อปหรือเสื้อผ้ารองเท้ากระเป๋าแบรนด์เนม
แต่ก็มีหลายคนตั้งปประเด็นมาถามต่อว่าการผ่อนสำหรับคนบางกลุ่มนั้นถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เหมือนกับเจ้าของธุรกิจที่ต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนอย่างงั้น แต่คนเงินเดือนปานกลางและรายได้น้อยอาจลงทุนกับสินค้าที่จะแปรไปเป็นทรัพย์สินในอนาคต เหมือนโทรศัพท์รุ่นท็อปและของแบรนด์เนม ขณะที่การซื้อบ้านซื้อรถสำหรับบางคนคือการยกระดับคุณภาพชีวิต
เพราะแม้จะผ่านไป 40 ปีจากยุคราชาเงินผ่อนยอดฮิต การเคลื่อนย้ายการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วก็ยังมาไม่ถึงจำนวนประชากรในย่านชานเมืองและต่างจังหวัด หรือต่อให้บางเส้นทางครอบคลุมแล้ว ค่าโดยสารก็ยังสูงจนบางคนมองว่าเอาเงินไปผ่อนรถยังจะคุ้มค่ามากกว่า
และถ้าหันมามองสภาพรอบตัวในสมัยนี้ที่คนจำนวนมากตกงานและเศรษฐกิจไม่มั่นคง แถมกลุ่มนักลงทุนและภาครัฐก็ยังล้าช้าเรื่องการชดเชยและการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมองว่าจะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นและกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม คนหาเช้ากินค่ำหรือมนุษย์เงินเดือนยุคนี้จึงแทบจะไม่ต่างอะไรกับยุคของราชาเงินผ่อนเมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้ว
ดังนั้นคำถามที่ควรนำมาตั้งนั้นไม่น่าจะใช่ คนไทยทำไมชอบผ่อน ทั้งๆ ที่รู้ว่าดอกเบี้ยแพงแต่น่าจะเป็นถามที่ถามว่าเพราะอะไรสภาพความเป็นอยู่ของคนรายได้น้อยและรายได้ปานกลางถึงยังไม่มีทางเลือกอะไรมากนักเหมือนเดิม ไปจนถึงทำไมระบบที่ควรรองรับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปัญหาอยู่ที่คน หรือที่ระบบไม่เอื้อต่อการเติบโตของผู้คนกันแน่?
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์