Friday, 22 November 2024

รู้หรือไม่ว่า!? กินน้ำอัดลมมาก “เสี่ยงป่วย” เป็นโรคอะไรได้บ้าง

08 Feb 2023
288

กินน้ำอัดลมมาก เสี่ยงเป็น “โรคอันตรายร้ายแรง” ที่มีผลต่อ สุขภาพ ในระยะยาวอะไรได้บ้าง? บอกเลยใครที่ชอบดื่มน้ำอัดลมต้องแวะเข้ามาดูกันก่อน ว่าผลเสียและผลร้ายที่จะเกิดขึ้นตามมาทีหลังนั้นมีอะไรบ้าง และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเดี่ยวเราตามมาดูพร้อมกันได้เลยที่ด้านล่างนี้

สล็อต xo Slotxo

กินน้ำอัดลมมาก เสี่ยงเป็น “โรคอันตราย” ที่มีผลต่อสุขภาพอะไรบ้าง?

กินน้ำอัดลมมาก เสี่ยงเป็น “โรคอันตราย”

บอกเลยใครที่ชอบ ดื่มน้ำอัดลม ต้องแวะเข้ามาดูกันก่อน เพราะเมื่อไม่นานที่ผ่านมาซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เผยผลการทดลองจากงานวิจัยที่บอกว่า “ทำไมคนไทยดื่มน้ำอัดลม” จากกลุ่มอาสาสมัครจำนวนทั้งสิ้น 500 คน ระหว่างวันที่ 4-11 พฤศภาคม ที่ผ่านมาก่อนจะพบว่า

ผู้คนมากถึง 97.4 เปอร์เซ็นต์ ชื่นชอบดื่มน้ำอัดลม และยังเจออีกว่าผู้ชายนั้นมีความ ชื่นชอบดื่มน้ำอัดลม มากกว่าสาวๆทั้งหลาย และยังพบอีกว่าช่วงอายุ 15-24 ปี ดื่มน้ำอัดลม มากที่สุด ด้วยเหตุผลที่บอกว่าเพื่อคลายร้อน ซึ่งวันนี้เราก็ได้นำเกร็ดความรู้จาก กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข มาฝากกันว่าการ ดื่มน้ำอัดลม ในปริมาณที่มากเกินไป เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

1.โรคอ้วน

เชื่อว่าไม่มีใครไม่ทราบหรอกว่าหากร่างกายของเรานั้นได้รับน้ำตาล หรือเครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม ที่มีน้ำตาลสูงมาก แต่ให้สารอาหารน้อยและความรู้สึกอิ่มต่ำอย่าง น้ำอัดลม นั้นมันไม่ดีต่อร่างกาย แต่นั้นไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพน้ำหนัก การบริโภค เครื่องดื่มน้ำอัดลม ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณสูงนั้น ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพียงข้อวิตกกังวลที่ไม่มีหลักฐานมายืนยัน แต่มีการรวบรวมงานวิจัยและการทดลองต่าง ๆ ที่มากกว่า 30 งาน พบว่า การดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อโรคอ้วน

กินน้ำอัดลมมาก เสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

2.โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

นอกจากน้ำหนักที่มีปริมาณเกินเกณฑ์และภาวะอ้วนที่อาจจะถามหา ข้อมูลจากงานวิจัยมากมายที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ยังอธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่าการ ดื่มน้ำอัดลม ผสมน้ำตาลในปริมาณสูง ยังอาจนำไปสู่กลุ่มอาการอ้วนลงพุง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

นี่คือการค้นพบที่มาจากการทดลองกับกลุ่มคนที่ ดื่มน้ำอัดลม ดังนั้นทุกคนควรคิดให้ดีและกำหนดการดื่มให้ลดน้อยลง เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งส่งผลให้มีระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง เกิดไขมันสะสมรอบเอวมาก รวมถึงมีระดับไขมันคอเลสเตอรอล หรือไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน

3.โรคกระดูกพรุน ฟันผุ

เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่มักตั้งคำถามว่าถ้า ดื่มน้ำอัดลม มากๆจะส่งผลทำให้ความแข็งแรงของ bone mass มวลกระดูกของเรานั้นเสื่อมด้อยลง หรืออาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนอย่างที่เขาล้ำลือกันมาหรือเปล่า บอกเลยข้อสงสัยนี้มีการศึกษาและพบว่าการ ดื่มน้ำอัดลม ที่มีกรดฟอสฟอริก (Phosphoric) เป็นส่วนประกอบมากๆ

อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ภาวะ calcium ในเลือดเสื่อมด้อยลงได้ อีกทั้งการ ดื่มน้ำอัดลม ยังมีความเกี่ยวข้องกันกับ ความเสี่ยงต่อการแตกของกระดูกแขนท่อนปลายอีกด้วย ส่วนฟันผุก็เป็นที่รู้กันดีว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูงย่อมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพฟัน เนื่องจากน้ำตาลที่ตกค้างจะกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียภายในปาก

ส่งผลทำให้เกิดการเกาะตัวของแบคทีเรียกับน้ำตาล จนทำให้เกิดเป็นคราบหินปูนอยู่ที่ฟัน ไม่เว้นแม้แต่เครื่องดื่มต่างๆ ที่มีรสหวานและน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง แต่ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ แม้แต่ น้ำอัดลม ที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ก็ยังอาจเป็นสาเหตุของอาการฟันผุได้เช่นกัน

ภาวะสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง

4.โรคหัวใจ

อีกหนึ่งโรคอันตรายที่นาจะก่อกำเนิดได้จากการ ดื่มน้ำหวาน ซึ่งในการทดลองในครั้งนั้นพบว่าการ ดื่มน้ำหวานอัดดแก๊ส ที่มีน้ำตาลอยู่ในทุกๆวันอาจมีความสัมพันธ์กันกับโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมัน ปัจจัยการเกิดการอักเสบ และฮอร์โมนเลปติน (Leptin)

ที่เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ความรู้สึกอิ่มที่ดี และไม่ได้มีคุณภาพทำให้สุขภาพดีตามไปด้วยส่วนเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ที่นำ sweetener แทนน้ำตาลมาใช้ผสมใช้ผลิตนั้น ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันกับโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีผลกระทบทางชีวภาพต่อร่างกายแต่อย่างใด

5.ภาวะสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง

มีการพูดถึงความเสี่ยงมากมายจากการดื่ม น้ำอัดลม ประเภทที่ไร้น้ำตาล หรือใช้ sweetener แทนน้ำตาล กับการเกิด stroke และ dementia อย่างมากมาย ซึ่งมีผลการทดลองจากงานวิจัยหนึ่งที่ติดตามพฤติกรรมการ ดื่มน้ำอัดลม ของอาสาสมัครที่เข้าร่วม ผลการทดลองออกมาบอกว่า

อาสาสมัครที่ ดื่มน้ำอัดลม ไม่มีน้ำตาลมีความเสี่ยงต่อโรคที่กล่าวมาทั้งหมด มากกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ ดื่มน้ำอัดลม ประเภทไร้น้ำตาลมากถึงถึง 3 เท่า ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวนั้นก็เป็นที่ยอมรับ และได้รับการตระหนักจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา

ควบคุมปริมาณน้ำตาลอย่างไรให้ไม่เสี่ยงเป็นโรค

ควบคุมปริมาณน้ำตาลอย่างไรให้ไม่เสี่ยงเป็นโรค

1.เริ่มต้นจากทารสชาติหวานให้น้อยลง เช่น เริ่มจากการสั่งของกินของคาวของหวานที่ทานเป็นประจำให้มีรสชาติที่จืดลงจนกลายเป็นนิสัย เพราะเป็นการสร้างความเคยชินในการรับรสของเราให้ดีขึ้น และเราจะกลายเป็นคนทานอาหารรสชาติธรรมดาได้

2.พยายามเติมน้ำตาลให้น้อยมากที่สุดหรือถ้าเป็นไปได้ไม้ต้องเติมเลยทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ลดทุกอย่างรวมไปถึงการปรุงรสชาติก๋วยจั๊บไม่มีความจำเป็นต้องเติมน้ำตาล หรือเครื่องปรุงรสอย่างอื่นมากมาย หรือหากมื้อใดที่รู้ว่ากินอาหารที่มีน้ำตาลไปแล้ว ก็ควรลดในมื้อต่อไป

3.พยายามควบคุมการกินน้ำตาลเป็นประจำในทุกๆวัน โดยทุกคนนั้นควรกำหนดการกินน้ำตาลให้อยู่เพียงวันละ 6 ช้อนชาจะเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพมากมาย และกินอาหารธรรมชาติเป็นหลัก เช่น หากรู้สึกอยากกินขนมหวาน ให้กินผลไม้ทดแทน หรือหากรู้สึกอยากน้ำหวานลองเลือกเป็น น้ำผลไม้สดทดแทน

4.ดื่มน้ำสะอาดจะดีที่สุด ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ด้วย

น้ำหวานแต่ละชนิดต้องใช้เวลาเผาผลาญกี่นาที

น้ำหวานแต่ละชนิดต้องใช้เวลาเผาผลาญกี่นาที

1.น้ำอัดลมชนิดน้ำดำกระป๋อง ปริมาณ 325 milliliter

  • มีน้ำตาลประมาณ 31 กรัม หรือ 8 ช้อนชา
  • ต้องใช้เวลาเผาผลาญด้วยการเดินอย่างน้อย 18 นาที
  • ต้องใช้เวลาเดินขึ้นบันไดอย่างน้อย 12 นาที
  • ต้องใช้เวลาวิ่งเหยาะอย่างน้อย 12 นาที

2.น้ำอัดลมน้ำสีและน้ำใสกระป๋อง ปริมาณ 325 milliliter

  • มีน้ำตาลประมาณ 39 กรัม หรือ 10 ช้อนชา
  • เดินอย่างน้อย 22 นาที
  • ขึ้นบันไดอย่างน้อย 16 นาที
  • วิ่งเหยาะอย่างน้อย 16 นาที

กินน้ำอัดลมมาก เสี่ยงโรคอ้วน

3.เครื่องดื่มชาเขียวน้ำผึ้งมะนาวขวด ปริมาณ 420 milliliter

  • มีน้ำตาลประมาณ 49 กรัมหรือ 12 ช้อนชา
  • เดินอย่างน้อย 27 นาที
  • ขึ้นบันไดอย่างน้อย 19 นาที
  • ต้องใช้เวลาวิ่งเหยาะอย่างน้อย 19 นาที

4.เครื่องดื่มสมุนไพรปริมาณ 380 milliliter

  • มีน้ำตาลประมาณ 40 กรัม หรือ 10 ช้อนชา
  • เดินอย่างน้อย 22 นาที
  • เดินขึ้นบันได 16 นาที
  • วิ่งเหยาะอย่างน้อย 16 นาที

5.กาแฟสดหรือชาชงแก้วขนาดกลาง

  • มีน้ำตาลประมาณ 9-10 ช้อนชา
  • ต้องใช้เวลาเผาผลาญด้วยการเดินอย่างน้อย 20-22 นาที
  • เดินขึ้นบันไดอย่างน้อย 14-16 นาที
  • วิ่งเหยาะอย่างน้อย 14-16 นาที